พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับค่าน้ำบาดาลไม่ใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 แต่เป็นค่าเสียหายตามกฎกระทรวง
เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นเบี้ยปรับอันเกิดจากการที่คู่สัญญาทำสัญญาไว้ต่อกันว่าลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ถึงมาตรา 381 แต่กรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตใช้น้ำบาดาลจากโจทก์ต้องรับผิดชำระค่าใช้น้ำบาดาลเพิ่มขึ้นเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 และฉบับที่ 7 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในลักษณะเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศาลจึงไม่อาจปรับลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653: หลักฐานการกู้ยืมและข้อจำกัดการนำสืบการใช้เงิน
หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้นอาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ และมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6414/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมเงินเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ มิใช่การยืมตาม ป.พ.พ. และไม่อาจใช้บทบัญญัติใกล้เคียง
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ และได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้เป็นผู้ดำเนินการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา เงินที่จำเลยขอยืมจากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ในการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาดังกล่าวเป็นเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา การทำสัญญาการยืมเงินเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลย จึงมิใช่เป็นการยืมตามลักษณะ 9 แห่ง ป.พ.พ. และกรณีนี้ก็ไม่อาจนำบทบัญญัติในลักษณะ 9 มาใช้บังคับในฐานะบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ ส่วนจำเลยจะต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ หรือไม่นั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดตามกฎหมายในส่วนนี้ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6414/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมเงินเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่เข้าข่ายการยืมตาม ป.พ.พ. และไม่อาจใช้บทบัญญัติใกล้เคียง
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติโจทก์ และได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้เป็นผู้ดำเนินการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา การที่จำเลยขอยืมจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาดังกล่าว เป็นเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การทำสัญญาการยืมเงินเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลย จึงมิใช่เป็นการยืมตามลักษณะ 9 แห่ง ป.พ.พ. และไม่อาจนำบทบัญญัติในลักษณะ 9 มาใช้บังคับในฐานะบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินที่ได้ไปโดยปราศจากมูลละเมิด: ลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 มีอายุความ 1 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยเบิกไปโดยจำเลยไม่มีสิทธิเบิกจากทางราชการตาม พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2527 มาตรา 7 (1) อันเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายให้จำเลยและจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าว แต่จำเลยรับไปโดยสุจริตเข้าใจว่า ตนมีสิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยรับเงินไปจากโจทก์จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกทรัพย์คืนในฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จึงอยู่ในบังคับกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ที่โจทก์ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกคืนจากจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับแนวเขตที่ดินโดยเจ้าของข้างเคียง สละกรรมสิทธิ์ที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้มาระวังแนวเขตที่ดินและลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินไว้ในใบรับรองเขตติดต่อของเจ้าของที่ดินและเจ้าของที่ดินข้างเคียง อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์ แต่อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะเป็นของที่ดินพิพาทก็ต้องถือว่าโจทก์สละกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่จำเลยแล้ว การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่มีมาก่อนย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7426/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้ค่าเช่าและหลักฐานการเช่าที่ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538
บันทึกเอกสารหมาย จ.4 มีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาง บ. (จำเลย) ขอรับว่าเป็นหนี้ค่าเช่าที่ขายของคุณ อ. (โจทก์) จริงตามคำบอกกล่าวของทนายที่แจ้งมาแล้วนั้น แต่นาง บ. (จำเลย) ขอลดหนี้จะชำระเพียง 70,000 บาท จึงยังตกลงกันไม่ได้ ทนายจึงต้องสอบถามจากคุณ อ. (โจทก์) เจ้าหนี้เสียก่อนว่าจะมีความเห็นประการใด จึงได้ลงชื่อกันไว้ต่อหน้าพยาน" เป็นเรื่องที่จำเลยยอมรับว่าได้เช่าที่ดินโจทก์และยังค้างค่าเช่าอยู่จริง เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าวย่อมถือเป็นหลักฐานการเช่าอันจะนำมาฟ้องร้องขอให้บังคับคดีได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4728/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบริการขนส่งสินค้าข้ามประเทศ: ข้อยกเว้น ป.พ.พ. มาตรา 193/34(1) และ 193/33(5)
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนจำเลยไปสำหรับขนสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้าของจำเลยซึ่งอยู่ในต่างประเทศอันเป็นการเรียกค่าการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้นั้นเอง จึงอยู่ในข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่มีกำหนดอายุความสองปี แต่มีอายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องชำรุดบกพร่อง: สัญญาพิเศษ VS. ป.พ.พ. มาตรา 601
การฟ้องร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 กล่าวคือ ต้องเป็นกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา แล้วงานที่ทำเกิดการชำรุดบกพร่องขึ้นภายหลังส่งมอบ แต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องตามข้อสัญญาซึ่งกำหนดความรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องไว้เป็นอย่างอื่น อันเป็นข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งผูกพันคู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตาม หาใช่เป็นเพียงข้อตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาซึ่งผู้รับจ้างต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 600 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้กำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช่าซื้อ: การคำนวณอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30 ป.พ.พ. เมื่อสัญญาเลิกกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนเลิกสัญญา ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยกล่าวด้วยว่า โจทก์ได้ติดตามทวงถามค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์อันเป็นทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถยนต์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายได้ ส่วนกรณีที่สองโจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดราคาเนื่องจากโจทก์ขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้ออยู่แล้ว แต่ยังไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่ค้าง และกรณีที่สามโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน ทั้งสามกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความใช้บังคับโดยตรงจึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องอายุความตามมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับ ซึ่งกำหนดอายุความ 10 ปี
กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าซื้อก่อนเลิกสัญญานั้น เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องโจทก์กรณีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ กรณีที่สองที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้น เมื่อโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่บุคคลภายนอกวันที่ 2 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าขาดราคาจึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนกรณีที่สามโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์ติดตามได้รถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน
กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าซื้อก่อนเลิกสัญญานั้น เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องโจทก์กรณีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ กรณีที่สองที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้น เมื่อโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่บุคคลภายนอกวันที่ 2 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าขาดราคาจึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนกรณีที่สามโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์ติดตามได้รถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน