พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238-2240/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอระงับการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินจากการบังคับคดี: เฉพาะโจทก์เท่านั้นที่มีสิทธิ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) แต่ผู้ที่จะมีสิทธิขอคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับตัวแทนรับจำนองที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานหนังสือก็ทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดิน และโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้โดยไม่ขัดต่อมาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับตัวแทนรับจำนองที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดินและโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์ อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิเจ้าหนี้จำนองในการบังคับคดีและการขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัยพ์สินจำนองออกขายทอดตลาด ขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองไว้เท่ากับภาระหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อผู้ร้อง แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อน อันถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่เมื่อคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 289 ก็ไม่ทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ศาลมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้รับโอนตามคำพิพากษา vs สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดี: การเพิกถอนการยึดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาด
แม้โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มีการขายทอดตลาด และต่อมาศาลอีกคดีหนึ่งได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยโอนทรัพย์ดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับจำเลยให้จดทะเบียนสิทธิเหนือทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และมีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการเพิกถอนการยึดทรัพย์เมื่อมีคำพิพากษาให้โอนกรรมสิทธิ์ก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการบังคับคดีไปก่อนที่ผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษา แต่เมื่อศาลแพ่งพิพากษาตามยอมให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาดังกล่าวที่จะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนสิทธิเหนือทรัพย์พิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ดังนั้น เมื่อยังมิได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ผู้ร้องก็ย่อมใช้สิทธิร้องขอให้เพิกถอนการยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าจ้างหลังโอนสิทธิเรียกร้อง และผลกระทบต่อระยะเวลาคัดค้านการบังคับคดี
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาให้แก่ธนาคารศรีนคร เงินค่าจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารศรีนคร มิใช่ของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้อายัดเงินดังกล่าวเนื่องจากเป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคงภายนอกผู้สุจริต และจำเลยที่ 1 ไม่ทราบเรื่องการขออายัดเงินดังกล่าวเพราะการส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ทำโดยวิธีปิดหมาย การบังคับคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ดังนั้น การยื่นคำร้องคัดค้านของจำเลยที่ 1 จึงอยู่ภายใต้เงื่อนไขระยะเวลาตามมาตรา 296 วรรคสาม
เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ได้แจ้งการอายัดให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยที่ 1 เพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ได้แจ้งการอายัดให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยที่ 1 เพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินบังคับคดี การโอนสิทธิเรียกร้อง และกรอบเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296
คำร้องของจำเลยอ้างว่า จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารให้แก่ธนาคารแล้ว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร มิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้อายัดเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากเป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกผู้สุจริต และจำเลยไม่ทราบเรื่องการขออายัดเงินดังกล่าวเพราะการส่งหมายให้จำเลยทำโดยวิธีปิดหมายการบังคับคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินนั้น เป็นคำร้องที่มีความหมายว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 นั่นเอง จึงต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของระยะเวลาตามมาตรา 296 วรรคสาม
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ส่งเงินค่าจ้างจำเลยก่อสร้างอาคารตามที่โจทก์ขออายัดมายังเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและส่งเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดจำนวน 4,198,251 บาท ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้แจ้งการอายัดให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ส่งเงินค่าจ้างจำเลยก่อสร้างอาคารตามที่โจทก์ขออายัดมายังเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและส่งเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดจำนวน 4,198,251 บาท ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้แจ้งการอายัดให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการล้มละลาย: ทรัพย์สินระหว่างสมรสและสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษา
พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดว่า ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้วก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น ดังนั้น ตามสัญญาโอนสินทรัพย์ระหว่างธนาคาร ท. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินกับโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ย่อมฟังได้ว่าโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมีสิทธิที่จะเข้าสวมสิทธิของธนาคาร ท. เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะใช้สิทธิเพื่อบังคับคดีในคดีแพ่งตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมอ้างมูลหนี้ตามคำพิพากษาอันอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากกิจการค้าอันเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองทำด้วยกันระหว่างสมรส แม้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงลำพังก็ตาม แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสของจำเลยทั้งสองจึงเป็นสินสมรสของจำเลยทั้งสองที่ยังไม่มีการแบ่งแยกและต้องนำมาชำระหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489, 1490 (3)
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากกิจการค้าอันเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองทำด้วยกันระหว่างสมรส แม้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงลำพังก็ตาม แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสของจำเลยทั้งสองจึงเป็นสินสมรสของจำเลยทั้งสองที่ยังไม่มีการแบ่งแยกและต้องนำมาชำระหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489, 1490 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการห้ามฎีกาในคดีที่เกี่ยวข้องกับค่าเช่าและการครอบครองที่ดิน
คดีเดิมเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท อันเป็นคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ส่วนคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับบริวารของจำเลย และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสาม
ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะบริวารของจำเลย ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องมีสิทธิพิเศษเหนือที่ดินพิพาทเพราะผู้ร้องคัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการเปลี่ยนเจตนายึดถือที่ดินมาเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องแย่งการครอบครองเกิน 1 ปีแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวาร ผู้ร้องจะยื่นคำร้องว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ร้องในชั้นบังคับคดีเพียงว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่เท่านั้น
ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะบริวารของจำเลย ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องมีสิทธิพิเศษเหนือที่ดินพิพาทเพราะผู้ร้องคัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการเปลี่ยนเจตนายึดถือที่ดินมาเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องแย่งการครอบครองเกิน 1 ปีแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวาร ผู้ร้องจะยื่นคำร้องว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ร้องในชั้นบังคับคดีเพียงว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่เท่านั้น