คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างครอบคลุมถึงเงินทดรองค่าวัสดุ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยลอกคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาทั้งหมดชนิดคำต่อคำ และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ถูกศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเสียแล้ว โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยเป็นประเด็นแต่ละเรื่องแต่ละราวไว้ชัดแจ้งแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินทดรองจ่ายจากโจทก์แล้วเป็นเงิน 35,894,081.80 บาท และจำเลยส่งมอบวัสดุก่อสร้างให้แก่โจทก์แล้วเป็นเงิน 10,786,461 บาท ซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และนำสืบว่าจำเลยได้ส่งมอบวัสดุก่อสร้างมากกว่าจำนวนดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้องว่า ได้รับวัสดุเมื่อใด จำนวนเท่าใดมีการส่งมอบเมื่อใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 มีความประสงค์จะรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สาระสำคัญของหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงอยู่ที่ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 รับเงินล่วงหน้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินทดรองค่าวัสดุก่อสร้างบ้านและก่อสร้างงานสาธารณูปโภคแก่จำเลยที่ 1 รวมเป็นเงิน35,894,081.80 บาท และการรับเงินล่วงหน้าดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้าซึ่งหมายความถึงเงินทดรองที่จำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสาร อันจักต้องห้ามมิให้โจทก์นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องมีสิทธิเลิกสัญญาตามกฎหมายหรือข้อตกลง ไม่สามารถบอกเลิกได้ตามอำเภอใจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้นจะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลิกสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มีสิทธิเลิกสัญญาโดยเหตุใดการที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2และมิได้โต้แย้งคัดค้านหามีผลเป็นการเลิกสัญญาดังกล่าวไม่เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องโต้แย้งหรือคัดค้านการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: ผลของการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาลฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลาในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้โดยตรง ผู้ค้ำประกัน และผลกระทบเมื่อมีการชำระหนี้เต็มจำนวน
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาดแล้ว บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ ซึ่งรวมทั้งลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ในภายหน้า ต่างต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลากำหนดและกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 91 และมาตรา 101 แต่สิทธิที่บรรดาเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำการสอบสวนเสียก่อนตามมาตรา 105
เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้รายที่ 1 ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปแต่บางส่วนบ้างแล้ว การที่เจ้าหนี้รายที่ 1 จะใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอากับกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในฐานะเจ้าหนี้โดยตรงจึงไม่อาจกระทำได้ ตามกรณีของเจ้าหนี้รายที่ 1 นี้จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้รายที่ 1 ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมกับลูกหนี้รับผิดต่อเจ้าหนี้รายที่ 5ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้เท่านั้น ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง แม้เจ้าหนี้รายที่ 1 ถูกเจ้าหนี้รายที่ 5 ฟ้องคดีต่อศาลขอให้ชำระหนี้แล้วและคดียังไม่ยุติ ผลของคดีแพ่งที่ยังไม่ยุตินั้นก็ไม่มีผลแต่ประการใดถึงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1หรือเจ้าหนี้รายที่ 5 ในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเพราะในที่สุดกฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องมายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งสิ้น
เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ต่อไป ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4633/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย: การยื่นคำขอรับชำระหนี้และการหมดสิทธิเรียกร้อง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ ซึ่งรวมทั้งลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าเอากับลูกหนี้ ต่างต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลากำหนดและกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 และมาตรา 101 แต่สิทธิที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็ต้องทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้เสียก่อนตามมาตรา 105
เจ้าหนี้รายที่ 2 ยังไม่เคยชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 5เจ้าหนี้รายที่ 2 จะใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้ของลูกหนี้โดยตรงจึงไม่อาจกระทำได้ กรณีของเจ้าหนี้รายที่ 2 นี้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ว่าเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ฟ้องเจ้าหนี้รายที่ 2 กับพวกให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันต่อศาลแล้วก็ตาม ผลของคดีแพ่งก็จะไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของบรรดาเจ้าหนี้ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่ประการใด ในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เพราะในที่สุดกฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามจำนวนเต็มที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันลูกหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ต่อไป ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 101 ตอนท้ายของวรรรคหนึ่ง และวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4633/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของผู้ค้ำประกันเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ซึ่งรวมทั้งลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าเอากับลูกหนี้ ต่างต้องยื่นคำขอ รับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลากำหนดและกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 และมาตรา 101 แต่สิทธิที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็ต้อง ทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้เสียก่อนตามมาตรา 105 เจ้าหนี้รายที่ 2 ยังไม่เคยชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 5เจ้าหนี้รายที่ 2 จะใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้ของลูกหนี้โดยตรงจึงไม่อาจกระทำได้ กรณีของเจ้าหนี้รายที่ 2 นี้ จึงเป็นกรณี ที่เจ้าหนี้ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้ รายที่ 5 ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ว่าเจ้าหนี้รายที่ 5ได้ฟ้องเจ้าหนี้รายที่ 2 กับพวกให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันต่อศาลแล้วก็ตาม ผลของคดีแพ่งก็จะไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของบรรดาเจ้าหนี้ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ แต่ประการใด ในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เพราะในที่สุดกฎหมายบังคับ ให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามจำนวนเต็มที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันลูกหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ต่อไป ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 101 ตอนท้ายของวรรคหนึ่ง และวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภรรยาให้ความยินยอมสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันร่วม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 3 ในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ดังกล่าวไว้ต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ในการทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 2 ก่อขึ้นในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว กรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำไปจึงเป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วมในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการค้ำประกันทำให้เกิดหนี้ร่วม: ภรรยาต้องรับผิดชอบหนี้จากการค้ำประกันของสามี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 3 ในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไว้ต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ในการทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 2 ก่อขึ้นในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4)หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำไปจึงเป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วมในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งอายัดหลักประกันหลังศาลพิพากษาคดี และผลผูกพันถึงผู้ค้ำประกันที่ไม่ได้อุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 265 และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 นั้นเป็นคำสั่งที่กำหนดใช้วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผลบังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงเป็นอันยกเลิก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 260 (1) ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาลต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลอนุญาตให้ใช้หลักประกันชั่วคราวของผู้ค้ำประกัน ย่อมสิ้นผลเมื่อศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดและโจทก์ไม่ขอต่ออายุ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 265และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 เป็นคำสั่งที่กำหนดใช้ วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผล บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงเป็นอันยกเลิก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1)ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาล ต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็น หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผล ถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247
of 58