พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13043/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยรถยนต์: เจตนาทุจริตในการเช่ารถเพื่อฉ้อโกง ไม่เข้าข้อยกเว้นการคุ้มครองความสูญหาย
กรมธรรม์ประกันภัยระบุข้อยกเว้นความรับผิดไม่คุ้มครองความสูญหายของรถยนต์อันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า เมื่อ ส. ถูกออกหมายจับในข้อหายักยอกและฉ้อโกงรถจักรยานยนต์ของผู้ให้เช่าซื้อไปก่อนเกิดเหตุในคดีนี้เพียง 4 เดือน และ ส. เช่ารถยนต์จากโจทก์ที่ 1 เป็นเวลา 2 วัน โดยต้องคืนรถยนต์ในวันที่ 29 เมษายน 2547 แต่กลับแจ้งออกจากโรงแรมที่พักตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2547 ซึ่งเป็นวันที่เดินทางมาถึงจังหวัดอุบลราชธานี พฤติการณ์น่าเชื่อว่า ส. ไม่มีเจตนาเช่ารถยนต์มาตั้งแต่ต้น โดยมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงโจทก์ที่ 1 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าต้องการเช่ารถยนต์จากโจทก์ที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 1 มอบการครอบครองรถยนต์ให้ไป การกระทำของ ส. จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1
แม้โจทก์ที่ 1 จะมีคำขอท้ายฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ แต่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้บรรยายฟ้องฎีกาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้ค่าขาดประโยชน์อย่างไร ทั้งไม่ปรากฏตามกรมธรรม์ประกันภัยว่าจำเลยต้องรับผิดในค่าขาดประโยชน์ จึงไม่กำหนดให้
แม้โจทก์ที่ 1 จะมีคำขอท้ายฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ แต่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้บรรยายฟ้องฎีกาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้ค่าขาดประโยชน์อย่างไร ทั้งไม่ปรากฏตามกรมธรรม์ประกันภัยว่าจำเลยต้องรับผิดในค่าขาดประโยชน์ จึงไม่กำหนดให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12896/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: การแบ่งความคุ้มครองระหว่างประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจ
กรมธรรม์ประกันภัยของจำเลยระบุความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยไว้ว่า เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 250,000 บาท ต่อคน ซึ่งเท่ากับจำเลยจะต้องรับผิดก็เมื่อความเสียหายนั้นเกินกว่าวงเงินสูงสุดของความคุ้มครองในการประกันภัยภาคบังคับ โดยรับผิดในส่วนเกินนั้นไม่เกิน 250,000 บาท ต่อคน แต่หากความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่เกินวงเงินสูงสุดของความคุ้มครองในการประกันภัยภาคบังคับ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่จะต้องเรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัยภาคบังคับ หรือเจ้าของรถ หรือผู้ทำละเมิด แล้วแต่กรณี เมื่อความเสียหายคดีนี้มีจำนวนเพียง 5,297 บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินของความคุ้มครองในการประกันภัยภาคบังคับ จึงไม่อยู่ในความรับผิดของจำเลย ข้อตกลงของผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเช่นว่านี้เป็นการกำหนดความคุ้มครองมิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการประกันภัยภาคบังคับ และเป็นการแบ่งความคุ้มครองออกเป็นคนละส่วน โดยมิได้ทำให้บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากการใช้รถต้องเสียสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายแต่ประการใด ทั้งแบบกรมธรรม์ประกันภัยก็เป็นไปตามที่กรมการประกันภัยกำหนดให้ใช้บังคับ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด ส่วนโจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาเงินที่ได้จ่ายไปจากผู้ใดได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนแม้ผู้ขับขี่เมาสุรา ผู้เอาประกันภัยต้องชดใช้คืน
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน โจทก์ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกซึ่งผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ บุคคลภายนอกมีสิทธิเรียกร้องจากผู้รับประกันภัยได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 เมื่อจำเลยผู้เอาประกันภัยทำละเมิดและต้องรับผิดชอบต่อ ว. ท. และ จ. บุคคลภายนอก โจทก์ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ ว. ท. และ จ. ตามบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว โจทก์ไม่อาจนำข้อยกเว้นความรับผิด เนื่องจากขณะขับขี่จำเลยมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ข้อ 7.6 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับระหว่างโจทก์ผู้รับประกันภัยกับจำเลยผู้เอาประกันภัยไปใช้เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกตามบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวได้ โจทก์ยังต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก เพียงแต่เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยต้องใช้เงินที่โจทก์ใช้ไปนั้นคืนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัยรถยนต์: ตัวการจ้างวานใช้ vs. เจ้าของรถที่ไม่ได้ควบคุมดูแล
ตามข้อ 18 แห่งกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ระบุให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยคืนจากผู้เอาประกันภัยได้ จะต้องเป็นกรณีที่ "ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อผู้ประสบภัย" เท่านั้น ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุโดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวการ จ้าง วาน ใช้ และไปประสบเหตุ แต่ในทางนำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้เป็นตัวการจ้าง วาน ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวและเกิดเหตุรถชนกัน ดังนี้แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นเจ้าของรถ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ควบคุมดูแลรถจักรยานยนต์โดยนั่งไปด้วยขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่รถชนและมีผู้ถึงแก่ความตายและรับอันตรายสาหัสต่อผู้ประสบภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 18 ที่ให้สิทธิโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยคืนได้แต่โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิไล่เบื้ยเอาแก่ผู้ที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนทำให้เกิดเหตุรถชนขึ้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2540 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10421/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยรถยนต์เช่าซื้อ: การตีความเจตนาคู่สัญญาเพื่อยืนยันความผูกพันและสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ตารางกรมธรรม์และรายการคุ้มครองระบุว่า พ. เป็นผู้เอาประกันภัยและบริษัท ม. เป็นผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่ พ. เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษร แม้สัญญาเช่าซื้อช่วงจะระบุวันเริ่มต้นของสัญญาหลังวันเริ่มต้นของสัญญาประกันภัย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 จึงถือได้ว่า พ. ผู้เอาประกันภัยเป็นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับโจทก์แล้ว
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยถูกโจรกรรมไปจากลานจอดรถของจำเลย โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ม. ไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเท่านั้น ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยส่งคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยถูกโจรกรรมไปจากลานจอดรถของจำเลย โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ม. ไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเท่านั้น ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยส่งคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6277/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์ กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับเอง และการกำหนดดอกเบี้ยที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามสัญญาประกันภัยในกรณีที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของ ม. และ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการที่โจทก์กระทำละเมิดขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยเฉี่ยวชนรถยนต์ของ ม. และ ส. ได้รับความเสียหาย ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ในนามของโจทก์จากจำเลยผู้รับประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ส่วนที่โจทก์จะได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ม. และ ส. บุคคลภายนอกแล้วหรือไม่นั้น ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะมิใช่กรณีรับช่วงสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่การที่จำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ เนื่องจากมีหลักฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดเหตุ และคนขับรถของโจทก์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงเป็นการสู้ความโดยมีเหตุสมควร สมควรกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอมา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่การที่จำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ เนื่องจากมีหลักฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดเหตุ และคนขับรถของโจทก์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงเป็นการสู้ความโดยมีเหตุสมควร สมควรกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยรถยนต์: การลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายไม่เข้าข้อยกเว้นกรมธรรม์ ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังที่ระบุในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 869 ได้ให้นิยามคำว่า "วินาศภัย" ว่า ให้หมายรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนั้นการที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยตามสัญญา จำเลยตกลงรับชำระเบี้ยประกันภัย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมเป็นอันสัญญาว่าตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งกรณีวินาศภัยหากเกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่จำเลยเอาประกันภัย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งในกรณีรถยนต์ที่เอาประกันภัยสูญหาย ได้ระบุข้อยกเว้นความรับผิดไว้สองประการ กล่าวคือ ประการแรกความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอกโดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนอง หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น ประการที่สอง การใช้รถยนต์นอกอาณาเขตที่คุ้มครอง จึงเห็นได้ว่าในข้อยกเว้นความรับผิดไม่ได้ระบุเรื่องการใช้รถยนต์ผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ตามกรมธรรม์ เป็นบทยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยไว้ไม่ ทั้งเมื่อพิจารณากรมธรรม์ประกันภัยรวมตลอดถึงเงื่อนไขและการคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ก็ไม่มีเงื่อนไขข้อใดที่ระบุไว้ว่าหากผู้เอาประกันภัยนำรถไปใช้ผิดเงื่อนไขจะทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิด เมื่อไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดและเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่โจทก์นำรถยนต์ที่เอาประกันภัยไปใช้ผิดเงื่อนไขโดยออกให้บุคคลภายนอกเช่าจึงไม่เป็นการกระทำเข้าข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยมาจึงไม่ชอบและไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา โจทก์ฎีกาในปัญหานี้อีกว่า การที่โจทก์นำรถยนต์ออกให้เช่าในกรณีนี้ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อโจทก์หรือไม่ ซึ่งโจทก์อุทธรณ์ในปัญหานี้ไว้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยังมิได้วินิจฉัยจึงเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ย้อนสำนวน โดยโจทก์ฎีกาว่า ธ. ไม่มีเจตนาเช่ารถยนต์ไปจากโจทก์มาตั้งแต่ต้น เหตุที่ทำสัญญาเช่าก็เพื่อเป็นกลอุบายเพื่อจะลักรถยนต์ดังกล่าวไป จึงถือว่าไม่มีการเช่ารถยนต์คันดังกล่าว การที่ ธ. รับมอบหรือครอบครองรถยนต์จึงไม่ใช่การรับมอบหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ข้อ 5.1 ในข้อนี้โจทก์มี ธ. ตัวโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า ธ. ได้ใช้กลอุบายหลอกทำสัญญาเช่ารถยนต์ของโจทก์เพื่อจะลักรถยนต์ดังกล่าวไป โดยไม่มีเจตนาเช่าจริง และ ธ. ได้ร่วมกับพวกใช้วิธีการเดียวกันนี้ในการลักรถยนต์รายอื่นในจังหวัดต่าง ๆ อีกหลายครั้งตามหมายจับ ธ. ของศาลแขวงเชียงใหม่ ข้อหากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และหมายจับของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ให้จับตัวพวกของ ธ. รวม 2 คน ข้อหากระทำผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายและมี น. เบิกความสนับสนุนว่า พยานเคยถูก ธ. ขอทำสัญญาเช่ารถยนต์ของพยานโดยไม่มีเจตนาจะเช่ารถยนต์จริงเช่นกัน โดยในคืนเดียวกับวันทำสัญญาเช่า ธ. ได้ตัดสัญญาณติดตามรถยนต์ของพยานออกเพื่อไม่ให้สามารถติดตามรถยนต์ได้ เมื่อ ธ. ถูกจับกุมก็ยอมรับกับพยานว่าไม่มีเจตนาจะเช่ารถยนต์แต่ต้องการจะนำรถไปขายต่อ เห็นว่า พฤติการณ์ของ ธ. ที่ขอเช่ารถยนต์จากบุคคลหลายคนซึ่งได้ความจากคำเบิกความของ น. และคำให้การชั้นสอบสวนของโจทก์ว่า เมื่อได้ครอบครองรถยนต์แล้ว ธ. ลักรถยนต์ไปขายต่อ สอดคล้องกับคำเบิกความของ ธ. เองที่เบิกความเป็นพยานโจทก์ว่า พยานทำทีเป็นเช่ารถยนต์จากฝ่ายโจทก์โดยมีเจตนาแต่ต้นที่จะลักรถยนต์ แสดงให้เห็นว่า ธ. มิได้มีเจตนาเช่ารถยนต์พิพาทไปจากโจทก์เพื่อใช้สอย หากแต่มีเจตนามาแต่ต้นที่จะลักรถยนต์ไปจากโจทก์ การติดต่อขอเช่ารถยนต์เป็นเพียงวิธีการหรือกลอุบายเพื่อให้ได้ทรัพย์นั้นไปโดยทุจริต ที่จำเลยให้การและนำสืบหักล้างว่าโจทก์เคยไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่า ธ. กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กรณีจึงไม่ใช่ ธ. กระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายนั้น เห็นว่า การแจ้งความเป็นเพียงการร้องทุกข์กล่าวหาในเบื้องต้น ส่วนการกระทำของ ธ. จะเป็นการกระทำความผิดฐานใดต้องดูจากข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนและคำพิพากษาของศาลซึ่งจะมีต่อไป ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่าแม้โจทก์ได้แจ้งความในเบื้องต้นให้ดำเนินคดีแก่ ธ. ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แต่ต่อมาได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าพฤติการณ์ของ ธ. เป็นลักษณะลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย ข้อนำสืบของจำเลยในส่วนนี้ไม่อาจหักล้างพยานโจทก์ได้ พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวมาจึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ธ. ไม่มีเจตนาเช่ารถยนต์พิพาทจากโจทก์ แต่มีเจตนาลักเอารถยนต์นั้นมาแต่ต้น การที่ ธ. ได้รถยนต์ไปอยู่ในความครอบครองจึงมิใช่การครอบครองตามสัญญาเช่า ดังนั้นที่ ธ. นำรถยนต์ดังกล่าวหลบหนีไปจึงไม่เป็นกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดขึ้นโดยบุคคลซึ่งครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามข้อ 5.1 ดังกล่าวข้างต้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนทุนประกันภัยที่ระบุไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถยนต์: การไล่เบี้ยจากผู้กระทำละเมิด และขอบเขตการสละสิทธิ
สัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกันตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ของสมาคมประกันวินาศภัย มีวัตถุประสงค์จำกัดขอบเขตการสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกันในระหว่างผู้เข้าร่วมสัญญา ผู้เอาประกันภัย และบุคคลซึ่งต้องรับผิดต่อเหตุละเมิดเพียงเท่าจำนวนเงินเอาประกันภัยคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยของผู้ร่วมสัญญาฝ่ายที่ต้อง รับผิดเท่านั้น หาใช่สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดไม่ โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดในค่าเสียหายส่วนเกินจากที่สละสิทธิเรียกร้องตามสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทประกันภัยรถยนต์: อายุความ, อนุญาโตตุลาการ, และการดำเนินการพิจารณาที่ชอบ
เมื่อข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัย 2 ฉบับนี้เป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ผู้รับประกันภัยค้ำจุนทำกับผู้เอาประกันภัยให้สิทธิผู้มีสิทธิเรียกร้องซึ่งก็คือ ผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลผู้ต้องเสียหายจากวินาศภัยมีสิทธิใช้วิธีอนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาทได้ถ้าประสงค์หรือเห็นควร กรณีย่อมแตกต่างจากการที่คู่สัญญาอนุญาโตตุลาการตกลงกันไว้ในสัญญาอนุญาโตตุลาการว่าหากเกิดข้อพิพาทระหว่างกันให้ระงับข้อพิพาทนั้นโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ ซึ่งหากมีข้อตกลงนี้คู่สัญญาย่อมไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ ฉะนั้น ตามข้อตกลงในกรมธรรม์ผู้ร้องจึงอาจเลือกใช้วิธีอนุญาโตตุลาการยื่นคำเสนอข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยระหว่างตนกับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต่ออนุญาโตตุลาการของสำนักงานคณะกรรมการดังกล่าวได้ แม้ตนจะยื่นฟ้องคดีแพ่งผู้ขับรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับผู้คัดค้านทั้งสองเรียกร้องให้รับผิดทางละเมิดแล้วก็ตาม การใช้สิทธิยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการของผู้ร้องจึงไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
ผู้ร้องเป็นผู้ประสบภัยจากรถ และเป็นบุคคลผู้ต้องเสียหายตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนเป็นการเรียกจากผู้รับประกันภัยตรงตามกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับการที่เจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ศาลเป็นผู้พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาท จึงต้องเรียกภายใน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย และการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเสนอข้อพิพาทเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ดังกล่าวไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ย่อมไม่ทำให้อายุความเรียกร้องทางแพ่งหรือฟ้องคดีแพ่งสะดุดหยุดลง ซึ่งวันวินาศภัยก็คือวันเกิดเหตุรถเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้บุตรของผู้ร้องถึงแก่ความตาย หาใช่วันที่ยื่นฟ้องคดีแพ่งเพราะเป็นวันที่มีการคำนวณค่าเสียหายเพื่อเรียกร้องแล้วไม่ ทั้งก็ไม่ได้มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เพราะเหตุผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งรับค้ำจุนในบรรดาหนี้ทั้งปวงที่มีต่อผู้เสียหายซึ่งก็คือผู้ร้อง เนื่องจากแม้มีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน แต่กำหนดอายุความหรือการที่อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น
กรณีที่คู่พิพาทมิได้กำหนดกฎหมายที่จะใช้บังคับกับข้อพิพาท ก็ต้องใช้กฎหมายไทยบังคับ รวมถึง ป.วิ.พ. ด้วย ซึ่งก่อนมีคำวินิจฉัยชี้ขาดอนุญาโตตุลาการก็ให้โอกาสผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องขอชี้ขาดเบื้องต้นนั้นแล้ว จากนั้นจึงสั่งงดการชี้สองสถานและปิดการพิจารณา ไม่นำสืบพยานหลักฐานและเสนอข้ออ้างข้อต่อสู้ของผู้ร้องต่อไป ซึ่งก็สั่งเช่นนี้ได้เพราะเป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงอื่นจากพยานหลักฐานใดของทั้งสองฝ่ายมานำสืบอีก การพิจารณาดังกล่าวของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ตามที่เห็นสมควรในอำนาจของตน เป็นการพิจารณาข้อพิพาทโดยชอบและปฏิบัติต่อผู้ร้องซึ่งเป็นคู่พิพาทอีกฝ่ายอย่างเท่าเทียมเสมอภาคกันกับฝ่ายผู้คัดค้าน และให้โอกาสผู้ร้องเสนอข้ออ้างข้อต่อสู้ของตนได้ตามพฤติการณ์แห่งข้อพิพาทแล้ว ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวของอนุญาโตตุลาการไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่มีสาเหตุที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ผู้ร้องเป็นผู้ประสบภัยจากรถ และเป็นบุคคลผู้ต้องเสียหายตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนเป็นการเรียกจากผู้รับประกันภัยตรงตามกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับการที่เจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ศาลเป็นผู้พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาท จึงต้องเรียกภายใน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย และการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเสนอข้อพิพาทเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ดังกล่าวไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ย่อมไม่ทำให้อายุความเรียกร้องทางแพ่งหรือฟ้องคดีแพ่งสะดุดหยุดลง ซึ่งวันวินาศภัยก็คือวันเกิดเหตุรถเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้บุตรของผู้ร้องถึงแก่ความตาย หาใช่วันที่ยื่นฟ้องคดีแพ่งเพราะเป็นวันที่มีการคำนวณค่าเสียหายเพื่อเรียกร้องแล้วไม่ ทั้งก็ไม่ได้มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เพราะเหตุผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งรับค้ำจุนในบรรดาหนี้ทั้งปวงที่มีต่อผู้เสียหายซึ่งก็คือผู้ร้อง เนื่องจากแม้มีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน แต่กำหนดอายุความหรือการที่อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น
กรณีที่คู่พิพาทมิได้กำหนดกฎหมายที่จะใช้บังคับกับข้อพิพาท ก็ต้องใช้กฎหมายไทยบังคับ รวมถึง ป.วิ.พ. ด้วย ซึ่งก่อนมีคำวินิจฉัยชี้ขาดอนุญาโตตุลาการก็ให้โอกาสผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องขอชี้ขาดเบื้องต้นนั้นแล้ว จากนั้นจึงสั่งงดการชี้สองสถานและปิดการพิจารณา ไม่นำสืบพยานหลักฐานและเสนอข้ออ้างข้อต่อสู้ของผู้ร้องต่อไป ซึ่งก็สั่งเช่นนี้ได้เพราะเป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงอื่นจากพยานหลักฐานใดของทั้งสองฝ่ายมานำสืบอีก การพิจารณาดังกล่าวของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ตามที่เห็นสมควรในอำนาจของตน เป็นการพิจารณาข้อพิพาทโดยชอบและปฏิบัติต่อผู้ร้องซึ่งเป็นคู่พิพาทอีกฝ่ายอย่างเท่าเทียมเสมอภาคกันกับฝ่ายผู้คัดค้าน และให้โอกาสผู้ร้องเสนอข้ออ้างข้อต่อสู้ของตนได้ตามพฤติการณ์แห่งข้อพิพาทแล้ว ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวของอนุญาโตตุลาการไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่มีสาเหตุที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์: การประเมินความรับผิด, การคำนวณดอกเบี้ย, และขอบเขตความคุ้มครอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถบรรทุกและรถพ่วงคันที่ ด. เป็นผู้ขับ รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกรณีที่ ช. เสียชีวิตทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะ ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ด. ขับรถบรรทุกและรถพ่วงด้วยความประมาทชนรถจักรยานยนต์คันที่ ช. ขับเป็นเหตุให้ ช. ถึงแก่ความตาย โดย ช. ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย แต่ ด. มีส่วนประมาทมากกว่า เมื่อตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 3.1.3 ระบุว่า ในกรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน ดังนั้น เมื่อ ช. เป็นผู้ประสบภัยที่ ด. จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพราะเหตุที่ ด. เป็นฝ่ายประมาทมากกว่า ช. จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถบรรทุกและรถพ่วงที่ ด. เป็นผู้ขับไว้จากนายจ้างของ ด. จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฉบับละ 200,000 บาท รวมเป็น 400,000 บาท