พบผลลัพธ์ทั้งหมด 752 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5420/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์โดยผ่านสิ่งกีดกั้น: การเปิดประตูรถยนต์ที่ล็อกไว้ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเปิดประตูรถยนต์ซึ่งล็อกไว้ แล้วเข้าไปลักวิทยุเทปที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์เป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปลักทรัพย์ เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 335 (3) วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4840/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณระยะเวลาจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 21(2) ที่กำหนดเป็นเดือนหรือปี
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน จำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 28 เดือน เมื่อ ป.อ.มาตรา 21วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ ฉะนั้น ในกรณีกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนในส่วนที่เมื่อรวมกันถึง 12 เดือน ก็จะคิดคำนวณวันที่จำคุกเพียง360 วัน แต่ถ้าถือว่าการลงโทษจำคุก 12 เดือน เป็นกำหนดโทษจำคุก 1 ปี แล้วจะคิดคำนวณวันที่จำคุกได้ถึง 365 วัน หรือ 366 วัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยดังนี้ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกจำเลยเป็นเดือนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4840/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง: การกำหนดโทษเป็นเดือนหรือปี
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน จำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 28 เดือน เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือนถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ ฉะนั้น ในกรณีกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนในส่วนที่เมื่อรวมกันถึง 12 เดือน ก็จะคิดคำนวณวันที่จำคุกเพียง 360 วัน แต่ถ้าถือว่าการลงโทษจำคุก 12 เดือน เป็นกำหนดโทษจำคุก 1 ปี แล้วจะคิดคำนวณวันที่จำคุกได้ถึง 365 วัน หรือ 366 วัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยดังนี้ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกจำเลยเป็นเดือนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4840/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณโทษจำคุกเป็นเดือนหรือปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน จำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 28 เดือน เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือนถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ ฉะนั้น ในกรณีกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนในส่วนที่เมื่อรวมกันถึง 12 เดือน ก็จะคิดคำนวณวันที่จำคุกเพียง 360 วัน แต่ถ้าถือว่าการลงโทษจำคุก 12 เดือน เป็นกำหนดโทษจำคุก 1 ปี แล้วจะคิดคำนวณวันที่จำคุกได้ถึง 365 วัน หรือ 366 วัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยดังนี้ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกจำเลยเป็นเดือนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4442/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเงินผิดพลาดและการส่งมอบโดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
พนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมรับฝากเงินจากสาขาของบริษัท ท. เพื่อโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของบริษัท ท. สำนักงานใหญ่แต่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผิดพลาดไปเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ธนาคารโจทก์ร่วม จำเลยได้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวในบัญชีของจำเลยไปจากธนาคารของโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะทราบแต่เพียงฝ่ายเดียวว่าเงินนั้นเข้าบัญชีผิดพลาด แต่จำเลยมีเจตนาทุจริตถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยเพราะโจทก์ร่วมได้ส่งมอบให้โดยสำคัญผิดมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4442/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินโดยผิดพลาดและการส่งมอบโดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
พนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมรับฝากเงินจากบริษัท ท. จำนวน 2,132,770 บาท เพื่อโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของบริษัท ท.แต่พนักงานของโจทก์ร่วมป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผิดพลาดไปเป็นเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ธนาคารโจทก์ร่วม สำนักงานใหญ่ ต่อมาเมื่อจำเลยนำเงินฝากเข้าบัญชีในวันดังกล่าวจึงทราบว่ามีเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยโดยการผิดพลาด จากนั้นจำเลยได้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวในบัญชีของจำเลยไปจากธนาคารของโจทก์ร่วมสำนักงานใหญ่ โดยการปิดบัญชี การที่จำเลยได้ถอนเงินที่เข้าบัญชีผิดพลาดนั้นออกไปตั้งแต่ในขณะที่โจทก์ร่วมก็ยังไม่ทราบว่าเงินจำนวนนั้นไม่ใช่เป็นเงินของจำเลยก็ตามแม้จำเลยจะเป็นฝ่ายทราบแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยโจทก์ร่วมยังไม่ทราบว่าเงินจำนวน 2,132,770 บาท นั้นเข้าบัญชีของจำเลยผิดพลาดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีเจตนาทุจริตถอนเงินดังกล่าวไป และโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้แก่จำเลยไปแล้วเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเงินจำนวน 2,132,770 บาท นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยเพราะโจทก์ร่วมได้ส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีเก่าเมื่อจำเลยกระทำความผิดใหม่ภายในกำหนดรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
เมื่อจำเลยให้การรับว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจำคุก 1 ปี 2 เดือน โดยให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปีและภายในเวลา 5 ปี จำเลยได้มา กระทำผิดคดีนี้อีก ฉะนั้นแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้อง และมิได้ขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าว เข้ากับคดีนี้มาท้ายฟ้องแต่ก็เป็นกรณีที่ความปรากฏ แก่ศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคหนึ่งที่แก้ไขแล้วโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2532 มาตรา 4 ศาลจึงต้องนำโทษที่ รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษเด็กและเยาวชนโดยศาลเยาวชนและครอบครัว มิใช่การลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี และขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา104 (2) ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: หลักการประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ คำให้การดังกล่าวใช้ยันจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวง (อาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงคราม) ความผิดฐานใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม อันเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงบทเดียว ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนผิดกฎหมาย: หลักการประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยสมัครใจคำให้การดังกล่าวใช้ยันจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134 ความผิดฐานมีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวง(อาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงคราม)ความผิดฐานใช้อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา78วรรคสามอันเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90