พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา: เงื่อนไขและกระบวนการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์แล้วมีคำสั่งให้ส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้แต่โจทก์ได้ยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกามาพร้อมคำแก้อุทธรณ์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการงดบังคับคดีและการสิ้นสุดสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีโดยแนบสำเนาคำฟ้องของศาลชั้นต้นตามที่จำเลยอ้างเป็นเหตุขอให้งดการบังคับคดีมาท้ายคำร้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรให้งดการบังคับคดี ก็มีอำนาจยกคำร้องโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อน อันเป็นการใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเรื่องการงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293
ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 11แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 และมีผลใช้บังคับก่อนเวลาที่จำเลยยื่นฎีกา บัญญัติให้คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 293 นี้เป็นที่สุดจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา
ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 11แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 และมีผลใช้บังคับก่อนเวลาที่จำเลยยื่นฎีกา บัญญัติให้คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 293 นี้เป็นที่สุดจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะบุตรผู้เยาว์: ข้อจำกัดการฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูของบุตรผู้เยาว์ทั้งสาม ในฐานะเป็นบุตรผู้เยาว์ของนาง ต. ผู้ตาย จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสามควรได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องแยกพิจารณาเป็นรายบุคคลไป ดังนี้ เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาสำหรับบุตรผู้เยาว์แต่ละคนของนาง ต. ไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209 ต้องพิจารณาการขาดนัดโดยจงใจหรือไม่
การพิจารณาคำขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคหนึ่ง ต้องพิจารณาเป็นลำดับขั้นตอน คือศาลต้องพิจารณาคำขอนั้นก่อนว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 และ 208 หรือไม่ แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่ และศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาคดีใหม่หรือไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาเพียงเหตุเดียวคือ มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้น มาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น
การที่คู่ความจงใจขาดนัดเป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเอง เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้ เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์จึงชอบแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาเพียงเหตุเดียวคือ มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้น มาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น
การที่คู่ความจงใจขาดนัดเป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเอง เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้ เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9336/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ต่อการสิ้นสุดของคำสั่งศาลและสิทธิในการฎีกา
ป.วิ.พ. มาตรา 307 วรรคสอง ได้บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. 2542 เป็นต้นไป ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2542 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บทบัญญัติวรรคสองแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 307 มีผลบังคับใช้ ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าวจึงถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8573/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีบังคับจดทะเบียนภาระจำยอมซ้ำกับคดีก่อน ศาลยกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ศาลในคดีก่อนพิจารณาว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ได้ระบุอ้างบันทึกข้อตกลงในโฉนดที่ดินเป็นพยาน ทั้งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร แม้ภายหลังจำเลย (โจทก์คดีนี้) จะส่งต้นฉบับต่อศาล แต่ก็เป็นเวลาหลังจากสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้ว โดยไม่มีพยานมาสืบประกอบ จึงรับฟังไม่ได้ พยานหลักฐานโจทก์ (จำเลยคดีนี้) มีน้ำหนักให้รับฟังยิ่งกว่าพยานจำเลย (โจทก์คดีนี้) ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ (จำเลยคดีนี้) ตกลงจะจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่จำเลย (โจทก์คดีนี้) ก่อนให้ชำระหนี้ค่าที่ดิน พิพากษายกฟ้องแย้ง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยเนื้อหาของประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนแล้ว เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยนำที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันไปจดทะเบียนภาระจำยอม อ้างเหตุตามบันทึกข้อตกลงเดียวกัน มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาว่ากล่าวฟ้องร้องเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 222
จำเลยลงชื่อในสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่า ถ้ามีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายฉบับดังกล่าว ให้นำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการของสมาคมสินค้าแห่งเมืองฮัมบูร์ก เมื่อข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อย การที่คู่กรณีได้นำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยโดยถูกต้องตามขั้นตอนเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมสินค้าแห่งเมืองฮัมบูร์ก และข้อความแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงฟ้องร้องบังคับกันได้ในศาลไทย และเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2528 อันเป็นเวลาก่อนที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ บทกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นไปตามความในมาตรา 222 แห่ง ป.วิ.พ. การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าบริษัท ว. เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ก็ดี โจทก์ให้สัตยาบันสัญญาซื้อขายหรือไม่ก็ดี จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ก็ดี หรืออนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดครบประเด็นหรือไม่ก็ดี ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: บทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 เป็นที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไป ไม่เหมาะสมกับสภาพทรัพย์ เท่ากับอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์มีจำนวนต่ำเกินสมควรตามบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 13 พฤษภาคม 2542 ภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ มีผลบังคับใช้แล้ว คำร้องของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับของวรรคสี่แห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งบัญญัติให้คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการรับรองฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 และผลกระทบต่อคำสั่งศาล
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยได้ยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นคือ ท.และ ส. หรือผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 ท.มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และให้ส่งสำนวนพร้อมคำร้องดังกล่าวไปให้ ส.พิจารณาคำร้องลำดับต่อไป ต่อมา ส.มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และ ส.ให้ส่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการส่งสำนวนพร้อมคำร้องขอไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำสั่งดังกล่าว แต่กลับมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา243 (2) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งฎีกาของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของจำเลยก่อน และมีคำสั่งฎีกาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานมีอำนาจกำหนดประเด็นข้อพิพาทและสืบพยานเองได้ ไม่อาจใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ. มาอนุโลม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาจะต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. เรื่องการชี้สองสถานและการคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมาอนุโลมใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวง รวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้ว ต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวง รวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้ว ต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา