พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งตัวแทนของบริษัทและการผูกพันตามนิติกรรมซื้อขายลดเช็ค
บริษัทมีหนังสือแจ้งมติที่ประชุมกรรมการบริษัทไปถึงเจ้าหนี้ระบุว่าที่ประชุมมีมติให้ พ.และด. คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัททำการในนามบริษัทได้ หนังสือนั้นมีลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัททำการแทนบริษัทถูกต้องตามข้อบังคับ ดังนี้ถือได้ว่า บริษัทตั้งให้ พ.และด. เป็นตัวแทนของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 นิติกรรมการขายลดเช็คที่ตัวแทนดังกล่าวได้กระทำไปจึงผูกพันบริษัท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อความผิดของนิติบุคคล
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลย่อมกระทำการเองไม่ได้ ความประสงค์หรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงออกโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานนั้นด้วย ศาลลงโทษจำเลยทั้งสามเป็นรายตัวได้ และแม้จำเลยที่ 1 เสียค่าปรับแล้ว ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทร่วมรับผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้บริษัทชำระค่าปรับแล้ว
โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันกระทำผิดฐานตั้งโรงงานประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยที่จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยเป็นรายบุคคล และจำเลยที่ 1ได้เสียค่าปรับไปแล้วก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยเพราะจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลย่อมกระทำการเองไม่ได้ ความประสงค์หรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงออกโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้แทน เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานใดได้ชื่อว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำผิดฐานนั้นด้วย ดังนั้นศาลลงโทษจำเลยทั้งสามเป็นรายตัวได้และแม้จำเลยที่ 1 เสียค่าปรับแล้วศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทในการกระทำผิดของบริษัท: ศาลลงโทษกรรมการได้ แม้บริษัทชำระค่าปรับแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลย่อมกระทำการเองไม่ได้ความประสงค์หรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงออกโดย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และเป็นผู้แทน ของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานนั้นด้วยศาลลงโทษจำเลยทั้งสามเป็นรายตัวได้ และแม้จำเลยที่ 1เสียค่าปรับแล้ว ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการบริษัทโดยผู้ถือหุ้นและกรรมการ: ความชอบธรรมในการดำเนินการ
เดิมบริษัท ต.มี บ.เป็นกรรมการผู้จัดการได้ดำเนินกิจการขาดทุน และมีเจ้าหนี้จำนวนมาก ป.เข้าช่วยเหลือโดยตั้งบริษัท ย.ผู้เสียหายขึ้นมาเพื่อดำเนินการแทน โดยฝ่าย บ.ถือหุ้นในบริษัทผู้เสียหายร้อยละ 45 ของหุ้นทั้งหมด และบริษัท ต.ทำสัญญาให้บริษัทผู้เสียหายเช่าโรงงานและเครื่องจักรด้วย เมื่อปรากฏว่า ป.ถือสิทธิเข้าดำเนินการบริหารบริษัทผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวทำให้บริษัทผู้เสียหายเป็นหนี้ธนาคารถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท ท่วมทุนจดทะเบียนของบริษัทผู้เสียหายซึ่งมีอยู่เพียงหนึ่งล้านบาท และกีดกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ถือหุ้นฝ่ายบ.ถึงขนาดที่บริษัท ต.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าโรงงานไปแล้ว เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการบริษัท ต.และจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัทผู้เสียหายกับพวกย่อมเข้าใจว่ามีความชอบธรรมที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริษัทรับซื้อไม้ที่ได้มาจากการลักทรัพย์ มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ ถือเป็นความผิดฐานรับของโจร
นาย ก. ได้ชักลากไม้ของกลางที่ถูกคนร้ายลักมาเข้าไปในบริษัทจำเลยที่ 1 แล้วเลื่อยตัดเป็นท่อนเพื่อดำเนินการผลิตไม้บางวีเนียร์ โดยมีคนงานถึง 10 คน และใช้เครื่องมือของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นเวลานอกเวลาปฏิบัติงานตามปกติ แต่จำเลยที่ 1ก็มียามตรวจตราอยู่ตลอดเวลา ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้คนหลายคนลักลอบเข้าไปใช้เครื่องมือของจำเลยที่ 1 ได้ การที่นาย ก.เข้าไปดำเนินการในบริษัทจำเลยที่ 1 ได้น่าจะมีกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนรู้เห็นและให้ความยินยอมมิใช่นาย ก. เข้าไปกระทำโดยพลการโดยที่บริษัทจำเลยที่ 1มิได้รับผลประโยชน์ด้วย พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 1 รับเอาไม้ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการลักทรัพย์ อันเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการฟ้องร้องของบริษัท: คำร้องทุกข์ที่ลงชื่อกรรมการบริษัท ถือเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัท
บริษัทโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยระบุว่า นาย จ.มาแจ้งว่านาย จ.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 2 และต่อจากนั้นเป็นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงผู้แจ้ง จึงแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง และในช่องผู้แจ้งได้ลงลายมือชื่อของนาย จ.และนางสาว ศ.กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งด้วย ดังนั้น ที่ระบุไว้ในคำร้องทุกข์ว่า นาย จ.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่านาย จ.ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ ทั้งมูลเหตุที่ผู้แจ้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงนั้นเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงให้ผู้แจ้งซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวกับจำเลยที่ 2 เท่ากับอ้างว่าโจทก์ถูกฉ้อโกง และในช่องผู้แจ้งนอกจากจะลงลายมือชื่อ นาย จ.แล้ว นางสาว ศ.กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งก็ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก็ปรากฏว่ากรรมการของโจทก์ที่มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทโจทก์ได้นั้นก็คือนาย จ.กับนางสาว ศ.ลงลายมือชื่อร่วมกัน คำร้องทุกข์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทโจทก์โดยชอบแล้ว หาใช่เป็นคำร้องทุกข์ของนาย จ.ในฐานะส่วนตัวไม่
ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตาม แต่เห็นว่าประเด็นนี้สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้
ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตาม แต่เห็นว่าประเด็นนี้สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกงและการเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทที่ถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยระบุว่า นาย จ.มาแจ้งว่านาย จ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 2 และต่อจากนั้นเป็นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงผู้แจ้ง จึงแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง และในช่องผู้แจ้งได้ลงลายมือชื่อของนาย จ. และนางสาว ศ. กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งด้วย ดังนั้นที่ระบุไว้ในคำร้องทุกข์ว่า นาย จ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่านาย จ. ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ ทั้งมูลเหตุที่ผู้แจ้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงนั้นเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงให้ผู้แจ้งซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวกับจำเลยที่ 2 เท่ากับอ้างว่าโจทก์ถูกฉ้อโกง และในช่องผู้แจ้งนอกจากจะลงลายมือชื่อนาย จ. แล้ว นางสาว ศ. กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งก็ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก็ปรากฏว่ากรรมการของโจทก์ที่มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทโจทก์ได้นั้นก็คือนาย จ. กับนางสาว ศ. ลงลายมือชื่อร่วมกัน คำร้องทุกข์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทโจทก์โดยชอบแล้วหาใช่เป็นคำร้องทุกข์ของนาย จ. ในฐานะส่วนตัวไม่ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตาม แต่เห็นว่าประเด็นนี้สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนกระทำสัญญาเช่าโดยไม่ประทับตราบริษัท แต่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ถือเป็นสัตยาบัน
บริษัทจำเลยทั้งสองได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในตึกพิพาทแม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ทั้งสองโดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยทั้งสองให้ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กระทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองได้ให้สัตยาบันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งสองตามกำหนด จำเลยทั้งสองจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันบุคคลภายนอกคดี แม้ผู้ทำสัญญาจะมีอำนาจกระทำการแทนบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้โจทก์จำเลยหย่าขาดและแบ่งทรัพย์สินกัน โดยมีข้อตกลงข้อหนึ่งว่าให้จำเลยโอนที่ดินที่มีชื่อบริษัท ม. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการและมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ให้แก่โจทก์ จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในฐานะส่วนตัวมิได้ทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทดังกล่าว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ผูกพันบริษัท ม. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ม. มีมติคัดค้านการโอนที่ดิน การที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนนี้จึงกลายเป็นพ้นวิสัยศาลบังคับคดีในส่วนนี้ให้ไม่ได้.