พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซิเมนต์ผงขายให้บริษัทในเครือเพื่อผลิตต่อ ไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป เสียภาษีตามอัตราวัสดุ
ซิเมนต์ผงที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทในเครือของตนเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่นขาย มิใช่สินค้าสำเร็จรูป จึงเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภท 1 การขายของชนิด 9(ก)อัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตลวดเหล็กและลวดหนาม: การตีความคำว่า 'ผลิต' ตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญญัติความหมายของคำว่า "ผลิต" ไว้ว่า หมายถึง "ทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ " และ "ผู้ผลิต" หมายถึง "ผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต" โจทก์ทำสินค้าโดยซื้อลวดเหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีคนเอาไปใช้อย่างอื่นนอกจากแปรรูปให้เป็นขนาดเล็กนำมาผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ 4 ขั้นตอน คือ ล้างและรีดเป็นเส้นลวดให้มีขนาดเล็กลง แล้วนำไปอบความร้อนให้มีสภาพอ่อนตัวลง และชุบสังกะสีทำเป็นลวดสังกะสีและตะปู หรือเข้าเครื่องฟั่นเครื่องตัดทำเป็นลวดหนามออกจำหน่าย ดังนี้ การทำสินค้าลวดเหล็กของโจทก์ตั้งแต่กรรมวิธีที่ 1 ถึงกรรมวิธีที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการแปรสภาพสินค้าจากลวดเหล็กขนาดใหญ่เป็นลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปู จึงเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 และเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าที่โจทก์ทำการผลิต โจทก์จึงเป็นผู้ผลิตตามมาตรา 77 ด้วย
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 มาตรา 4 (1) (3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้าง แม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตาม หรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไปแล้วก็ตาม ก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งของแต่ละคนและแต่ละกรณีไป เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 มาตรา 4 (1) (3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้าง แม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตาม หรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไปแล้วก็ตาม ก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งของแต่ละคนและแต่ละกรณีไป เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตลวดเหล็กและลวดหนาม: การตีความคำว่า 'ผลิต' ตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญญัติความหมายของคำว่า 'ผลิต' ไว้ว่า หมายถึง 'ทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบแปรรูป แปรสภาพสินค้าหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใดและ 'ผู้ผลิต' หมายถึง 'ผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต' โจทก์ทำสินค้าโดยซื้อลวดเหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีคนเอาไปใช้อย่างอื่นนอกจากแปรรูปให้เป็นขนาดเล็กนำมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ 4 ขั้นตอน คือล้างและรีดเป็นเส้นลวดให้มีขนาดเล็กลงแล้วนำไปอบความร้อนให้มีสภาพอ่อนตัวลงและชุบสังกะสีทำเป็นลวดสังกะสีและตะปู หรือเข้าเครื่องฟั่นเครื่องตัดทำเป็นลวดหนามออกจำหน่าย ดังนี้ การทำสินค้าลวดเหล็กของโจทก์ตั้งแต่กรรมวิธีที่ 1 ถึงกรรมวิธีที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการแปรสภาพสินค้าจากลวดเหล็กขนาดใหญ่เป็นลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูจึงเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 และเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าที่โจทก์ทำการผลิต โจทก์จึงเป็นผู้ผลิตตามมาตรา 77 ด้วย
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด1(ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2509 มาตรา 4(1)(3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้างแม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตามหรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไปแล้วก็ตามก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละคนและแต่ละกรณีไปเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด1(ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2509 มาตรา 4(1)(3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้างแม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตามหรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไปแล้วก็ตามก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละคนและแต่ละกรณีไปเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าและแบ่งขายปุ๋ยยาปราบศัตรูพืช ไม่ถือเป็นการผลิตสินค้าตามประมวลรัษฎากร
โจทก์สั่งสินค้าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชในสภาพที่บรรจุอยู่ในถังใหญ่จากต่างประเทศมาจำหน่าย โดยมาแบ่งบรรจุภาชนะย่อยขายและใช้สลากรูปรอยตราชื่อปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชชื่อเดิมแต่เติมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้แล้วลงไปในสลากนั้นด้วย และระบุด้วยว่า โจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ดังนี้ สินค้าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชได้แปรสภาพมาจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีผู้จัดทำหรือผลิตขึ้นแล้วนำออกขายเป็นสินค้า โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้านี้จากผู้ผลิตในต่างประเทศ การที่โจทก์นำมาแบ่งขายในสภาพเช่นของเดิม โดยมิได้เจือปนวัตถุอื่นเพิ่มเติมลงไปอีกเพื่อขายเป็นสินค้าชนิดใหม่ และได้ขายสินค้านี้ในรูปรอยตราเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ เห็นได้ว่าเพื่อให้สะดวกแก่ผู้ซื้อที่จะซื้อเพียงเท่าที่ต้องการ และเพื่อสะดวกในการนำสินค้าติดตัวไป การระบุในสลากปิดภาชนะสินค้าที่แบ่งขายย่อยว่าโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เป็นการยืนยันว่าโจทก์ไม่ได้ผลิตสินค้าขึ้นใหม่ การที่โจทก์ตีตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพิ่มเติมลงไปในสลากสินค้าในรูปรอยเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าขึ้นใหม่ ไม่เป็นการ "ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ " ตามบทนิยามคำว่า "ผลิต" ในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 การแบ่งขายสินค้าซึ่งโจทก์ดำเนินการดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุสินค้าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชนำเข้า ไม่ถือเป็นการผลิตตามประมวลรัษฎากร
โจทก์สั่งสินค้าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชในสภาพที่บรรจุอยู่ในถังใหญ่จากต่างประเทศมาจำหน่าย โดยมาแบ่งบรรจุภาชนะย่อยขายและใช้สลากรูปรอยตราชื่อปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชชื่อเดิม แต่เติมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้แล้วลงไปในสลากนั้นด้วย และระบุด้วยว่าโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ดังนี้ สินค้าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชได้แปรสภาพมาจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีผู้จัดทำหรือผลิตขึ้นแล้วนำออกขายเป็นสินค้า โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้านี้จากผู้ผลิตในต่างประเทศ การที่โจทก์นำมาแบ่งขายในสภาพเช่นของเดิม โดยมิได้เจือปนวัตถุอื่นเพิ่มเติมลงไปอีกเพื่อขายเป็นสินค้าชนิดใหม่ และได้ขายสินค้านี้ในรูปรอยตราเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ เห็นได้ว่าเพื่อให้สะดวกแก่ผู้ซื้อที่จะซื้อเพียงเท่าที่ต้องการและเพื่อสะดวกในการนำสินค้าติดตัวไป การระบุในสลากปิดภาชนะสินค้าที่แบ่งขายย่อยว่าโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เป็นการยืนยันว่าโจทก์ไม่ได้ผลิตสินค้าขึ้นใหม่ การที่โจทก์ตีตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพิ่มเติมลงไปในสลากสินค้าในรูปรอยเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าขึ้นใหม่ ไม่เป็นการ"ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ" ตามบทนิยามคำว่า "ผลิต" ในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 การแบ่งขายสินค้าซึ่งโจทก์ดำเนินการดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากสินค้าที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตของตนเอง ไม่ถือเป็นผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต้องเป็น 'ผู้ประกอบการค้า'ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77. ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบการค้า2 ประเภท. คือ ผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้กำหนดประเภทการค้าและรายการที่ประกอบการค้าไว้ประเภทหนึ่ง. ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีนั้น ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง. กับผู้ที่บทบัญญัติในหมวด 4 ที่ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยอีกประเภทหนึ่ง. ประเภทหลังนี้คือผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (1)และ (2).
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง.อธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด. ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ). มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ.แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว.
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น. โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี. และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า.ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2)ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้. เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว.
คำว่า'ผลิตเพื่อขาย'ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า 'โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย' ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิ วรรคแรก. กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี.การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี. กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า 'มิใช่นำมาขาย' ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว. ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า 'ผลิตเพื่อขาย' ลงไปอีก. และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย. ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512).
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง.อธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด. ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ). มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ.แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว.
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น. โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี. และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า.ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2)ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้. เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว.
คำว่า'ผลิตเพื่อขาย'ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า 'โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย' ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิ วรรคแรก. กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี.การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี. กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า 'มิใช่นำมาขาย' ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว. ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า 'ผลิตเพื่อขาย' ลงไปอีก. และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย. ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายอ้อยเพื่อทำน้ำตาล: พิจารณาจากการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม
จำเลยซื้ออ้อยโจทก์มาทำเป็นน้ำตาลเสียก่อนแล้วจึงจำหน่ายเป็นสินค้าน้ำตาล ไม่ใช่สินค้าอ้อย อย่างนี้ถือได้ว่าเป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยไม่ชำระราคา สิทธิเรียกร้องย่อมมีกำหนดอายุความ 5 ปี. (อ้างฎีกาที่ 395/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายอ้อยเพื่อทำน้ำตาล: พิจารณาจากการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม
จำเลยซื้ออ้อยโจทก์มาทำเป็นน้ำตาลเสียก่อนแล้วจึงจำหน่ายเป็นสินค้าน้ำตาล ไม่ใช่สินค้าอ้อยอย่างนี้ถือได้ว่าเป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยแล้วเมื่อจำเลยไม่ชำระราคา สิทธิเรียกร้องย่อมมีกำหนดอายุความ5 ปี (อ้างฎีกาที่ 395/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้า: แม้ไม่ได้ผลิตเองก็คุ้มครองได้
เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไว้ก็ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายที่จดสำหรับสินค้าชนิดนั้นหากจำเลยสั่งสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายอย่างเดียวกันเข้ามาจำหน่ายย่อมถือว่าละเมิดสิทธิของโจทก์
ผู้ที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้นั้นหาจำต้องเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จะขอจดนั้นด้วยตนเองไม่
ผู้ที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้นั้นหาจำต้องเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จะขอจดนั้นด้วยตนเองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตเงินปลอมจากโลหะเลวร้ายกว่าเงินจริงเข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย
มีเครื่องมือทำสตางค์ห้าปลอมผิดตามมาตรา 205 ประกอบด้วยมาตรา 208 เพราะโลหะที่ใช้ทำสตางค์ปลอมเป็นโลหะที่เลวกว่าเงิน
จำเลยมิได้ยกเรื่องสอบสวนขึ้นคัดค้านในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นคัดค้านในชั้นศาลฎีกาไม่ได้
จำเลยมิได้ยกเรื่องสอบสวนขึ้นคัดค้านในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นคัดค้านในชั้นศาลฎีกาไม่ได้