คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปริมาณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10521/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณปริมาณสารบริสุทธิ์ยาเสพติดจากส่วนหนึ่งของยาเสพติดของกลาง และการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าเมทแอมเฟตามีน 30 เม็ด ที่จำหน่ายให้แก่สายลับมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องมาแล้วว่า เมทแอมเฟตามีนของกลาง 160 เม็ด ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีน้ำหนัก 14.86 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 2.847 กรัม ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง และเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่โจทก์บรรยายฟ้อง และเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนของกลาง จึงคำนวณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน 30 เม็ด ดังกล่าวได้เช่นเดียวกันว่าคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.5338 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป กรณีจึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคสอง ได้ ซึ่งตามมาตรา 100/1 บัญญัติว่า ตามผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ปรับด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษปรับได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9520/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีครอบครองยาแก้ไอ (โคเดอีน) เกิน 250 มิลลิลิตร สันนิษฐานว่ามีไว้จำหน่าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2545 มาตรา 7 (3) บัญญัติว่า ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 คือ ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า เมื่อนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 มาเป็นส่วนผสมของตำรับยาแล้วไม่ว่ายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จะมีจำนวนเท่าใด ย่อมต้องถือว่าตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ดังกล่าวเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ทั้งสิ้น เช่นนี้การที่จะพิจารณาว่าการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวนมากน้อยเพียงใดที่จะต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 181) ฯ จึงต้องถือเอาตามจำนวนของยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 นั้นเองว่า เกินจำนวน 250 มิลลิลิตร หรือ 30 เม็ด หรือ 30 แคปซูลหรือไม่ โดยเฉพาะการที่ได้กำหนดหน่วยเป็นเม็ดหรือแคปซูลด้วยยิ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นการกำหนดตามจำนวนของยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หาใช่ถือเอาตามจำนวนของโคเดอีนที่เป็นส่วนผสมอยู่ไม่ ดังนั้น เมื่อยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมของกลาง อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร เกินจำนวน 250 มิลลิลิตร จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9520/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเกิน 250 มิลลิลิตร ถือเป็นมีไว้เพื่อจำหน่ายตามกฎหมายยาเสพติด
ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่า ยาแก้ไออันเป็นตำรับยาแผนปัจจุบันที่มีโคเดอีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอันถือเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวน 7 ขวด ของกลาง มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร และตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 7 (3) บัญญัติว่า ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 คือ ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย จากบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 มาเป็นส่วนผสมของตำรับยาแล้ว ไม่ว่ายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จะมีจำนวนเท่าใด ย่อมต้องถือว่าตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ดังกล่าวเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ทั้งสิ้น การที่จะพิจารณาว่าการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวนมากน้อยเพียงใดที่จะต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 181) จึงต้องถือตามจำนวนของยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 นั้นเองว่า เกิน 250 มิลลิลิตร หรือ 30 เม็ด หรือ 30 แคปซูล หรือไม่ ดังนี้ เมื่อยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมของกลางอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร เกิน 250 มิลลิลิตร จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนปริมาณที่กฎหมายสันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย แม้ไม่พบเงินจากการขาย
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองจำนวน 20 เม็ด รวมน้ำหนัก 1.720 กรัม เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3059/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีเมทแอมเฟตามีน จำเลยต้องมีหน่วยการใช้ที่ชัดเจนเพื่อเข้าข่ายครอบครองเพื่อจำหน่าย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมิได้บรรยายว่าจำนวนเม็ดของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเป็นหน่วยการใช้ด้วย จึงไม่อาจฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีน 20 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ครอบครองมีจำนวน 20 หน่วยการใช้ หรือมีจำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป กรณีไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ตามที่โจทก์ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งคำนวณปริมาณยาเสพติดเพื่อลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ โดยพิจารณาจากลักษณะการบรรจุและปริมาณโดยรวม
เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 4 ห่อ แต่ละห่อมีขนาดใกล้เคียงกัน เมื่อนับเมทแอมเฟตามีนรวมกันทั้งสี่ห่อได้จำนวน 23,533 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 337.602 กรัม กับได้ความตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของพันตำรวจโท ธ. ร้อยตำรวจตรี ด. และร้อยตำรวจตรี ส. เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม ประกอบบันทึกการจับกุมว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 ห่อดังกล่าว แต่ละห่อ ห่อด้วยกระดาษสีน้ำตาล ภายในมีห่อกระดาษสีขาวจำนวน 3 ห่อ ภายในห่อกระดาษสีขาวมีถุงพลาสติกแบบรูดปิดเปิดสีฟ้าหลายถุงซึ่งภายในถุงพลาสติกมีเมทแอมเฟตามีนบรรจุอยู่จำนวนมากเช่นเดียวกัน จากลักษณะการบรรจุที่แต่ละห่อไม่แตกต่างกัน ขนาดห่อใกล้เคียงกัน จึงเชื่อได้ว่าเมทแอมเฟตามีนแต่ละห่อมีจำนวนใกล้เคียงกัน หากเฉลี่ยแต่ละห่อเท่ากัน จะมีเมทแอมเฟตามีนประมาณห่อละ 5,000 เม็ด เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองจำนวน 2 ห่อ ย่อมมีเมทแอมเฟตามีนไม่น้อยกว่า 10,000 เม็ด เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ แล้วย่อมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไปอย่างแน่นอน การกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม
of 10