คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังหย่า: สัญญาเพื่อชำระหนี้ต่อบุตรมีผลผูกพันแม้ไม่ได้จดทะเบียน
ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า กับบันทึกการหย่าซึ่งโจทก์จำเลยได้ทำขึ้นต่างหาก มีข้อความระบุว่าโจทก์จำเลยตกลงยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 7 แปลงให้แก่บุตรทั้งสอง โดยระบุหมายเลขที่ดินทุกแปลงไว้อย่างชัดแจ้งการที่จำเลยทำข้อตกลงดังกล่าวโดยโจทก์เป็นคู่สัญญาจึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่บุตรทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แม้จะไม่ได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายย่อมผูกพันจำเลยให้ปฏิบัติตาม ข้อตกลงนั้น กรณีหาใช่การให้หรือคำมั่นว่าจะให้ อสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525,526 ไม่ ภายหลังที่โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าแล้ว จำเลยผิดสัญญาไม่ยอมไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุตรทั้งสอง โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุตรทั้งสอง ตามข้อสัญญาแต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ในฐานะ คู่สัญญาและได้กระทำการแทนบุตรทั้งสองซึ่งเป็น ผู้เยาว์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์ จากข้อตกลงในสัญญานั้นแล้วจำเลยจะยกเหตุว่า บุตรทั้งสองยังไม่ได้แสดงเจตนามายังจำเลยเพื่อให้ ระงับสิทธินั้นหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ และการวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับความสงบเรียบร้อย
คดีก่อนจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องส.เป็นจำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/1 จะเข้าไปรื้อบ้านหลังดังกล่าวของจำเลยที่ 2 แต่ส.กับโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยากันขัดขวางขอให้ห้าม ส. และโจทก์ขัดขวางการรื้อบ้านโจทก์ให้การในคดีก่อนว่า จำเลยที่ 2 จะรื้อบ้านเลขที่ 81/3ของโจทก์ และฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 2 รื้อบ้านเลขที่ 81/1ของจำเลยที่ 2 ออกไปศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าหลังจากการบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว โจทก์ได้ขอออกเลขที่บ้านใหม่เป็นเลขที่ 81/3 เมื่อ จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านตามคำสั่งศาลโดยสุจริตจึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ ห้ามส.และโจทก์เกี่ยวข้องหรือขัดขวางในการที่จำเลยที่ 2จะทำการรื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันได้มีการออกทะเบียนบ้าน ใหม่เป็นเลขที่ 81/3 ฟ้องแย้งของโจทก์ให้ยกเสีย คำพิพากษา ในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 2 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งและเมื่อคำพิพากษานั้นวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกคือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ซื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 81/3 ตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ เท่ากับศาลมีคำวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของ บ้านเลขที่ 81/3 การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยยกข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า บ้านเลขที่ 81/3 เป็นของโจทก์อีก และจำเลยที่ 2 ก็ให้การว่า บ้านเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3 หรือไม่ จึงถือว่า ประเด็นข้อพิพาทนี้ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีก่อน ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในบ้านเลขที่ 81/3 จึงย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ด้วย แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์ก็ตาม เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจ ยกข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 81/3 ในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(5) มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและ คำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนตามกฎหมาย: การเชิดตัวแทนและผลผูกพันสัญญา แม้ไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นตัวแทนโดยชัดแจ้ง
แม้สัญญาจ้างเหมาเรือจะไม่ระบุว่าบริษัท ค. เป็นตัวแทนหรือกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่สินค้าคือปูนซีเมนต์ที่บรรทุกมากับเรือนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 ที่สั่งซื้อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อนำมายังประเทศไทยซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ใบตราส่งก็ระบุว่าผู้รับตราส่งหรือผู้รับสินค้าคือจำเลยที่ 1 เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะสีชัง ประเทศไทยแล้ว นายเรือก็ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ไปทำการขนสินค้าตามหนังสือบอกกล่าวความพร้อมซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่า/ผู้รับสินค้า ต่อมาโจทก์ที่ 1 ได้ทำการกักสินค้า จำเลยที่ 1 ได้ติดต่อบริษัท ค. ให้ติดต่อฝ่ายโจทก์ให้ปล่อยสินค้าโดยระบุว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้โอนเงินค่าระวางเรือจำนวน 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ มาเรียบร้อยแล้ว โดยจำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบเรื่องค่าเรือเสียเวลาจำนวน 1,550,000 บาท โดยให้ธนาคารทำสัญญาค้ำประกัน ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นจำนวน 1,550,000 บาท ด้วย เมื่อขนถ่ายสินค้าเสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเรือเสียเวลาให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ได้ทวงถามตามหนังสือทวงถามซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าเหมาเรือ จำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้เช่าเรือเลย สัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างบริษัท ค. ขนถ่ายสินค้านั้นปรากฏข้อความว่าจำเลยที่ 1 ให้บริษัท ค. จัดเตรียมเรือเดินทะเลเพื่อขนถ่ายสินค้าทำนองให้กระทำการแทนเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทน
แม้คำฟ้องโจทก์ที่ 1 จะบรรยายฟ้องว่า บริษัท ค. ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องในเรื่องกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องตัวการตัวแทนได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
(วรรคนี้วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 8191/2538)
ตามสัญญาจ้างเหมาเรือไม่มีข้อห้ามว่ากรณีที่มิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดี นอกจากนี้ ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 ว่าด้วยวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น หมวด 3 ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ และ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ก็มิได้มีข้อห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 บัญญัติว่า "ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย" แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำให้การ แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลไต่สวนก่อนตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและศาลไม่จำต้องจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4416/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นและผลผูกพันตามคำพิพากษา รวมถึงขอบเขตการบังคับใช้ข้อบังคับอาคารชุด
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายและเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทางจำเป็นจึงเป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินและสามารถใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป
ทางจำเป็นรายพิพาทเจ้าของเดิมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854มีสิทธิใช้ผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้ และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่5853 ซึ่งล้อมอยู่ได้รับเงินค่าใช้ทางจำเป็นจากเจ้าของที่ดินที่ใช้ทางจำเป็นไปแล้วโดยโจทก์ตกลงจะไม่เรียกร้องค่าใช้ทางจำเป็นจากเจ้าของที่ดินเดิมหรือจากผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านซึ่งปลูกในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 อีกตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว กรณีเช่นนี้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่5854 ย่อมได้มาซึ่งทรัพยสิทธิทางจำเป็น จึงรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่จากเจ้าของที่ดินเดิม แม้จำเลยในคดีนี้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่เมื่อจำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มาจากจำเลยในคดีเดิม จำเลยจึงมิใช่บุคคลภายนอก โจทก์และจำเลยจึงต้องผูกพันโดยคำพิพากษาในคดีก่อนด้วยกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าใช้ทางจำเป็นจากจำเลยอีก
ข้อบังคับของอาคารชุดโจทก์ระบุให้เจ้าของบ้านและบริวารหรือผู้มีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มีสิทธิใช้ทางเข้าออกซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลางร่วมกับเจ้าของรวม แต่ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษาในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลางดังกล่าวด้วย แม้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 แต่จำเลยเป็นบุคคลภายนอก มิใช่เจ้าของรวมในอาคารชุดโจทก์ ทั้งการใช้ทางจำเป็นของจำเลยก็เป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลผูกพันทางกฎหมาย
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการแสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดินให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความในบันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ.ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผลบังคับได้ ตามมาตรา 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาท: การระงับสิทธิฟ้องคดีจากการนัดหยุดงาน
บันทึกข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย เมื่อเป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมิได้ส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นพยาน และตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดเท่านั้นโดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า บริษัทดังกล่าวหมายถึงบริษัทใดบ้าง ดังนี้แม้โจทก์ทั้งสามเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน แต่กรรมการบริหารผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกัน และฝ่ายจำเลยก็แถลงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมด ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะผู้บริหารของโจทก์ทั้งสามเป็นคนเดียวกัน เช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนายุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมดที่มีอยู่ต่อกัน และฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในสำนวน จึงย่อมมิใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างการนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540 จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย รวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ระบุให้การฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาทแรงงาน การระงับสิทธิฟ้องคดีเดิม
บันทึกข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยเมื่อเป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมิได้ส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นพยาน และตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดเท่านั้นโดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า บริษัทดังกล่าวหมายถึงบริษัทใดบ้าง ดังนี้แม้โจทก์ทั้งสามจะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน แต่กรรมการบริหารผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกัน และฝ่ายจำเลยก็แถลงต่อศาลแรงงานว่าในการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมด ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะกับโจทก์ที่ 2และที่ 3 เพราะผู้บริหารของโจทก์ทั้งสามเป็นคนเดียวกันเช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนายุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมดที่มีอยู่ต่อกัน และฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในสำนวนแล้ว มิใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่าง การนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย ซึ่งรวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย และแม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ ระบุให้รวมการฟ้องคดีนี้ซึ่งได้ฟ้องก่อนทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับไปก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2440 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ระบุว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1และที่ 3 ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมและการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ โจทก์อ้างผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดาโจทก์ซึ่งตกทอดได้แก่โจทก์ และโจทก์ได้มอบให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ เพราะโจทก์กู้เงินจำเลยไป600 บาท เป็นคำฟ้องเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของโจทก์ ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อปรากฏว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว โดยพิพากษาว่า ไม่มีการกู้ยืมเงินกันระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว ย่อมไม่มีการคิดดอกเบี้ยโดยมอบที่ดินพิพาทให้ทำกินต่างดอกเบี้ยได้ จึงเป็นคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ.ดังกล่าวข้างต้น การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีขัดทรัพย์: ห้ามฟ้องขอส่วนแบ่งทรัพย์ซ้ำหลังศาลยกคำร้อง
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามกฎหมาย การที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินและอาคารดังกล่าวเป็นของผู้ร้องแต่ศาลได้พิพากษายกคำร้องขัดทรัพย์ คดีถึงที่สุดไปแล้วเช่นนี้จึงมีผลว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและอาคารพิพาทเป็นของผู้ร้อง คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145ผู้ร้องจะมาร้องขอกันส่วนในคดีนี้อีกโดยอ้างว่ามี กรรมสิทธิ์รวมในอาคารพิพาทหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ผลผูกพันคำพิพากษา: สัญญาซื้อขายยังไม่เลิก ผลของคำพิพากษาผูกพันคู่ความ โจทก์มีสิทธิบังคับตามสัญญา
จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยซึ่งอยู่ทาง ด้านทิศใต้ให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาและบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายและค่ามัดจำคืนจากจำเลยศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกโดยอ้างสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดียวกันกันที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนก็ตาม แต่โจทก์ก็อ้างเหตุที่ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทในคดีนี้ว่า หลังจากคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว น.ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้บังคับจำเลยยื่นเรื่องราวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการรังวัดและจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวจำนวนครึ่งแปลงให้เป็นกรรมสิทธิ์ของน. และ พ. ซึ่งต่อมาปรากฏว่าจำเลยกับ น. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล ตกลงจะทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันให้ที่ดินครึ่งแปลงทางด้านทิศเหนือเป็นส่วนของน. และ พ. และให้ที่ดินทางด้านทิศใต้เป็นส่วนของจำเลยเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินตามคำสั่งศาลผลการรังวัดสามารถคำนวณเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงได้แล้วทำให้โจทก์กับจำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินซึ่งจำเลยตกลงขายให้แก่โจทก์แน่นอนและสามารถคำนวณเงินราคาที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอน โจทก์จึงบอกกล่าวถึงจำเลยอีกครั้งหนึ่ง และขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนที่โจทก์อ้างเหตุ ในการขอเลิกสัญญาแก่จำเลยว่าจำเลยไม่ทำการรังวัดแบ่งแยก กรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้ทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนโจทก์ จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย ดังนั้น เมื่อประเด็นของคดีเดิมและคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เลิกกัน และการ ที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยทุกส่วน มิใช่ผูกพันเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อคำพิพากษาผูกพันโจทก์จำเลยและต้องถือว่า สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติ ตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าจำเลย เป็นฝ่ายผิดสัญญา
of 81