พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ตรงประเด็นคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์โจทก์เพราะเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ฎีกาว่าคดีโจทก์มีมูลซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย แล้วขอให้ศาลชั้นต้นประทับฟ้องโจทก์ไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายจากเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง การวินิจฉัยนอกประเด็นและแปลงหนี้
ประเด็นแห่งคดีมีว่า สหกรณ์โจทก์รู้เห็นเป็นใจให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ากรรมการของโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ได้ โดยจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ม.575 โจทก์และจำเลยที่ 1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างคำสั่งเลื่อนตำแหน่งหน้าที่จำเลยที่ 1 ของโจทก์ จึงมิใช่เรื่องแปลงหนี้ใหม่ สัญญาจ้างเดิมมิได้ระงับไป
สัญญาค้ำประกันมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบในความเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ก่อขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใดๆมิได้ระบุว่าจะรับผิดชอบขณะที่จำเลยเป็นเสมียนเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้จัดการ ก็ต้องถือว่ายังเป็นเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์โจทก์อยู่
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ม.575 โจทก์และจำเลยที่ 1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างคำสั่งเลื่อนตำแหน่งหน้าที่จำเลยที่ 1 ของโจทก์ จึงมิใช่เรื่องแปลงหนี้ใหม่ สัญญาจ้างเดิมมิได้ระงับไป
สัญญาค้ำประกันมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบในความเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ก่อขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใดๆมิได้ระบุว่าจะรับผิดชอบขณะที่จำเลยเป็นเสมียนเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้จัดการ ก็ต้องถือว่ายังเป็นเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์โจทก์อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนอกฟ้องนอกประเด็น: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่กำหนดไว้ในคำฟ้องและข้อโต้แย้งเท่านั้น
กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์กำหนดแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีนั้น ในการวินิจฉัยคดีใหม่ ศาลชั้นต้นและและอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยตามประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ได้กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นต่างกัน แม้สัญญาเดิมคล้ายกัน ศาลไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องเกี่ยวกับสัญญาแบ่งผลประโยชน์ตึกแถวพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยอ้างว่าโจทก์นำสืบพยานหลักฐานได้ไม่สมตามฟ้องและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยผิดสัญญาอย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัย พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ ในคดี เดิมศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะเหตุโจทก์มิได้บรรยายฟ้อง ถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ ไหนอย่างไร หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาดังกล่าว หรือไม่ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญา อย่างไร ซึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อน กรณีจึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินก่อนสัญญาใหม่ ไม่ถือเป็นการนำสืบนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2521 จำเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท แล้วนำสืบว่ากู้ยืมกันก่อนหน้านั้น คิดดอกเบี้ยและลดหนี้กันแล้วจึงทำสัญญากันใหม่ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2521 เป็นเงิน200,000 บาท ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องนำสืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นพินัยกรรมปลอมสำคัญกว่าความสมบูรณ์ของแบบ หากศาลวินิจฉัยนอกประเด็นย่อมไม่ชอบ
ประเด็นมีเพียงว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทปลอมหรือไม่ การที่ศาลล่างยกเอาเรื่องความสมบูรณ์ของพินัยกรรมว่า เจ้ามรดกได้ลงชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานสองคนหรือไม่ มาเป็นข้อวินิจฉัย แม้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ให้อำนาจศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้โดยที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ก็ตาม แต่จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริง ในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบตามมาตรา 87 ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็น ไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ หรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตาม มาตรา 142(5) หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ตรงประเด็น – การคัดลอกข้อความอุทธรณ์และเหตุผลต่างจากศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกาโดยคัดลอกเอาข้อความที่อุทธรณ์มาเป็นฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยเหตุผลคนละอย่างกับที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องฎีกาโจทก์จึงไม่เป็นฎีกาที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338-3339/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การทำให้ประเด็นแย่งการครอบครองไม่ได้รับการวินิจฉัย ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยให้การเป็นพยานเบิกความว่าแย่งการครอบครอง ข้อนี้ไม่เป็นประเด็น เพราะจำเลยมิได้ยื่นคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นและหน้าที่นำสืบในคดีมรดก จำเลยฎีกาต้องแสดงการคัดค้านคำสั่งศาลให้ชัดเจนก่อน
จำเลยฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องการกำหนดประเด็นและหน้าที่นำสืบ ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาในวันชี้สองสถานว่าคู่ความสละข้อหาหรือข้อต่อสู้อื่นทั้งหมด คงมีประเด็นพิพาทเพียง 2 ข้อคือพินัยกรรมปลอมหรือไม่และพินัยกรรมครอบคลุมถึงทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมหรือไม่ หลังจากไปตรวจที่พิพาทแล้วศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำสืบก่อน ต่อมาจำเลยยื่นคำแถลงว่าในวันตรวจที่พิพาท จำเลยได้คัดค้านคำสั่งศาลด้วยวาจาว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลสั่งด้วยวาจาว่าให้แถลงคัดค้านเข้ามาจำเลยจึงยื่นคำแถลงอธิบายความหมายตามที่จำเลยแถลง ศาลชั้นต้นสั่งสำเนาให้โจทก์ร่วม ดังนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 26 กำหนดว่าถ้าศาลได้ออกคำสั่งหรือคำชี้ขาดเกี่ยวกับการการดำเนินคดี คู่ความคัดค้านว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไปให้ศาลจดคำสั่งหรือคำชี้ขาดนั้นและสภาพแห่งการคัดค้านนั้นไว้ในรายงานเมื่อตามสำนวนไม่ปรากฏว่าจำเลยคัดค้านคำสั่งหรือคำชี้ขาดข้อใดจึงไม่มีข้อคัดค้านศาลชั้นต้นที่ศาลฎีกาจะพิจารณาตามฎีกาของจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำสืบก่อนและโจทก์จำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว แม้จะเป็นการชอบหรือไม่ก็ตามถ้าไม่ทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไปก็ไม่มีเหตุที่ศาลสูงจะสั่งแก้ไข
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำสืบก่อนและโจทก์จำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว แม้จะเป็นการชอบหรือไม่ก็ตามถ้าไม่ทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไปก็ไม่มีเหตุที่ศาลสูงจะสั่งแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้เอง แม้ไม่ได้ยกขึ้นเป็นประเด็น
ในเรื่องอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น แม้ไม่เป็นประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยหาจำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 17, 18 ไม่
เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยหาจำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 17, 18 ไม่