คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเดิมของภริยาและสิทธิทำพินัยกรรม: ศาลยืนตามพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุตร
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องกัน บิดามารดาโจทก์จำเลยสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้บิดาโจทก์จำเลยจะถึงแก่กรรม ขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477ใช้บังคับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือให้คืนสินเดิมแก่แต่ละฝ่ายที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่มารดามีมาก่อนแต่งงานกับบิดาจึงเป็นสินเดิมของมารดา มารดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้จำเลยได้ พินัยกรรมในส่วนที่ดินพิพาทจึงมีผลสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดจากมารดาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ
มารดาโจทก์เกิดโดยบิดามารดาเป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเป็นคนต่างด้าว มารดาโจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม2515 ข้อ 1 และถือได้ว่ามารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าว การที่นายทะเบียนไม่ออกบัตรประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่มารดาโจทก์ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มาตรา 5และ 8 ก็ไม่ทำให้มารดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทย
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาโจทก์ถูกถอนสัญชาติเป็นคนต่างด้าว โจทก์เกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ใช้บังคับ แม้จะเกิดในราชอาณาจักร โจทก์ก็ไม่ได้สัญชาติไทย และถึงแม้บิดามารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังก็มีผลเพียงให้โจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1547 ไม่ทำให้โจทก์ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก: บุตรทายาทลำดับที่หนึ่งมีสิทธิมากกว่าน้องร่วมบิดามารดา
ผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย เป็นทายาทลำดับที่หนึ่ง ทายาทอื่นของผู้ตายก็ให้ความยินยอมและไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องเป็นน้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย เป็นทายาทลำดับถัดไปไม่มีสิทธิและส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ มีเหตุสมควรถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องของผู้คัดค้านเป็นการเพิ่มชื่อและนามสกุลของผู้ตายที่มีหลายชื่อและหลายนามสกุล เป็นเพียงรายละเอียดเล็กน้อย แม้ผู้คัดค้านจะไม่ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องก็อาจนำสืบถึงความข้อนี้ในชั้นพิจารณาได้อยู่แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมอนุญาตให้แก่ไขได้โดยไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ร้องทราบล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: แม้หย่าและศาลไม่ได้กำหนดให้จ่าย ก็ฟ้องได้ในฐานะผู้ปกครอง
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ มีลักษณะเป็นหนี้ร่วมกันแม้โจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกัน และศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง จ. บุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในนามตนเองได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นมารดาและผู้ใช้อำนาจปกครองไม่ใช่ฟ้องในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะเป็นตัวแทนผู้เยาว์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1565 ไม่เป็นคดีอุทลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากความประมาทเลินเล่อที่ไม่ช่วยเหลือบุตรที่คลอดก่อนกำหนดและถูกโยนลงจากที่สูง
จำเลยที่ 2 สำคัญผิดว่าบุตรแรกเกิดของตนถึงแก่ความตายแล้วจึงโยนลงมาจากหน้าต่างโรงแรม แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ร่วมลงมือกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 แต่การที่ จำเลยที่ 1 อยู่ร่วมห้องเดียวกับจำเลยที่ 2 ตามลำพัง ในขณะที่จำเลยที่ 2 คลอดบุตร จำเลยที่ 2 ย่อมต้องมีความเจ็บปวด ซึ่งจะต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือตน ตามพฤติการณ์จึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นในการคลอดบุตรของจำเลยที่ 2 แม้จะเป็นการคลอดก่อนกำหนดประมาณ 2 เดือนเศษก็หาใช่ว่าเด็กทารกจะไม่มีชีวิต รอดอยู่เสมอไปไม่ จำเลยที่ 1 ในฐานะบิดาย่อมมีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ดูแล บุตรด้วยการใช้ความระมัดระวังตรวจดู ให้ถ้วนถี่เสียก่อนว่าบุตรที่เกิดมายังมีชีวิต รอดอยู่หรือไม่ มิใช่ปล่อยให้จำเลยที่ 2 โยนบุตรทิ้งไปโดยมิได้ห้ามปรามทั้ง ๆ ที่ จำเลยที่ 1สามารถใช้ความระมัดระวังในกรณีเช่นนี้ได้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 390.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้บุตรแล้วบุตรพูดถึงสิทธิในที่ดิน ไม่ถือเป็นการประพฤติเนรคุณ
จำเลยซึ่งเป็นบุตรโจทก์ได้พูดกับโจทก์ว่า "แม่จะไปอยู่ที่ไหนก็ตามใจแม่เถอะ เพราะที่นี่เป็นสิทธิขาดของผมแล้ว" เป็นเพียงคำพูดยืนยันว่าที่ดินที่โจทก์ยกให้นั้นเป็นของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน โจทก์พอใจจะอยู่หรือจะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ใช่พูดขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณโดยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531(2) เพียงแต่เป็นคำพูดที่บุตรไม่ควรพูดกับมารดาซึ่งมีพระคุณของตนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสและบุตร: หลักเกณฑ์การพิจารณาตามความสามารถและฐานะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสอง กำหนดให้สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน จำเลยจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภริยาใหม่ด้วยเพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำ จะอ้างว่าภริยาใหม่มีรายได้มากไม่น่าจะเดือดร้อน จำเลยไม่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ และมาตรา 1564 วรรคแรก กำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันในการให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ ดังนั้นโจทก์จำเลยจึงสมควรร่วมกันจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์คนละครึ่ง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/38และมาตรา 1598/39 บัญญัติให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้และฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มอีกในภายหลังก็ได้ ขณะฟ้องโจทก์และจำเลยต่างมีรายได้ จำเลยมีภริยาใหม่และมีบุตร จำเลยย่อมจะต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูภริยาและบุตร มิใช่จำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูแต่เพียงผู้เยาว์คนเดียว การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ผู้เยาว์ต้องคำนึงถึงรายได้จำเลยกับรายจ่ายในครอบครัวของจำเลย ความจำเป็นทางด้านการเงินของผู้เยาว์ อายุและระดับการศึกษาของผู้เยาว์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรและภริยาใหม่ ความจำเป็นในการพิจารณาความสามารถและฐานะของคู่กรณี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสอง กำหนดให้สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน จำเลยจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภริยาใหม่ด้วยเพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำ จะอ้างว่าภริยาใหม่มีรายได้มากไม่น่าจะเดือดร้อน จำเลยไม่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ และมาตรา 1564 วรรคแรก กำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันในการให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ ดังนั้นโจทก์จำเลยจึงสมควรร่วมกันจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์คนละครึ่ง ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/38 และมาตรา 1598/39 บัญญัติให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้และฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มอีกในภายหลังก็ได้ ขณะฟ้องโจทก์และจำเลยต่างมีรายได้ จำเลยมีภริยาใหม่และมีบุตรจำเลยย่อมจะต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูภริยาและบุตร มิใช่จำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูแต่เพียงผู้เยาว์คนเดียว การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ผู้เยาว์ต้องคำนึงถึงรายได้จำเลยกับรายจ่ายในครอบครัวของจำเลย ความจำเป็นทางด้านการเงินของผู้เยาว์อายุและระดับการศึกษาของผู้เยาว์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีถอนชื่อออกจากทะเบียนคนญวนอพยพ และการถอนสัญชาติไทยของบุตรจากสถานะบิดามารดา
จำเลยเพิ่งมาดำรง ตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานกิจการญวนอพยพ จังหวัด อุบลราชธานี ภายหลังจากที่ได้ จดแจ้งชื่อ โจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 ลงทะเบียนคนญวนอพยพแล้ว ตาม ฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 มีสาระสำคัญขอให้จำเลยซึ่ง เป็นหัวหน้าสำนักงานกิจการญวนอพยพ จังหวัด อุบลราชธานีคนปัจจุบันถอน ชื่อ โจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 ออกจากทะเบียนคนญวนอพยพเพราะการลงชื่อโจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 ไว้ในทะเบียนดังกล่าวไม่ชอบด้วย กฎหมาย ดังนั้นแม้จำเลยจะมิใช่ผู้จดแจ้งชื่อ โจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 ไว้ในทะเบียน โจทก์ที่ 2 ถึง ที่ 5 มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ แม้อำนาจฟ้องจะเป็น ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลย มิได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การหากศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะไม่ วินิจฉัยให้ก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นาย พ. คนสัญชาติไทยอยู่กินฉัน สามีภรรยากับโจทก์ที่ 1คนสัญชาติญวนโดย มิได้จด ทะเบียนสมรส และให้กำเนิดโจทก์ที่ 2 ต่อมานาย พ. กับโจทก์ที่ 1 ได้ จด ทะเบียนสมรสกันโจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่บุคคลที่จะถูก ถอน สัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2519ข้อ 1 เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลตาม ข้อ 1(1)(2) และ (3)ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมตัดมรดก: บุตรถูกตัดสิทธิจากมรดก จึงไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
แม้ผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตาย แต่เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ อ. แต่ผู้เดียว และห้ามบุคคลอื่นเกี่ยวข้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกและไม่มีฐานะเป็นทายาทที่จะร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกและผู้คัดค้านไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก จึงสมควรให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย.
of 38