พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41-42/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็ค แม้จะอ้างว่าสินค้าไม่ได้มาตรฐาน
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้ง10ฉบับเพื่อชำระหนี้เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ทรงพร้อมดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900วรรคหนึ่ง,904,914ประกอบมาตรา989,มาตรา224วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายก่อนคู่สัญญาสิ้นชีพ: สิทธิยังคงผูกพันทายาท/ผู้จัดการมรดก หากจำเลยผิดนัด
จำเลยให้การว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของพ.ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างพ. กับจำเลยระบุวันที่คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเมื่อถึงกำหนดนัดพ. ไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดนัดคำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดดังนั้นที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่จึงเป็นการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ผิดจากข้อเท็จจริงในสำนวน ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาต่อกันหรือไม่แม้ประเด็นดังกล่าวจะตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การก็ตามแต่จำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่ดังนี้ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่างพ.กับจำเลยต่อมาพ. ตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ดังนั้นสิทธิในการโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาย่อมเป็นกองมรดกของพ. ผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกการที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้พ. ทราบหลังจากที่พ. ถึงแก่ความตายแล้วจึงไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาที่จำเลยได้ยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ซึ่งเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้และเบี้ยปรับ: สิทธิของเจ้าหนี้ในการคิดดอกเบี้ยเมื่อลูกหนี้ผิดนัด
ที่หนังสือรับสภาพหนี้และขอผ่อนชำระหนี้มีข้อความระบุว่าถ้าจำเลยที่ 1 สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนดโจทก์จะไม่คิดดอกเบี้ยในหนี้ที่ค้างชำระนั้น แสดงว่าหากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดไว้โจทก์ย่อมไม่เสียหาย โจทก์จึงไม่คิดดอกเบี้ย แต่ที่ระบุไว้ว่าถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามจำนวนและในเวลาที่กำหนดไม่ว่าในงวดใดให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดทุกงวด โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่ค้างพร้อมดอกเบี้ย ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแสดงว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขและโจทก์เสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่ค้างชำระได้ ดอกเบี้ยที่กำหนดตามหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนเงินและในเวลาที่กำหนดไว้ จึงถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์คิดดอกเบี้ยซึ่งเป็นเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระ เบี้ยปรับจึงไม่สูงเกินส่วน
จำเลยไม่ได้ยกปัญหาอายุความดอกเบี้ยค้างส่งขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ และปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนเงินและในเวลาที่กำหนดไว้ จึงถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์คิดดอกเบี้ยซึ่งเป็นเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระ เบี้ยปรับจึงไม่สูงเกินส่วน
จำเลยไม่ได้ยกปัญหาอายุความดอกเบี้ยค้างส่งขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ และปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และผ่อนชำระ: เบี้ยปรับเมื่อผิดนัดชำระหนี้, ศาลยืนตามสัญญา
ที่หนังสือรับสภาพหนี้และขอผ่อนชำระหนี้มีข้อความระบุว่าถ้าจำเลยที่1สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนดโจทก์จะไม่คิดดอกเบี้ยในหนี้ที่ค้างชำระนั้นแสดงว่าหากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดไว้โจทก์ย่อมไม่เสียหายโจทก์จึงไม่คิดดอกเบี้ยแต่ที่ระบุไว้ว่าถ้าจำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามจำนวนและในเวลาที่กำหนดไม่ว่าในงวดใดให้ถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดทุกงวดโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่1ชำระหนี้ที่ค้างพร้อมดอกเบี้ยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแสดงว่าในกรณีที่จำเลยที่1ประพฤติผิดเงื่อนไขและโจทก์เสียหายโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ในหนี้ที่ค้างชำระได้ดอกเบี้ยที่กำหนดตามหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยที่1ผิดนัดไม่ผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนเงินและในเวลาที่กำหนดไว้จึงถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ได้โจทก์คิดดอกเบี้ยซึ่งเป็นเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีของต้นเงินที่จำเลยที่1ยังค้างชำระเบี้ยปรับจึงไม่สูงเกินส่วน จำเลยไม่ได้ยกปัญหาอายุความดอกเบี้ยค้างส่งขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายผิดนัดและสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเครื่องสูบน้ำสปริงเกอร์พร้อมท่อและอุปกรณ์ประกอบด้วยเครื่องยนต์กำลัง จำนวน 13 ชุด จากจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว เมื่อตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคแรก ระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีผู้ซื้อไม่ใช่สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนส่วนวรรคสองระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่สัญญากำหนดไว้ให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 ทั้งยังใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคาร สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคสอง หรือข้อ 9 วรรคสอง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ของได้ทันกำหนดเวลาจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นรายวัน ก็เป็นเพียงการบรรยายความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หาใช่ว่าโจทก์ต้องการเพียงให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เฉพาะเรื่องค่าปรับเป็นรายวันแต่เพียงอย่างเดียวไม่ ส่วนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรมอาชีวศึกษาโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน96,525 บาท กล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินให้แทนทันที แสดงว่า จำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้โจทก์ทันทีเมื่อโจทก์เรียกร้อง โดยโจทก์ไม่จำต้องพิสูจน์ความเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน96,525 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองหรือตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้สัญญาซื้อขาย และสิทธิเลิกสัญญา
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยที่ 1 พร้อมชำระหนี้และรับชำระหนี้ แต่โจทก์มิได้ชำระหนี้และรับชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง แม้สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อสัญญาให้จำเลยบอกเลิกสัญญาได้ แต่จำเลยก็ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้ถึงสองครั้งโดยให้โจทก์เป็นผู้กำหนดวันนัดภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วครั้งแรกโจทก์อ้างเหตุขัดข้องเรื่องเนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินและหมุดหลักเขตไม่แน่นอน ครั้งหลังโจทก์รับทราบและพ้นเวลาที่จำเลยกำหนดแล้วโจทก์ยังเพิกเฉยกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมหลุดพ้นจากข้อผูกพันที่ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้ และสิทธิในการเลิกสัญญาโดยข้อสัญญายังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่ เมื่อจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์โดยชอบแล้ว จำเลยย่อมสิ้นความผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและมีสิทธิไม่คืนเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมด ดังนั้น การที่จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้องย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อโจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรับชำระหนี้หรือชำระหนี้ตอบแทนฝ่ายจำเลยทั้งสามได้ ย่อมถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญาซื้อขายเมื่อผู้ขายผิดนัด รวมถึงการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินควร
ตามสัญญาซื้อขายข้อ8และข้อ9มีความเกี่ยวพันกันโดยลำดับเกี่ยวกับการบังคับเอาแก่จำเลยผู้ขายกรณีผิดสัญญากล่าวคือเมื่อถึงกำหนดส่งมอบแล้วจำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบโจทก์ขอใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีตามสัญญาข้อ8และริบหลักประกันตามสัญญาข้อ7เป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้และหากโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาหากโจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับในอัตราร้อยละ0.2ของราคาของที่ยังไม่ได้รับมอบตามสัญญาข้อ9วรรคแรกและในกรณีใช้สิทธิเรียกค่าปรับถ้าโจทก์เห็นว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาริบหลักประกันและเรียกให้ชดใช้ราคาของที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับได้ตามสัญญาข้อ9วรรคสองไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าในกรณีที่ได้มีการปฏิบัติตามสัญญาไปบ้างแล้วเท่านั้นจึงจะปรับเข้ากับสัญญาข้อ9ได้ดังนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบและสงวนสิทธิ์ในอันที่จะดำเนินการตามเงื่อนไขที่อ้างถึงในสัญญาข้อ8ข้อ9และข้อ10ไว้ต่อมาได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาและแจ้งไปด้วยว่าโจทก์ต้องทำการปรับจำเลยด้วยแต่จำเลยเพิกเฉยในระหว่างที่มีการปรับโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาถือว่าโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ9หาใช่สิทธิตามสัญญาข้อ8ไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับในอัตราร้อยละ0.2ของราคาที่ยังไม่รับมอบตามสัญญาจากจำเลยได้ ราคาสิ่งของตามสัญญาซื้อขายมีเพียง92,720บาทโจทก์เรียกค่าปรับมาเป็นเงิน90,123.84บาทนับว่าสูงเกินเงินค่าปรับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจลดลดเป็นจำนวนสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10166/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม แม้ไม่แสดงบัตรก็ไม่เสียสิทธิ หากมีสิทธิครบถ้วน และดอกเบี้ยคิดจากวันฟ้อง
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วยการออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ไม่มีมาตราใดหรือข้อใดในพระราชบัญญัติหรือระเบียบดังกล่าวกำหนดว่าหากไม่แสดงบัตรรับรองสิทธิหรือไม่ไปขอออกใบแทนบัตรรับรองสิทธิกรณีบัตรสูญหายแล้วผู้ประกันตนจะเสียสิทธิอย่างไร เมื่อโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินสมทบครบเงื่อนเวลามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือป่วยเจ็บอันมิใช่เนื่องจากการทำงานและได้รับบัตรรับรองสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงิน เพียงแต่โจทก์มิได้แสดงบัตรรับรองสิทธิเมื่อเข้ารับราชการรักษาเพราะบัตรสูญหายแต่โจทก์ได้แจ้งความและไม่ได้ไปขอออกใบแทน เท่านั้น โจทก์หาสิ้นสิทธิที่จะได้รับเงินไม่ ไม่ปรากฎว่า โอกาสร้องขอรับเงินประโยชน์ทดแทนเมื่อใดศาลชอบที่จะกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันฟ้อง เพราะการที่โจทก์ฟ้องคดีถือว่าเป็นการทวงถามอยู่ในตัว เมื่อจำเลยไม่ชำระถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาสื่อสารโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำ
สัญญาซื้อขายมิได้ระบุแจ้งชัดว่า หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันที ทั้งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาก็เห็นได้ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนด การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาท โดยกำหนดโอนที่ดินภายในเดือนมกราคม 2533 แต่เมื่อครบกำหนดตามสัญญา ไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้บอกกล่าวหรือเตรียมการใด ๆ ที่จะทำการโอนที่ดินตามสัญญา ทั้งได้เจรจาตกลงราคาที่พิพาทกันใหม่ แต่ไม่เป็นที่ตกลงกัน ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายแล้ว การที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญา หรือโจทก์มีหนังสือให้ไปโอนที่พิพาทในภายหลัง หามีผลว่าเป็นการยึดถือตามสัญญาเดิม อันจะทำให้สัญญาเดิมมีผลผูกพันแต่ประการใดไม่
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญา แต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยาย โจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยจำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หาได้ขัดต่อสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ไม่
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญา แต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยาย โจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยจำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หาได้ขัดต่อสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9255/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการผิดนัด
การที่สัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ผ่อนชำระเงินเดือนละ 100,000 บาท โดยวิธีนำมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไปภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดเป็นการกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อมิได้วางเงินตามกำหนดถือว่าผิดนัด