คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ชำระบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม และอำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชีเกี่ยวกับหนี้ภาษีของห้าง
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม ห้างน.ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1055(5),1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1259(1)
เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้เป็นผู้จัดการมรดกของช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้างน.สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช.ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น.ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่มดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น.เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช.ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น.ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ชำระบัญชีต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราา 1250,1253,1254,1255 บัญญัติถึงหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ และตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ. 2499 บัญญัติถึงความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการชำระบัญชีเป็นความผิดของผู้ชำระบัญชีมีบทลงโทษตามมาตรา 32,33 และ 35 โจทก์เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลซึ่งศาลได้พิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และตั้งให้จำเลยเป็นผู้ชำระบัญชีโจทก์มีผลประโยชน์ได้เสียในห้างหุ้นส่วนอยู่ ซึ่งผลประโยชน์ของโจทก์จะได้ผลประการใดนั้นอยู่ที่ผู้ชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ให้กระทำ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีไม่กระทำการตามที่กฎหมายบังคับไว้ดังกล่าแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องผู้ชำระบัญชีในทางอาญาเกี่ยวแก่ความผิดต่อพระราชบัญญัตินั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อผู้ชำระบัญชี กรณีละเลยหน้าที่ตามกฎหมายห้างหุ้นส่วน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250,1253,1254 และ 1255 บัญญัติถึงหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ และตามพระราชบัญญัติ กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ. 2499 บัญญัติถึงความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการชำระบัญชีเป็นความผิดของผู้ชำระบัญชีมีบทลงโทษตามมาตรา 32,33 และ 35 โจทก์เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลซึ่งศาลได้พิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และตั้งให้จำเลยเป็นผู้ชำระบัญชี โจทก์มีผลประโยชน์ได้เสียในห้างหุ้นส่วนอยู่ซึ่งผลประโยชน์ของโจทก์จะได้ผลประการใดนั้นอยู่ที่ผู้ชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ให้กระทำ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีไม่กระทำการตามที่ กฎหมายบังคับไว้ดังกล่าวแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องผู้ชำระบัญชีในทางอาญาเกี่ยวแก่ความผิดต่อพระราชบัญญัตินั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2901/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต เมื่อทายาทเพิกเฉยถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์กับ ต. เป็นหุ้นส่วน ตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ต. เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อ ต. ตายห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5) ประกอบด้วยมาตรา 1080 และจะต้องตั้งผู้ชำระบัญชี ในการนี้จำเลยซึ่งเป็นทายาทและผู้รับมรดกของ ต.จะต้องเข้ามาแทนที่ต. เพื่อการชำระบัญชี ปรากฏว่าทรัพย์สินตลอดจนบัญชีและเอกสารต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือจำเลย และโจทก์ขอร้องให้จำเลยมาร่วมกันชำระบัญชี และแบ่งคืนเงินทุนแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยเสีย ดังนี้ ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ (อ้างฎีกาที่ 191/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์และการรับผิดในหนี้สินของผู้ชำระบัญชี: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 จากข้อความในฟ้องอุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์ว่า "ในประเด็นข้อที่ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่โจทก์ฟ้องเป็นส่วนตัวหรือไม่ …. เมื่อข้อเท็จจริงตามหลักฐานพยานและข้อกฎหมายดังโจทก์ได้กราบเรียนมาแล้วฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีรับสภาพหนี้ต่อโรงงานกระดาษไทยในจำนวนหนี้ของโรงพิมพ์อำพลพิทยาต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์อีก" แปลไม่ได้ว่าหมายความว่าถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ดังที่โจทก์ฎีกา แต่ข้อความนั้นกลับทำให้เข้าใจในทางตรงข้ามว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อกระดาษจากโจทก์เพื่อพิมพ์เป็นแบบพิมพ์ส่งหน่วยราชการ แม้จำเลยจะเรียกค่าตอบแทนค่าว่าจ้าง การกระทำของจำเลยก็เป็นการทำให้แบบพิมพ์เหล่านั้นเป็นสินค้าอันเป็นการประกอบอุตสาหกรรม คดีจึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์และการรับผิดของผู้ชำระบัญชี: การตีความข้อความในฟ้องอุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์ว่า 'ในประเด็นข้อที่ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่โจทก์ฟ้องเป็นส่วนตัวโจทก์หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามหลักฐานพยานและข้อกฎหมายดังโจทก์ได้กราบเรียนมาแล้วฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีรับสภาพหนี้ต่อโรงงานกระดาษไทยในจำนวนหนี้ของโรงพิมพ์อำพลพิทยาต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์อีก'แปลไม่ได้ว่าหมายความว่าถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดจำเลยที่2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ดังที่โจทก์ฎีกาแต่ข้อความนั้นกลับทำให้เข้าใจในทางตรงข้ามว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวคดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อกระดาษจากโจทก์เพื่อพิมพ์เป็นแบบพิมพ์ส่งหน่วยราชการ แม้จำเลยจะเรียกค่าตอบแทนว่าค่าจ้าง การกระทำของจำเลยก็เป็นการทำให้แบบพิมพ์เหล่านั้นเป็นสินค้าอันเป็นการประกอบอุตสาหกรรมคดีจึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้สินของผู้ชำระบัญชีและการตีความข้อความในฟ้องอุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์ว่า 'ในประเด็นข้อที่ว่าจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่โจทก์ฟ้องเป็นส่วนตัวโจทก์หรือไม่ ..... เมื่อข้อเท็จจริงตามหลักฐานพยานและข้อกฎหมายดังโจทก์ได้กราบเรียนมาแล้วฟังได้ว่า. จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามที่จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ชำระบัญชีรับสภาพหนี้ต่อโรงงานกระดาษไทยในจำนวนหนี้ของโรงพิมพ์อำพลพิทยาต่อโจทก์แล้ว. จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์อีก'. แปลไม่ได้ว่าหมายความว่าถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด.จำเลยที่2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ดังที่โจทก์ฎีกา. แต่ข้อความนั้นกลับทำให้เข้าใจในทางตรงข้ามว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว. คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น.
จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อกระดาษจากโจทก์เพื่อพิมพ์เป็นแบบพิมพ์ส่งหน่วยราชการ. แม้จำเลยจะเรียกค่าตอบแทนว่าค่าจ้าง การกระทำของจำเลยก็เป็นการทำให้แบบพิมพ์เหล่านั้นเป็นสินค้าอันเป็นการประกอบอุตสาหกรรม. คดีจึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งทนายโดยใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง และอำนาจของผู้ชำระบัญชีในการดำเนินคดี
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวและฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการบริษัทนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะลงชื่อในใบแต่งทนาย 2 แห่งโดยมิได้ระบุว่าลงชื่อในฐานะอะไรก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในฐานะที่เป็นจำเลยเองแห่งหนึ่ง กับลงชื่อในนามบริษัทซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 อีกแห่งหนึ่งแล้ว
การใช้ดวงตราซึ่งมิใช่ดวงตราที่บริษัทจดทะเบียนไว้ไปประทับในใบแต่งทนายนั้น ถือว่าใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง แม้จะนำดวงตรานี้ไปจดทะเบียนภายหลัง ก็หามีผลย้อนหลังเป็นการรับรองให้การใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นการใช้ได้ขึ้นมาอย่างใดไม่
เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทมีมติให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว ผู้ชำระบัญชีนั้นก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีในนามบริษัท และอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนตนในคดีอีกชั้นหนึ่งได้ การลงลายมือชื่อของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องประทับตราอย่างใด ฉะนั้น เพียงแต่ผู้รับมอบอำนาจลงชื่ออย่างเดียวในใบแต่งทนาย ก็มีผลเป็นการแต่งทนายในนามบริษัทนั้นแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจเอาดวงตราที่ไม่เคยจดทะเบียนมาประทับด้วย ก็ไม่ทำให้ใบแต่งทนายเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและแต่งทนายของบริษัทจำกัด: การใช้ตราบริษัทและอำนาจผู้ชำระบัญชี
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว และฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการบริษัทนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะลงชื่อในใบแต่งทนาย 2 แห่งโดยมิได้ระบุว่าลงชื่อในฐานะอะไรก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในฐานะที่เป็นจำเลยเองแห่งหนึ่ง กับลงชื่อในนามบริษัทซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 อีกแห่งหนึ่งแล้ว
การใช้ดวงตราซึ่งมิใช่ดวงตราที่บริษัทจดทะเบียนไว้ไปประทับในใบแต่งทนายนั้น ถือว่าใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้อง แม้จะนำดวงตรานี้ไปจดทะเบียนภายหลัง ก็หามีผลย้อนหลังเป็นการรับรองให้การใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นการใช้ได้ขึ้นมาอย่างใดไม่
เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทมีมติให้เลิกบริษัท และตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว ผู้ชำระบัญชีนั้นก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีในนามบริษัท และอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนตนในคดีอีกชั้นหนึ่งได้ การลงลายมือชื่อของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องประทับตราอย่างใด ฉะนั้น เพียงแต่ผู้รับมอบอำนาจลงชื่ออย่างเดียวในใบแต่งทนาย ก็มีผลเป็นการแต่งทนายในนามบริษัทนั้นแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจเอาดวงตราที่ไม่เคยจดทะเบียนมาประทับด้วย ก็ไม่ทำให้ใบแต่งทนายเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของ ผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ และการหักกลบลบหนี้หลังเลิกห้าง
(1) ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งและมอบอำนาจจากผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนให้เป็นผู้ชำระบัญชีและนำคดีขึ้นสู่ศาลนั้น ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ที่เป็นหุ้นส่วนได้เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของรวมให้ฟ้องลูกหนี้ซึ่งต้องรับผิดต่อกรรมสิทธิ์รวมแต่ละคนซึ่งมีหนี้โดยเฉพาะตัวได้
(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเลิกกัน ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่ง และจะให้มีการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กันตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 341,342. โจทก์ก็ยังไม่ได้ทำบัญชีงบดุลอย่างใดและโจทก์ยังแสดงไม่ได้ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 37/2505)
of 16