พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กจากความรุนแรงในครอบครัวและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ปกครอง
แม้ขณะผู้ร้องยื่นฎีกา ผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เนื่องจากศาลล่างมีคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ถูกร้องซึ่งเป็นบิดาจะพ้นจากภาระหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้เยาว์ ดังนั้นเมื่อศาลเห็นว่า พฤติการณ์ของผู้ถูกร้องอยู่ในภาวะที่สามารถแก้ไขได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเองและได้รับการเตรียมความพร้อมให้มีทักษะในการเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างเหมาะสม การเข้ารับการตรวจประเมินกับแพทย์ทางจิตเวชถือเป็นการเข้ารับคำปรึกษาเพื่อให้ผู้ถูกร้องมีทัศนคติต่อตนเองและผู้เยาว์อย่างถูกต้อง ที่ศาลล่างทั้งสองให้ผู้ถูกร้องไปรับการตรวจประเมินกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทักษะในการเลี้ยงดูบุตร โดยให้ผู้ถูกร้องอยู่ในกำกับดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 จึงนับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22714/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีข่มขืนใจ: การแจ้งความร้องทุกข์ของผู้ปกครองที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น โดยมีอาวุธ ตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ความผิดดังกล่าวจึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 321 เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งในความดูแลของ ค. บิดาผู้เสียหาย หรือผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ อันจะทำให้ ค. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 การที่ ค. ไปแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ชอบ ถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120, 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์จากผู้ปกครอง และความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา
ตาม ป.อ. มาตรา 318 คำว่า ผู้ปกครองหมายถึงผู้มีฐานะทางกฎหมายเกี่ยวพันกับผู้เยาว์ เช่น บิดามารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ส่วนผู้ดูแลหมายถึงผู้ควบคุม ระวังรักษาผู้เยาว์โดยข้อเท็จจริง เช่น ครูอาจารย์ นายจ้าง เป็นต้น เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นนายจ้างประกอบกับผู้เสียหายทั้งสองเบิกความได้ความว่า บิดามารดาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ มอบให้ผู้เสียหายที่ 1 ปกครองดูแลผู้เสียหายที่ 2 ด้วย โดยผู้เสียหายที่ 1 ให้ผู้เสียหายที่ 2 พักอยู่ที่ร้านอาหารดังกล่าว ดังนี้ผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้เสียหายที่ 2 ในฐานะนายจ้างโดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาผู้เสียหายที่ 2 ด้วย การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการรบกวนสิทธิหรือแยกสิทธิในการควบคุมดูแลผู้เสียหายที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปจากความดูแลของผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม
ความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ส่วนความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำสำหรับความผิดฐานนี้ตามกฎหมายแล้ว แม้จำเลยกระทำความผิดในขณะที่มีอายุ 19 ปีเศษ แต่รู้ผิดชอบแล้วและลักษณะการกระทำความผิดไม่เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้ ตาม ป.อ. มาตรา 76
ความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ส่วนความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำสำหรับความผิดฐานนี้ตามกฎหมายแล้ว แม้จำเลยกระทำความผิดในขณะที่มีอายุ 19 ปีเศษ แต่รู้ผิดชอบแล้วและลักษณะการกระทำความผิดไม่เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้ ตาม ป.อ. มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7041/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราและพรากเด็กจากผู้ปกครองเพื่ออนาจาร จำเลยมีความผิดฐานต่างๆ
แม้บ้านที่ผู้เสียหายที่ 1 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 กับบ้านจำเลยอยู่ใกล้กันเพียงมีถนนคั่น และผู้เสียหายที่ 1 ไปหาน้องต่างบิดาที่บ้านจำเลยชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อวิ่งเล่นแล้วกลับมาที่บ้าน ระหว่างนี้ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 ยังอยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าบ้านอยู่ห่างกันหรืออยู่ใกล้ไกลเพียงใด และจำเลยทราบดีว่าผู้เสียหายที่ 2 ห้ามและไม่ยินดีให้ผู้เสียหายที่ 1 มาที่บ้านจำเลย การที่จำเลยเรียกผู้เสียหายที่ 1 ไปจากบริเวณที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่กับน้องให้เข้าไปหาในห้องนอนแล้วกระทำชำเรา กับเรียกผู้เสียหายที่ 1 ให้เข้าไปในห้องน้ำและกระทำชำเรา แม้ห้องนอนหรือห้องน้ำกับบริเวณที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่กับน้องจะเป็นบริเวณบ้านเดียวกัน แต่การกระทำของจำเลยแสดงว่ามีเจตนาพาผู้เสียหายที่ 1 จากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่งแล้ว ทั้งเมื่อจำเลยขี่จักรยานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่คลองท้ายหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านจำเลย 200 ถึง 300 เมตร เพื่อกระทำชำเรา ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยแต่ละครั้ง เป็นการพาไปหรือแยกผู้เสียหายที่ 1 ออกไปจากความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ทำให้การปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและพรากเด็กจากผู้ปกครอง ถือเป็นความผิดฐานพรากเด็กเพื่ออนาจาร แม้ไม่ได้พาเด็กออกนอกบ้าน
แม้จำเลยไม่ได้พาผู้เสียหายที่ 1 ออกไปจากบ้านที่อยู่อาศัยด้วยกันก็ตาม แต่การที่จำเลยปิดล็อกประตูขัดขวางไม่ให้ผู้เสียหายที่ 1 ออกจากห้องนอนแล้วกระทำชำเราพร้อมข่มขู่ผู้เสียหายที่ 1 ทั้งที่รู้อยู่ว่าผู้เสียหายที่ 1 เป็นเด็กอายุ 10 ปีเศษ ถึง 11 ปีเศษ ยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ผู้เป็นมารดา ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาแยกผู้เสียหายที่ 1 ออกจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 โดยให้ผู้เสียหายที่ 1 ตกอยู่ในอำนาจควบคุมของจำเลย และจำยอมให้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ผู้เป็นมารดา เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร