พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด: ศาลฎีกาตัดสินข้อจำกัดเมื่อมีการเลิกสัญญาและผิดนัดชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859 และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859 และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด: ข้อจำกัดหลังผิดนัดชำระหนี้ และการเลิกสัญญาระหว่างธนาคารกับลูกหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้วการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้วฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้วการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้วฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดและผลกระทบเมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ. ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3.
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น. เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ.
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด. ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859. และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้.ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป.ทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด.
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา. แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว. การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว. ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัด.จนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511).
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น. เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ.
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด. ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859. และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้.ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป.ทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด.
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา. แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว. การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว. ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัด.จนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีเดินสะพัด: การซื้อขายปลาและการหักบัญชีระหว่างนายทุนกับผู้ทำการประมง
การที่นาย ซ. ได้ออกเงินและสิ่งของให้นาง ก. ทำการประมง เมื่อได้ปลามาส่งให้แก่นาย ซ.แล้ว นายซ. ก็รับขนส่งไปให้นางบุญแถมขาย นางบุญแถมจะหักเงินค่าขายปลาของนางบุญแถมไว้ 5 เปอร์เซ็นต์และอีก 5 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าบำเหน็จของนาย ซ. เพราะนาย ซ.ออกทุนให้นาง ก. แล้วส่งบิลและเงินค่าขายปลาให้นาย ซ. นาย ซ.ลงบัญชีไว้แล้วมอบบิลให้นาง ก. ไปลงบัญชีของตนเพื่อจะได้ตรวจสอบคิดหักบัญชีกัน ทำให้รู้ได้ว่าฝ่ายใดยังเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันจำนวนเงินเท่าใด โดยมีสมุดบัญชีเบิกเงินรายวัน สมุดบัญชีน้ำมัน(ที่ใช้ในการเดินเรือ) สมุดบัญชีขายปลา เป็นพยานหลักฐาน เช่นนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างนาง ก. กับนาย ซ. เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามมาตรา 856 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์บัญชีเดินสะพัด: การประมงโดยมีผู้สนับสนุนทางการเงิน
การที่ ซ. ได้ออกเงินและสิ่งขอให้ ก. ทำการประมงเมื่อได้ปลามาส่งให้แก่ ซ. แล้ว ซ. ก็รับขนส่งไปให้ บ. ขาย บ. จะหักเงินค่าขายผลาของ บ. ไว้ 5 เปอร์เซ็นต์ และอีก 5 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าบำเหน็จของ ซ. เพราะ ซ. ออกทุนให้ ก. แล้วส่งบิลและเงินค่าขายปลาให้ ซ. ซ. ลงบัญชีไว้แล้วมอบบิลให้ ก. ไปลงบัญชีของตนเพื่อจะได้ตรวจสอบคิดหักบัญชีกันทำให้รู้ได้ว่าฝ่ายใดยังเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันจำนวนเงินเท่าใดโดยมีสมุดบัญชีเบิกเงินรายวันสมุดบัญชีน้ำมัน สมุดบัญชีขายปลา เป็นพยานหลักฐาน เช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่าง ก. กับ ซ. เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามมาตรา 856 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคล, การส่งเอกสารประกอบฟ้อง, และการคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 63 ให้อำนาจศาลที่จะทำการสอบสวนเรื่องผู้แทนนิติบุคคลจนเป็นที่พอใจได้
ผู้แทนนิติบุคคลมอบอำนาจให้ฟ้องความแล้ว แม้ผู้มอบอำนาจจะตายลง ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจในนามของนิติบุคคลนั้นเสียไป
สำเนาเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ปฏิเสธ ต้องถือว่าจำเลยรับอยู่ในตัว โจทก์ไม่จำต้องส่งต้นฉบับ
ผู้แทนนิติบุคคลมอบอำนาจให้ฟ้องความแล้ว แม้ผู้มอบอำนาจจะตายลง ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจในนามของนิติบุคคลนั้นเสียไป
สำเนาเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ปฏิเสธ ต้องถือว่าจำเลยรับอยู่ในตัว โจทก์ไม่จำต้องส่งต้นฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ สัญญาบัญชีเดินสะพัด อายุความ และดอกเบี้ย
สัญญาซิตี้แบงก์แชร์เพาเวอร์เอกสารหมาย จ.1 ระบุให้โจทก์เปิด "บัญชีทดรองจ่าย" ให้แก่จำเลย และทดรองจ่าย "เงินทดรอง" แทนจำเลยในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ในสัญญาข้อ 5 ข้อ 9 และข้อ 10 จำเลยตกลงให้สิทธิแก่โจทก์ในการนำเงินค่าขายหลักทรัพย์และดอกผลของหลักทรัพย์ที่จำเลยมีสิทธิได้รับไปหักทอนบัญชีหรือหักกลบลบหนี้เพื่อชำระหนี้ได้ทุกครั้ง ข้อตกลงซึ่งโจทก์จำเลยแสดงต่อกันเช่นนี้จึงต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วน "บัญชีทดรองจ่าย" และการทดรองจ่าย "เงินทดรอง" ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของจำเลยผ่านบริษัทหลักทรัพย์ อ. เป็นเพียงวิธีการตามที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้บรรลุตามเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะทำธุรกรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น หาเกี่ยวกับข้อตกลงตามสัญญาซึ่งต้องด้วยลักษณะของบัญชีเดินสะพัดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรทองไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
การที่จำเลยขอใช้บริการสินเชื่อบัตรทองโดยจำเลยขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ก็เพื่อนำบัตรทองดังกล่าวไปชำระค่าสินค้าและบริการอื่น ๆ แทนเงินสดเป็นสำคัญโดยให้โจทก์ออกเงินชำระแทนไปก่อน บัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่จำเลยขอเปิดไว้กับโจทก์ก็เปิดไว้เพียงเพื่อให้โจทก์หักเงินไปชำระหนี้ หาใช่หักทอนหนี้สินระหว่างกันอย่างบัญชีเดินสะพัดไม่ เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ด้วย รวมทั้งไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้ด้านหลังคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันจะมีข้อตกลงให้จำเลยถอนเงินด้วยเช็คและกรณีเงินฝากที่เหลือในบัญชีไม่พอจ่ายตามเช็ค หากโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนจำเลยยอมผูกพันจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้โจทก์โดยถือเสมือนหนึ่งจำเลยได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อโจทก์ และยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรืออัตราสูงสุดตามกฎหมายให้แก่โจทก์และยอมให้นำดอกเบี้ยนี้หักจากบัญชีเมื่อถึงวันสิ้นเดือน... ก็เป็นเพียงรูปแบบของสัญญาสำเร็จรูปของโจทก์ แต่ตามความเข้าใจของโจทก์และจำเลยการใช้บัตรทองมิได้กำหนดให้จำเลยสามารถถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็คแต่อย่างใด หนี้ที่จำเลยค้างชำระตามบัญชีดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น