พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับมรดก: สิทธิบุตรบุญธรรมและผลผูกพันสัญญา
ผู้ตายรับโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเลี้ยงเป็นบุตรเมื่อผู้ตายตายแล้ว จำเลยสามีผู้ตายไล่โจทก์ออกจากบ้าน โจทก์กับบิดาจึงขอแบ่งมรดกของผู้ตายโดยคิดว่าตนเป็นบุตรบุญธรรมมีสิทธิในมรดกร่วมกับจำเลยและบุตรผู้ตาย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน เพื่อระงับข้อพิพาท สัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายต้องมีการจดทะเบียน หากยังโต้เถียงเรื่องการจดทะเบียน สิทธิในฐานะบุตรบุญธรรมยังไม่สมบูรณ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง คำร้องของผู้ร้องว่าผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่คำของผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านไม่รับรองว่าได้จดทะเบียนผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนยังโต้เถียงกันเช่นนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน จึงยังคลาดเคลื่อนอยู่
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586 วรรคต้น และย่อมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรม มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้ตามมาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586 วรรคต้น และย่อมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรม มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้ตามมาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายและการเป็นผู้สืบสันดานต้องพิสูจน์การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลเสมือน ไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง คำร้องของผู้ร้องว่าผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแต่คำของผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านไม่รับรองว่าได้จดทะเบียนผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมเมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนยังโต้เถียงกันเช่นนี้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานจึงยังคลาดเคลื่อนอยู่
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586วรรคต้น และย่อมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิร้องขอ ต่อศาลขอให้สั่งให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้ตามมาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586วรรคต้น และย่อมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิร้องขอ ต่อศาลขอให้สั่งให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้ตามมาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรับมรดกตามบัญชีเครือญาติ แม้ไม่มีสถานะบุตรบุญธรรม ศาลต้องพิจารณาประเด็นการเป็นทายาท
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ พ. โดยอ้างว่าเป็นบุตรบุญธรรมของ พ. ประการหนึ่ง กับอ้างว่าเป็นทายาทของ พ. ตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องด้วยอีกประการหนึ่ง ตามบัญชีเครือญาติ โจทก์แสดงว่า พ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหลายคนรวมทั้ง ว. บิดาโจทก์ ว. ตายไปแล้ว ซึ่งพอเป็นที่เข้าใจถึงการเป็นทายาทของโจทก์ ว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกของ พ. แทนที่ ว. ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพการเป็นทายาทของโจทก์ว่าเป็นมาโดยลำดับอย่างไรไว้ในคำฟ้องแล้ว เพราะบัญชีเครือญาติก็เป็นส่วนหนึ่งขอคำฟ้อง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิรับมรดกของ พ. ในฐานะเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อปรากฏว่า โจทก์ได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องมาด้วย คดีจึงมีประเด็นซึ่งจะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นทายาทรับมรดกแทนที่ ว. บิดา ตามบัญชีเครือญาติ ท้ายฟ้องจริงหรือไม่
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิรับมรดกของ พ. ในฐานะเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อปรากฏว่า โจทก์ได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องมาด้วย คดีจึงมีประเด็นซึ่งจะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นทายาทรับมรดกแทนที่ ว. บิดา ตามบัญชีเครือญาติ ท้ายฟ้องจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องมรดกทั้งฐานะบุตรบุญธรรมและทายาทตามบัญชีเครือญาติ: ศาลต้องพิจารณาประเด็นทั้งสอง
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ พ. โดยอ้างว่าเป็นบุตรบุญธรรมของ พ. ประการหนึ่งกับอ้างว่าเป็นทายาทของ พ. ตามบัญชีเครือญาติ ท้ายฟ้องด้วยอีกประการหนึ่ง ตามบัญชีเครือญาติโจทก์แสดงว่า พ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหลายคนรวมทั้ง ว. บิดาโจทก์ ว. ตายไปแล้ว ซึ่งพอเป็นที่เข้าใจถึงการเป็นทายาทของโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดก ของ พ. แทนที่ ว. ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพการเป็นทายาท ของโจทก์ว่าเป็นมาโดยลำดับอย่างไรไว้ในคำฟ้องแล้วเพราะบัญชีเครือญาติ ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิรับมรดกของ พ. ในฐานะเป็นบุตรบุญธรรมแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องมาด้วย คดีจึงมีประเด็นซึ่งจะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นทายาทรับมรดกแทนที่ ว. บิดา ตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องจริงหรือไม่
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิรับมรดกของ พ. ในฐานะเป็นบุตรบุญธรรมแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องมาด้วย คดีจึงมีประเด็นซึ่งจะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นทายาทรับมรดกแทนที่ ว. บิดา ตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231-1232/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรบุญธรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดก และสัญญาประนีประนอมต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
บุตรบุญธรรมที่มิได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231-1232/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรบุญธรรมที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่มีสิทธิรับมรดก การตกลงแบ่งมรดกต้องทำเป็นหนังสือจึงมีผล
บุตรบุญธรรมที่มิได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุตรบุญธรรมกับการยอมความในคดีอาญา: บุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดาน
คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่าสืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587, 1627 แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา 1586, 1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่า ผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 71 วรรค 2 ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอมความไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุตรบุญธรรมกับการยอมความในคดีอาญา: ไม่ถือเป็นผู้สืบสันดาน
คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่าสืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587,1627 แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา 1586,1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่าผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 71 วรรคสอง ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอมความไม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมของคู่สมรส: สิทธิความเป็นบุตรตามกฎหมาย
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการรับเด็กซึ่งเป็นบุตรของผู้อื่นมาเลี้ยงเหมือนกับบุตรของตนแล้วถือให้ว่าเป็นบุตรตามกฎหมายของตน
หาก ป.พ.พ.มาตรา 1584 ประสงค์ให้ คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรก็คงบัญญัติไว้โดยตรงว่าต้องให้คู่สมรสรับบุตรบุญธรรมด้วย การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องได้รับความยินยอม ก็ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่ายินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับบุตรบุญธรรมได้ ไม่ใช่ตัวเองเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย และกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม
หาก ป.พ.พ.มาตรา 1584 ประสงค์ให้ คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรก็คงบัญญัติไว้โดยตรงว่าต้องให้คู่สมรสรับบุตรบุญธรรมด้วย การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องได้รับความยินยอม ก็ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่ายินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับบุตรบุญธรรมได้ ไม่ใช่ตัวเองเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย และกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม