คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมบังคับคดีตกแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แม้ผู้ร้องได้รับประโยชน์จากการบังคับคดีก็ไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสองให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยย่อมตกแก่คู่ความเฉพาะฝ่ายที่แพ้คดี จำเลยเป็นคู่ความและเป็นฝ่ายที่แพ้คดีจำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแต่ผู้เดียวผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของจำเลยยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีขอรับส่วนแบ่งจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด มิได้เป็นคู่ความที่แพ้คดีด้วย จึงไม่มีส่วนต้องรับผิดร่วมด้วยในค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี (อ้างฎีกาที่ 193/2502)
มาตรา 153 (2), 318 และ 319 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นบทบัญญัติกำหนดวิธีการจ่ายเงิน โดยให้หักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีออกจากเงินได้จากการขายทรัพย์เสียก่อนเหลือเงินสุทธิเท่าใดจึงจ่ายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หาใช่เป็นบทบัญญัติที่กำหนดความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมบังคับคดีตกแก่คู่ความที่แพ้คดี แม้ผู้ร้องได้รับประโยชน์จากการขายทอดตลาดก็ไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคสองให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย ย่อมตกแก่คู่ความเฉพาะฝ่ายที่แพ้คดี จำเลยเป็นคู่ความและเป็นฝ่ายที่แพ้คดีจำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแต่ผู้เดียวผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของจำเลยยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีขอรับส่วนแบ่งจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด มิได้เป็นคู่ความที่แพ้คดีด้วย จึงไม่มีส่วนต้องรับผิดร่วมด้วยในค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี (อ้างฎีกาที่ 193/2502)
มาตรา 153(2),318 และ 319 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นบทบัญญัติกำหนดวิธีการจ่ายเงิน โดยให้หักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีออกจากเงินได้จากการขายทรัพย์เสียก่อน เหลือเงินสุทธิเท่าใดจึงจ่ายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หาใช่เป็นบทบัญญัติที่กำหนดความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ความล่าช้าของผู้ร้องเอง
การขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 นั้น ศาลจะสั่งขยายได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้น
ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน โดยอ้างเหตุว่ายังคัดคำพยานและเอกสารไม่หมด เพิ่งคัดไปได้ เพียงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากคำให้การและเอกสารมากมาย เมื่อปรากฏว่าคดีมิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายใหญ่โตเป็นพิเศษจนถึงกับจะเป็นเหตุให้ตรวจและทำคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ทันในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งการคัดไม่เสร็จเกิดจากเหตุที่เพิกเฉยไม่รีบจัดการเสียแต่เมื่อฟังคำพิพากษา มิใช่เพราะถ้อยคำสำนวนมากมายจนคัดไม่ทันดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1095/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2285/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว: การผิดนัดของจำเลยทำให้ผู้ร้องผิดสัญญาประกัน และศาลมีอำนาจปรับได้
ผู้ร้องทำสัญญาประกันตัวจำเลยคดีอาญาไปจากศาลมีข้อความว่า ในระหว่างประกันผู้ร้องหรือจำเลยจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นผู้ร้องยอมใช้เงินจำนวนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยเซ็นทราบวันนัดของศาลแล้ว จำเลยไม่มาศาลตามนัด เพราะหลงลืมจำวันนัดผิด อันเป็นความผิดของจำเลยเอง ก็ถือได้ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามนัดของศาล และต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันได้ประพฤติผิดข้อสัญญาประกันดังกล่าวแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นควรได้แล้ว
ในวันที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันผิดนัด ศาลเพียงแต่มีคำสั่งว่าจำเลยและผู้ร้องผิดสัญญาประกัน กับให้หมายนัดผู้ร้องส่งตัวจำเลยใน 7 วัน ผู้ร้องและจำเลยไม่ได้มาศาลตามหมายนัดศาลจึงสั่งปรับผู้ร้องในวันนัดถัดมา แม้ในนัดหลังนี้ผู้ร้องและจำเลยไม่มาศาล เพราะไม่ได้รับหมายนัดให้ส่งตัวจำเลยก็ไม่เป็นการขัดขวางแก่การที่ศาล จะสั่งปรับผู้ร้อง เพราะถือได้ว่าผู้ร้องผิดสัญญาประกันมาตั้งแต่นัดแรกนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลกรณีคัดค้านการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ศาลพิจารณาเสมือนคดีทั่วไป ผู้ร้องต้องเสียค่าธรรมเนียม
คำร้องขอต่อศาลในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไม่ให้ถอนการยึดทรัพย์สินตามมาตรา 158 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายนั้น ผู้ร้องจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและหน้าที่ชำระหนี้แทนกัน: ผู้ร้องมีหน้าที่ชำระหนี้แทนจำเลยตามสัญญา
โจทก์และผู้ร้องขัดทรัพย์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมเป็นใจความว่า ผู้ร้องขอให้โจทก์ขายทอดตลาดเฉพาะเรือนตามประกาศทรัพย์อันดับ 2 ไปก่อน หากขายเรือนได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจะยอมชำระเงินให้โจทก์แทนจำเลยจนครบ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยขาดจำนวนอยู่ผู้รองต้องชำระหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอม เมื่อไม่ชำระ โจทก์จึงขอให้บังคับผู้ร้องชำระหนี้จำเลยจนครบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันผู้ร้องต้องชำระหนี้แทนจำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระ
โจทก์และผู้ร้องขัดทรัพย์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมเป็นใจความว่า. ผู้ร้องขอให้โจทก์ขายทอดตลาดเฉพาะเรือนตามประกาศทรัพย์อันดับ 2 ไปก่อน หากขายเรือนได้เงิน.ไม่พอชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา. ผู้ร้องจะยอมชำระเงินให้โจทก์แทนจำเลยจนครบ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยขาดจำนวนอยู่ผู้ร้องต้องชำระหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอม. เมื่อไม่ชำระ. โจทก์จึงขอให้บังคับผู้ร้องชำระหนี้แทนจำเลยจนครบได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในความผิดศุลกากร การพิจารณาการขอคืนทรัพย์ของผู้ร้องที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิด
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 (คือมาตรา 27) ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2467 มาตรา 27 ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีจึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา 27 ทวิ เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิมิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ด้วย
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งผู้ร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน ส.ค.๑ ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกให้ผู้ร้อง แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องได้
เมื่อที่พิพาทมี ส.ค.1 แล้ว ก็แสดงว่าเป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองและทำประโยชน์อยู่แล้ว ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5 และในเมื่อเป็นที่ที่ทำประโยชน์อยู่แล้วเช่นนี้ เพียงแต่มีคำรับรองจากนายอำเภอก็โอนกันได้ตามมาตรา 9 โดยมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ดังนั้นผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาตามยอมได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ด้วยเหตุนี้ แม้ที่ดินจะยังเป็นของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่โจทก์ก็จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้นให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ ผู้ใช้คำพิพากษายันได้ โจทก์อ้างเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงต้องนำสืบก่อน
ผลแห่งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นของผู้ร้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความ ผู้ร้องใช้คำพิพากษานั้นยันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นได้ เมื่อโจทก์ให้การในคดีร้องขัดทรัพย์ใหม่อีกเรื่องหนี่งว่า ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป โดยจำเลยซื้อทรัพย์รายพิพาทจากผู้ร้องภายหลังจากศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีภาระในการนำสืบก่อน
of 14