คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประนีประนอมยอมความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความคดีเช็ค: ระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา แม้มีข้อยกเว้น
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นฉ้อฉล แม้มีสัญญาสิทธิอาศัยก่อนยึดทรัพย์และทราบการยึด
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ทำกันและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาท แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ทำสัญญาดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยให้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจึงไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทได้ ต้องเลี่ยงมาทำสัญญาสิทธิอาศัย และการที่จำเลยทั้งสามไม่ได้นำพาที่จะดำเนินการจดทะเบียนโดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเกือบ 10 ปีก็ไม่ได้ทำให้สัญญาสิทธิอาศัยเสียไป เมื่อสิทธิอาศัยดังกล่าวมีอยู่ก่อนหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ค้างชำระโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. ครบถ้วนตามที่จำเลยทั้งสามได้ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ชอบที่จะขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะทราบว่าโจทก์ได้ยึดทรัพย์สินของ จำเลยที่ 1 รวมทั้งห้องชุดพิพาทก่อนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็เป็นการใช้สิทธิโดยชอบของจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริต โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อคดีอาญาเช็ค - หนี้ระงับเมื่อยอมความ
โจทก์ร่วมได้นำเช็คพิพาทในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเรียกให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์ร่วมและจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุไว้ชัดว่า การทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นเหตุให้คดีอาญาระงับจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์(โจทก์ร่วมคดีนี้)จนเสร็จสิ้นก็ตาม แต่ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 852 ดังนั้น หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น จึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยได้ใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ตกลงกันในคดีแพ่งแก่โจทก์(โจทก์ร่วมคดีนี้)จนเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อคดีอาญาเช็ค: หนี้ระงับ สิทธิฟ้องอาญาเลิก
โจทก์ร่วมได้นำเช็คพิพาทในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเรียกให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์ร่วมและจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุไว้ชัดว่า การทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นเหตุให้คดีอาญาระงับจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์ (โจทก์ร่วมคดีนี้) จนเสร็จสิ้นก็ตาม แต่ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ดังนั้น หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น จึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยได้ใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ตกลงกันในคดีแพ่งแก่โจทก์ (โจทก์ร่วมคดีนี้) จนเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ คดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ และโจทก์ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 48,000 บาท แต่ตกลงผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน เดือนละ 800 บาท นับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2529 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 25 ของทุกเดือนถัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งจะชำระเสร็จสิ้นภายในวันที่ 25 กันยายน 2534 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นมา ฉะนั้น หนี้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นไป โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังไม่เกินกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อการฟ้องคดีอาญาเช็ค
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อความว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาท ดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 แล้ว และการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้ว มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค: การสละสิทธิฟ้องอาญาจากการรับเช็คชำระหนี้ใหม่
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาทดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แล้วและการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้วมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับ จำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกันส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค การสละสิทธิฟ้องอาญา และผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อความว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาท ดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แล้ว และการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้ว มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความขัดแย้งกับคำสั่งศาลฎีกาที่ทุเลาการบังคับคดีและห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน
คำสั่งของศาลฎีกาที่อนุญาตให้จำเลยในคดีนี้ทุเลาการบังคับคดีในคดีอื่น โดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่างฎีกานั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยตกลงโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และศาลพิพากษาตามยอม ในระหว่างที่คำสั่งดังกล่าวยังมีผลบังคับ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการ ฝ่าฝืนคำสั่งของศาลฎีกา อีกทั้งโจทก์คดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความ ในคดีก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์นั้นถือได้ว่าเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นในคดีนี้ยกเลิกคำสั่งของศาลฎีกาเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับคดีซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นคดีนี้ยกเลิกคำสั่ง ของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความขัดต่อคำสั่งศาลฎีกาและผลกระทบต่อการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คดีก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บ.โจทก์ในคดีนั้นมีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลย หากจำเลยไม่ยอมขายให้ถือเอาคำพิพากษา แทนการแสดงเจตนา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ระหว่างฎีกาจำเลยขอทุเลาการบังคับ ศาลฎีกามีคำสั่ง อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกา เมื่อปรากฏว่าคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์กับคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีของศาลฎีกา ที่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีโดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลย ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกานั้นมีผลบังคับอยู่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อยังไม่มีการยกเลิก คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยการที่จำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในคดีหลังนี้ จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลฎีกา อีกทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นคดีหลังนี้ให้มีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ได้ เพราะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นในคดีนี้ยกเลิกคำสั่งของศาลฎีกาในคดีแพ่งเรื่องก่อนซึ่งเป็นคนละคดีกันและถึงที่สุดไปแล้ว
of 60