พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาเพื่อจัดสรรขายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดต่อการใช้ประโยชน์จากที่นานั้นเองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ
การใช้นาที่ให้เช่าเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 จะต้องเป็นการใช้ที่นานั้นเองทำประโยชน์ มิใช่นำไปขายซึ่งจะทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือไป ไม่อาจใช้นาที่ให้เช่านั้นได้อีกต่อไป การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ให้โจทก์เช่านาจะจัดสรรนาพิพาทแบ่งขายก็คือขายนั่นเอง เป็นวิธีการขายอย่างหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์แห่งครอบครัวของตนตามความจำเป็นตามมาตรา 37(2) จำเลยร่วมจึงไม่อาจบอกเลิกการเช่านาพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884-5885/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, หักกลบลบหนี้, เบี้ยปรับสูงเกินไป, การบอกเลิกสัญญา, ความรับผิดในสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 1ได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 มาวางไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา หลักประกันนี้โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนั้น หนังสือค้ำประกันจึงเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางไว้เผื่อความเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1รับผิดชำระเงินตามจำนวนในหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ด้วยนั้นไม่ถูกต้อง
สัญญาซื้อขายมีข้อตกลงที่ยินยอมให้โจทก์ปรับจำเลยที่ 1เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่โจทก์ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา และในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ต้องถูกปรับเป็นรายวันนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและคงปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยได้กรณีมิใช่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจะไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับ
ความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระราคายางแอสฟัลต์ให้แก่จำเลยที่ 1 กับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระค่าปรับและค่าเสียหายให้แก่โจทก์เกิดจากสัญญาซื้อขายรายเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้นที่โจทก์ขอหักราคายางแอสฟัลต์ที่ส่งมอบบางส่วนออกจากค่าปรับและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิด จึงไม่ใช่เรื่องหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 วรรคหนึ่งแต่เพื่อความสะดวกแก่การบังคับตามคำพิพากษา จึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
สัญญาซื้อขายมีข้อตกลงที่ยินยอมให้โจทก์ปรับจำเลยที่ 1เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่โจทก์ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา และในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ต้องถูกปรับเป็นรายวันนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและคงปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยได้กรณีมิใช่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจะไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับ
ความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระราคายางแอสฟัลต์ให้แก่จำเลยที่ 1 กับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระค่าปรับและค่าเสียหายให้แก่โจทก์เกิดจากสัญญาซื้อขายรายเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้นที่โจทก์ขอหักราคายางแอสฟัลต์ที่ส่งมอบบางส่วนออกจากค่าปรับและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิด จึงไม่ใช่เรื่องหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 วรรคหนึ่งแต่เพื่อความสะดวกแก่การบังคับตามคำพิพากษา จึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเจรจาแก้ไขหนี้หลังผิดนัดชำระ
หลังจากโจทก์ผิดนัดชำระดอกเบี้ยในงวดที่สองตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแล้ว ก็ยังมีการร่วมประชุมเจรจาระหว่างโจทก์และจำเลยเพื่อหาทางปฏิบัติตามสัญญากันต่อไปพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยมิได้ถือเอาเงื่อนเวลาแห่งการชำระเงินค่าดอกเบี้ยงวดที่สองเป็นสาระสำคัญ ย่อมเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนไขเวลาโดยปริยายแล้ว หากจำเลยจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จำเลยจะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นหรือต้องรอให้ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ แต่จำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนวันนัดโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โจทก์ยังไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การไม่ก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดถือเป็นการผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อขายห้องชุดระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า ผู้จะขายตกลงจะทำการก่อสร้างอาคารชุดจนแล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ 20 เดือน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2538 แต่การจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดก็ดี การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่โจทก์ก็ดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งแยกออกจากกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จได้ทั้งการที่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาในขณะนั้น เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังในวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญามิได้ถือเอาระยะเวลามาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้ เมื่อจำเลยไม่ก่อสร้างให้แล้วเสร็จจนเลยระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับตามสัญญาซื้อขายและผลของการบอกเลิกสัญญา โดยศาลลดเบี้ยปรับให้เหมาะสม
การที่ธนาคารโจทก์บอกเลิกสัญญาทรัสต์รีซีท เพื่อให้จำเลยนำเงินค่าสินค้า ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไปแล้วคืนโจทก์ทันทีพร้อมดอกเบี้ย เป็นผลเพียงให้สัญญาทรัสต์รีซีทสิ้นสุดลง ส่วนความผูกพันในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญาที่ล่วงมาแล้วก่อนบอกเลิกสัญญายังคงมีเหมือนเดิม กรณีไม่อาจนำเรื่องการกลับคืนสู่ฐานะเดิมมาใช้บังคับได้
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารโจทก์ มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารโจทก์ มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาซื้อขายอาคารชุดกรณีพื้นที่จริงต่างจากที่ตกลง และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่กรณีจึงอาจกำหนดไว้ในสัญญาเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัตินี้ได้
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอาคารชุดที่พักอาศัยในราคา2,865,000 บาท สัญญาดังกล่าว ได้กำหนดไว้ว่า "ห้องชุดผู้ซื้อจะมีพื้นที่ประมาณ94.5 ตารางเมตร ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับการปรับขนาดพื้นที่ตามการก่อสร้างที่เป็นจริงและการจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน ถ้าพื้นที่จริงของห้องชุดผู้ซื้อมีมากกว่าหรือน้อยกว่าที่ระบุข้างต้น คู่สัญญายังคงต้องผูกพันตนตามสัญญานี้ แต่ถ้าแตกต่างตั้งแต่ร้อยละห้า(5%) หรือมากกว่านั้น ราคาที่ต้องชำระตามสัญญานี้จะต้องปรับเพิ่มหรือลดลงตามส่วนโดยการปรับราคาจะกระทำในการชำระเงินงวดสุดท้ายของราคา" แม้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมาย และใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 แต่ศาลก็ต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ของคู่สัญญาในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณี กล่าวคือ เจตนาของคู่สัญญาที่กระทำโดยสุจริตซึ่งพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีประกอบแล้ว คงมิได้หมายความถึงขนาดที่ว่า ไม่ว่าเนื้อที่ของอาคารชุดจะแตกต่างมากกว่าร้อยละห้าสักเพียงใดก็ตาม โจทก์ก็ต้องรับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดโดยไม่อาจปฏิเสธได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารชุดพิพาทมีเนื้อที่ล้ำจำนวนถึง 29.98 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 31.7 ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินเพิ่มอีกประมาณ 900,000 บาท รวมทั้งจำเลยได้บังคับให้โจทก์รับมอบซอกมุมห้องที่ติดกันซึ่งมีเนื้อที่อีก 30 ตารางเมตร โดยมีฝากั้นห้อง ระหว่างเนื้อที่ 95.5 ตารางเมตรกับ 30 ตารางเมตร เป็นฝากั้นซึ่งเป็นคานรับน้ำหนักของตัวอาคาร โดยจำเลยได้ทำช่องให้เข้าไปได้ทางด้านหลังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนที่ล้ำจำนวนเป็นส่วนของเนื้อที่ซอกมุมห้องที่ติดกัน ซึ่งหากพิจารณาถึงความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีแล้ว ก็หาควรบังคับให้โจทก์ต้องจ่ายเงินเพิ่มเป็นจำนวนมากเพื่อรับเอาเนื้อที่ล้ำจำนวนที่ไร้ประโยชน์ดังกล่าวนั้นไม่ เพราะหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญานั้นอย่างแน่นอน อีกประการหนึ่ง เมื่อคำนึงถึงมาตรา 11 แห่ง ป.พ.พ.ด้วยแล้ว ในกรณีเช่นว่านี้ เมื่อสัญญามีข้อสงสัยว่าโจทก์ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวนี้หรือไม่ ศาลย่อมต้องตีความให้เป็นคุณแก่โจทก์ผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ในเมื่อล้ำจำนวนถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงมิได้ทำสัญญานั้น ตามมาตรา 466 วรรคสองอันเป็นผลให้คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอาคารชุดที่พักอาศัยในราคา2,865,000 บาท สัญญาดังกล่าว ได้กำหนดไว้ว่า "ห้องชุดผู้ซื้อจะมีพื้นที่ประมาณ94.5 ตารางเมตร ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับการปรับขนาดพื้นที่ตามการก่อสร้างที่เป็นจริงและการจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน ถ้าพื้นที่จริงของห้องชุดผู้ซื้อมีมากกว่าหรือน้อยกว่าที่ระบุข้างต้น คู่สัญญายังคงต้องผูกพันตนตามสัญญานี้ แต่ถ้าแตกต่างตั้งแต่ร้อยละห้า(5%) หรือมากกว่านั้น ราคาที่ต้องชำระตามสัญญานี้จะต้องปรับเพิ่มหรือลดลงตามส่วนโดยการปรับราคาจะกระทำในการชำระเงินงวดสุดท้ายของราคา" แม้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมาย และใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 แต่ศาลก็ต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ของคู่สัญญาในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณี กล่าวคือ เจตนาของคู่สัญญาที่กระทำโดยสุจริตซึ่งพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีประกอบแล้ว คงมิได้หมายความถึงขนาดที่ว่า ไม่ว่าเนื้อที่ของอาคารชุดจะแตกต่างมากกว่าร้อยละห้าสักเพียงใดก็ตาม โจทก์ก็ต้องรับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดโดยไม่อาจปฏิเสธได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารชุดพิพาทมีเนื้อที่ล้ำจำนวนถึง 29.98 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 31.7 ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินเพิ่มอีกประมาณ 900,000 บาท รวมทั้งจำเลยได้บังคับให้โจทก์รับมอบซอกมุมห้องที่ติดกันซึ่งมีเนื้อที่อีก 30 ตารางเมตร โดยมีฝากั้นห้อง ระหว่างเนื้อที่ 95.5 ตารางเมตรกับ 30 ตารางเมตร เป็นฝากั้นซึ่งเป็นคานรับน้ำหนักของตัวอาคาร โดยจำเลยได้ทำช่องให้เข้าไปได้ทางด้านหลังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนที่ล้ำจำนวนเป็นส่วนของเนื้อที่ซอกมุมห้องที่ติดกัน ซึ่งหากพิจารณาถึงความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีแล้ว ก็หาควรบังคับให้โจทก์ต้องจ่ายเงินเพิ่มเป็นจำนวนมากเพื่อรับเอาเนื้อที่ล้ำจำนวนที่ไร้ประโยชน์ดังกล่าวนั้นไม่ เพราะหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญานั้นอย่างแน่นอน อีกประการหนึ่ง เมื่อคำนึงถึงมาตรา 11 แห่ง ป.พ.พ.ด้วยแล้ว ในกรณีเช่นว่านี้ เมื่อสัญญามีข้อสงสัยว่าโจทก์ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวนี้หรือไม่ ศาลย่อมต้องตีความให้เป็นคุณแก่โจทก์ผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ในเมื่อล้ำจำนวนถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงมิได้ทำสัญญานั้น ตามมาตรา 466 วรรคสองอันเป็นผลให้คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478-6487/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต้องเกิดจากความจำเป็นที่แท้จริงในการใช้พื้นที่ก่อสร้าง หากไม่มีความจำเป็น สัญญาเช่าก็ยังคงมีผลผูกพัน
ตามสัญญาเช่าและสัญญาเช่าช่วง สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์และสิทธิบอกเลิกการเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยขึ้นอยู่กับความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดบอกเลิกสัญญาเช่าบางส่วนแก่โจทก์โดยอ้างมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบให้ผู้ร้องสอดดำเนินการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น-ลงเพิ่มเติมสำหรับทางด่วนเฉลิมมหานคร มติดังกล่าวเป็นการอนุมัติเพียงหลักและวิธีปฏิบัติเท่านั้นยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์หรือไม่ การที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตามสัญญาเช่า จึงหมายความว่าในขณะบอกเลิกสัญญา ผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์ในการก่อสร้างจะขาดพื้นที่ส่วนนี้ไม่ได้ แต่ปรากฏว่าตั้งแต่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ผู้ร้องสอดจัดทำโครงการดังกล่าวจนถึงวันที่ผู้ร้องสอดบอกเลิกสัญญาเช่าบางส่วนแก่โจทก์ผู้ร้องสอดและผู้ดำเนินโครงการของผู้ร้องสอดไม่ได้จัดทำแบบที่มีรายละเอียดจนระบุได้ว่า ผู้ร้องสอดจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์ในการก่อสร้าง จะขาดเสียไม่ได้ ทั้งยังปรากฏว่าเสาของทางขึ้น-ลงเพิ่มเติมตามโครงการดังกล่าวก็ไม่ได้ใช้พื้นที่ที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์และจนถึงปัจจุบันทางขึ้น-ลงนั้นสร้างเสร็จจนเปิดใช้แล้ว ก็ไม่ต้องใช้พื้นที่ที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์ในการก่อสร้างจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์ในส่วนที่จำเลยเช่าช่วงจากโจทก์และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องมีเหตุความจำเป็นตามนโยบายที่ชัดเจน การใช้พื้นที่จริงเป็นเกณฑ์
จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเรื่องความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างทางขึ้น-ลง เพิ่มเติมสำหรับทางด่วนเฉลิมมหานครผิดไปจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน เป็นอุทธรณ์ใน ข้อกฎหมายไม่ใช่เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ตามสัญญาจัดหาประโยชน์ในเขตทางพิเศษระบุว่าถ้าผู้ร้องสอดมีความจำเป็นตามนโยบายแล้วผู้ร้องสอด มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ และตามสัญญาเช่าช่วงระบุว่าถ้ามีความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอดแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ การบอกเลิกการเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาทั้งสองฉบับจึงขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ร้องสอด และคำว่า "จำเป็น" ตามพจนานุกรมหมายความว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำ ขาดไม่ได้ กรณีจึงหมายความว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จะขาดพื้นที่ส่วนนี้เสียมิได้ แต่ในขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537 เห็นชอบตามโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขออนุมัตินั้น ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียดทางขึ้น - ลง และกำหนดจุดก่อสร้างที่แน่ชัด เป็นเพียงระบุสถานที่ ก่อสร้างไว้กว้าง ๆ ว่าเป็นบริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และทางแยกต่างระดับคลองเตย ซึ่งในส่วนของทางแยกต่างระดับคลองเตยที่โจทก์เช่าจากผู้ร้องสอดก็มีพื้นที่ถึง 8,000 ตารางวา ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติเพียงหลักและ วิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการอันตรงกับความหมายของคำว่า "นโยบาย" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างหรือไม่ และก่อนที่ผู้ร้องสอดจะบอกเลิกการเช่าบางส่วนแก่โจทก์ก็ยังปรากฏอีกว่าตำแหน่งเสาของโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติม ไม่ได้ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 อีกทั้งทางขึ้น - ลงเพิ่มเติมนั้นได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แล้วโดยตึกแถวเลขที่ 98/57 ก็ยังคงตั้งอยู่ ดังนั้นแม้จะไม่ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ผู้ร้องสอดก็ยังคงก่อสร้างทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมได้ เมื่อผู้ร้องสอดไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ในส่วนพื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นกัน
ตามสัญญาจัดหาประโยชน์ในเขตทางพิเศษระบุว่าถ้าผู้ร้องสอดมีความจำเป็นตามนโยบายแล้วผู้ร้องสอด มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ และตามสัญญาเช่าช่วงระบุว่าถ้ามีความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอดแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ การบอกเลิกการเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาทั้งสองฉบับจึงขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ร้องสอด และคำว่า "จำเป็น" ตามพจนานุกรมหมายความว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำ ขาดไม่ได้ กรณีจึงหมายความว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จะขาดพื้นที่ส่วนนี้เสียมิได้ แต่ในขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537 เห็นชอบตามโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขออนุมัตินั้น ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียดทางขึ้น - ลง และกำหนดจุดก่อสร้างที่แน่ชัด เป็นเพียงระบุสถานที่ ก่อสร้างไว้กว้าง ๆ ว่าเป็นบริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และทางแยกต่างระดับคลองเตย ซึ่งในส่วนของทางแยกต่างระดับคลองเตยที่โจทก์เช่าจากผู้ร้องสอดก็มีพื้นที่ถึง 8,000 ตารางวา ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติเพียงหลักและ วิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการอันตรงกับความหมายของคำว่า "นโยบาย" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างหรือไม่ และก่อนที่ผู้ร้องสอดจะบอกเลิกการเช่าบางส่วนแก่โจทก์ก็ยังปรากฏอีกว่าตำแหน่งเสาของโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติม ไม่ได้ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 อีกทั้งทางขึ้น - ลงเพิ่มเติมนั้นได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แล้วโดยตึกแถวเลขที่ 98/57 ก็ยังคงตั้งอยู่ ดังนั้นแม้จะไม่ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ผู้ร้องสอดก็ยังคงก่อสร้างทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมได้ เมื่อผู้ร้องสอดไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ในส่วนพื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิการเช่า: การไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ในการจดทะเบียนและชำระเงิน ทำให้คู่สัญญาบอกเลิกได้และต้องคืนเงิน
การจะจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าตามสัญญาได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทโอนสิทธิการเช่าต่อเจ้าพนักงานเสียก่อนวันนัดจดทะเบียน ซึ่งเจ้าพนักงานต้องออกประกาศเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันจดทะเบียน หากไม่มีผู้ใดคัดค้านเจ้าพนักงานจึงจะจดทะเบียนให้ และต้องมีหนังสือยินยอมให้โอนสิทธิการเช่าจากผู้ให้เช่าไปแสดงต่อเจ้าพนักงานด้วย ในขณะเดียวกันโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือในวันจดทะเบียนโอน ปรากฏว่าในวันจดทะเบียนโอน จำเลยไม่ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนดังกล่าวและไม่มีหนังสือยินยอมของผู้ให้เช่าไปแสดง โจทก์ก็ไม่ได้เตรียมเงินที่จะต้องชำระให้แก่จำเลย กรณีของโจทก์และจำเลยปรับ ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 210, 211 ถือว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา และต่างบอกเลิกสัญญาแก่กันและกันแล้ว โดยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จึงต้องให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ และเมื่อจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียก เอาเบี้ยปรับตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุดและเฟอร์นิเจอร์ไม่เป็นโมฆะ แม้แยกสัญญาและมีเนื้อที่ต่างจากที่ระบุ การบอกเลิกสัญญาชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนรวมกัน การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดและสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์ แยกออกเป็น 2 ฉบับจึงเป็นสิทธิโดยชอบของจำเลยที่จะกระทำได้ ทั้งโจทก์ยินยอมทำสัญญากับจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดและสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์ย่อมมีผลสมบูรณ์ หาใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ไม่
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุเนื้อที่ประมาณ50 ตารางเมตร แม้ความจริงแต่ละห้องมีเนื้อที่เพียง 45.31 ตารางเมตรก็ตาม แต่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ประมาณไว้ในสัญญาไม่มาก จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 สำหรับแผ่นภาพโฆษณาและใบแจ้งราคาและเนื้อที่ห้องชุดของจำเลยที่ระบุเนื้อที่50 ตารางเมตร เป็นเพียงหนังสือเชิญชวนบุคคลทั่วไปให้สนใจในห้องชุดดังกล่าวเท่านั้น หามีผลต่อคดีไม่
เมื่อจำเลยก่อสร้างห้องชุดเสร็จ จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ไปรับโอนห้องชุด 2 ครั้ง แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดในการแจ้งโอนครั้งที่ 2โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด การที่โจทก์ไม่ทราบเรื่องเพราะโจทก์อยู่ต่างประเทศย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัว การบอกเลิกสัญญาของจำเลยและริบเงินที่โจทก์ชำระมาแล้วจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุเนื้อที่ประมาณ50 ตารางเมตร แม้ความจริงแต่ละห้องมีเนื้อที่เพียง 45.31 ตารางเมตรก็ตาม แต่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ประมาณไว้ในสัญญาไม่มาก จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 สำหรับแผ่นภาพโฆษณาและใบแจ้งราคาและเนื้อที่ห้องชุดของจำเลยที่ระบุเนื้อที่50 ตารางเมตร เป็นเพียงหนังสือเชิญชวนบุคคลทั่วไปให้สนใจในห้องชุดดังกล่าวเท่านั้น หามีผลต่อคดีไม่
เมื่อจำเลยก่อสร้างห้องชุดเสร็จ จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ไปรับโอนห้องชุด 2 ครั้ง แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดในการแจ้งโอนครั้งที่ 2โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด การที่โจทก์ไม่ทราบเรื่องเพราะโจทก์อยู่ต่างประเทศย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัว การบอกเลิกสัญญาของจำเลยและริบเงินที่โจทก์ชำระมาแล้วจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา