พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัท: ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองได้อ้างเหตุเพียงว่า การที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดรับจดทะเบียนการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ และเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจากโจทก์ที่ 1 เป็น ช.แทนตามคำขอจดทะเบียนนั้น เป็นเพราะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหลงเชื่อตามรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ ช.และ ย.ร่วมกันจัดทำขึ้นโดยเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงไม่มีการประชุมกันแต่อย่างใด และโจทก์ที่ 1 ก็มิได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท โจทก์ทั้งสองมิได้อ้างว่าการรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 1 เพราะเหตุนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการจดทะเบียนนั้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งการทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทก็มิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมดังกล่าว แม้รายงานการประชุมนั้นเป็นรายงานเท็จ ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็มิใช่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยในฐานะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจจัดการ ทำกิจการหรือประกอบกิจการของบริษัท เพราะบริษัทจำกัดกฎหมายให้มีกรรมการจัดการตามข้อบังคับของบริษัทไว้แล้ว กรรมการบริษัทเพียงแต่อยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ ในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้องผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 วรรคแรก ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่ 2 เกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดที่ตนถือหุ้นจึงมีอยู่เพียงการฟ้องร้องกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทเท่านั้น หามีสิทธิฟ้องบุคคลภายนอกเกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดไม่ กรณีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวหาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดกรณีการเปลี่ยนแปลงกรรมการและการทำรายงานการประชุมที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง แม้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการอีกครั้งโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ศาลยังคงพิจารณาคดีได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ซึ่งลงมติถอดถอนกรรมการของโจทก์ที่ 1 ชุดเดิมซึ่งมีโจทก์ที่ 2 และที่ 3 รวมอยู่ด้วย แล้วตั้งกรรมการชุดใหม่ซึ่งมีจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 กับได้ลงมติเปลี่ยนแปลง อำนาจกรรมการของโจทก์ที่ 1 และจำเลยร่วมกันทำรายงานประชุมไม่ตรงต่อความจริงขอให้พิพากษาว่ารายงานการประชุมใหญ่ดังกล่าวไม่ชอบกฎหมายและข้อบังคับของโจทก์ที่ 1ห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการ และให้จำเลยขอขมา โจทก์ทั้งสามในหนังสือพิมพ์รายวัน ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำละเมิด แม้ต่อมา ช. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์ที่ 1 ฟ้องโจทก์ที่ 2 ที่ 3 กับพวก ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และ ช. ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยได้มีการลงมติถอดถอนกรรมการชุดซึ่งได้รับแต่งตั้ง จากมติที่ประชุมใหญ่ที่พิพาทกันในคดีนี้ แล้วตั้งกรรมการ ชุดใหม่แทนกับมีการนำมติดังกล่าวไปจดทะเบียนเรียบร้อย แล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลให้ความรับผิดฐานละเมิดตามฟ้อง ระงับไป ศาลจึงชอบที่จะพิจารณาคดีต่อไปจนสิ้นกระแสความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากร: คดีแบ่งคืนทรัพย์สินให้ผู้ถือหุ้น ไม่ใช่ข้อพิพาทภาษีโดยตรง
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในคดีนี้เนื่องจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีแบ่งคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 8 ผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 เรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่จำเลยที่ 1เพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ดังนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 7(2)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 เพราะเป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าจำเลยที่ 2ถึงที่ 8 จะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้บังคับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหรือไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากร การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลางในการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ภาษี และการแก้ไขจำนวนเงินเพิ่ม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1และได้รับเงินอันเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนหลังจากจำเลยที่ 1จดทะเบียนเลิกบริษัทแต่จำเลยที่ 1 ชำระภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์จึงขอใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ในนามของตนเองแทนจำเลยที่ 1 เพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 แม้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรกลางจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากรกลาง ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นจำกัด ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีล้มละลายของบริษัท จึงไม่มีสิทธิร้องสอด
การที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดล้มละลาย ย่อมมีผลกระทบเฉพาะต่อสิทธิของจำเลยในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของจำเลยเท่านั้น หาได้มีผลทำให้ผู้ถือหุ้นซึ่งรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือตกเป็นบุคคลล้มละลายด้วยไม่ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดี ไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการบริษัทโดยผู้ถือหุ้นและกรรมการ: ความชอบธรรมในการดำเนินการ
เดิมบริษัท ต.มี บ.เป็นกรรมการผู้จัดการได้ดำเนินกิจการขาดทุน และมีเจ้าหนี้จำนวนมาก ป.เข้าช่วยเหลือโดยตั้งบริษัท ย.ผู้เสียหายขึ้นมาเพื่อดำเนินการแทน โดยฝ่าย บ.ถือหุ้นในบริษัทผู้เสียหายร้อยละ 45 ของหุ้นทั้งหมด และบริษัท ต.ทำสัญญาให้บริษัทผู้เสียหายเช่าโรงงานและเครื่องจักรด้วย เมื่อปรากฏว่า ป.ถือสิทธิเข้าดำเนินการบริหารบริษัทผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวทำให้บริษัทผู้เสียหายเป็นหนี้ธนาคารถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท ท่วมทุนจดทะเบียนของบริษัทผู้เสียหายซึ่งมีอยู่เพียงหนึ่งล้านบาท และกีดกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ถือหุ้นฝ่ายบ.ถึงขนาดที่บริษัท ต.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าโรงงานไปแล้ว เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการบริษัท ต.และจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัทผู้เสียหายกับพวกย่อมเข้าใจว่ามีความชอบธรรมที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการถอนฟ้องคดี: แม้ผู้ถือหุ้นมีมติปลด แต่หากยังไม่ได้จดทะเบียน ถือว่ายังเป็นกรรมการและมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้
บริษัทโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ส่งรถคืน ต่อมาที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติให้ พ.กับท. พ้นจากตำแหน่งกรรมการของโจทก์ หลังจากนั้น พ.กับท. อ้างว่าเป็นกรรมการร่วมกันลงชื่อ และประทับตราสำคัญของโจทก์ ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีนี้ศาลอนุญาต ดังนี้ เมื่อหนังสือรับรองของโจทก์ท้ายฟ้องปรากฏมีชื่อพ.กับท. เป็นกรรมการของโจทก์ โดยไม่มีการจดทะเบียนถอนชื่อ พ.กับท. ออกจากการเป็นกรรมการ จึงต้องถือว่าพ.กับท. ยังไม่ได้พ้นจากการเป็นกรรมการของโจทก์ ทั้งข้อบังคับของโจทก์ก็มิได้มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดอำนาจกรรมการในเรื่องนี้ ถือว่า พ.กับท. ได้ขอถอนฟ้องแทนโจทก์แล้วโจทก์จะกลับมาขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอนุญาตหาได้ไม่ แม้จำเลยจะเป็นบุตรของ พ.และเป็นน้องภรรยาของท. ก็ตามแต่การที่ พ.กับท. ขอถอนฟ้องในนามของโจทก์จะถือว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์กับของ พ.กับท. เป็นปฏิปักษ์แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 80 หาได้ไม่เพราะการขอถอนฟ้องจะเป็นผลดีและผลเสียต่อโจทก์ ผลนั้นย่อมตกแก่ พ.กับท. ในฐานะกรรมการของโจทก์ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของกรรมการ/ผู้ถือหุ้น เมื่อผู้กระทำผิดคือผู้จัดการ/กรรมการเอง คดีระงับเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์
กรณีผู้จัดการและกรรมการกระทำความผิดอาญาฐานยักยอก อันเป็นการกระทำต่อบริษัทโจทก์ เป็นที่เห็นได้ชัดว่าผู้กระทำผิดจะไม่ฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเพื่อกล่าวหาตนเอง กรรมการอื่น หรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิฟ้องคดีอาญา แจ้งความร้องทุกข์ หรือถอนคำร้องทุกข์อันมีผลทำให้คดีอาญาระงับได้ แม้บุคคลดังกล่าวจะมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของกรรมการ/ผู้ถือหุ้น เมื่อกรรมการกระทำผิดต่อบริษัท และการระงับสิทธิฟ้องเนื่องจากการถอนคำร้องทุกข์
ขณะที่ ป. ร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ยักยอกเงินของโจทก์ไปนั้น โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด มีป. ก. ส. และจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นกรรมการ โดยจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือ ป. คนใดคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน และประทับตราสำคัญของโจทก์ทำการแทนโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยักยอกเงินของโจทก์บรรดาผู้ถือหุ้นซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับโจทก์นั้นย่อมได้รับความเสียหายโดยนิตินัย ย่อมถือว่า ป. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้เสียหาย จึงมีสิทธิฟ้องคดีอาญาหรือแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1ที่ 2 ฐานยักยอกทรัพย์ของโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2),123ประกอบด้วยมาตรา 2(4) ต่อมา ป. ได้ถอนคำร้องทุกข์นั้นดังนั้นไม่ว่า ป. จะดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดในฐานะกระทำการแทนโจทก์หรือในฐานะผู้ถือหุ้น สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องก็ย่อมระงับไปตามมาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญาจากการถอนคำร้องทุกข์ของผู้ถือหุ้น/กรรมการในฐานะผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้แทนบริษัทโจทก์ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ป. ผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีอาญาหรือแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้เมื่อ ป. ได้แจ้งความร้องทุกข์แล้วต่อมาได้ถอนคำร้องทุกข์ไม่ว่าป. จะดำเนินการในฐานะกระทำการแทนโจทก์หรือในฐานะผู้ถือหุ้นก็ตาม สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)