คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้แทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองโดยผู้แทนที่ไม่ชอบ ธนาคารสุจริตมีสิทธิบังคับได้ ผู้รับมรดกไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยและผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกในที่ดินร่วมกัน จำเลยไปโอนรับมรดกที่ดินใส่ชื่อตนแต่ผู้เดียว ครั้นแล้วจำเลยนำไปจำนองไว้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดังนี้ นิติกรรมการจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยมีผลสมบูรณ์ ธนาคารโจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้เต็มตามสัญญา ผู้ร้องจะขอกันส่วนของผู้ร้องจากจำนวนเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินจากการบังคับจำนองหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1046/2480)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องและการถอนฟ้องของเด็กผู้เยาว์ที่แต่งทนายเอง ผู้แทนโดยชอบธรรมมีอำนาจจำกัด
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์ ลงชื่อแต่งทนายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและอุทธรณ์ฎีกามาโดยลำพังไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทนอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นอุทธรณ์และฎีกาที่ไม่ชอบ
คำแจ้งความที่เพียงแต่แจ้งให้พนักงานตำรวจทราบไว้เป็นหลักฐานมิได้ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ย่อมไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมาย
คำให้การของผู้เสียหายที่พนักงานสอบสวนได้จดบันทึกไว้ในตอนท้าย มีข้อความว่า "ในวันนี้....ทางข้าฯ และมารดาข้าฯ จึงมาร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวน สน.พญาไทดำเนินคดีกับนายเอสวูดดี้ในข้อหากระทำอนาจาร ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 1(7), 123 แล้ว
เมื่อผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาและบิดายังมีชีวิตอยู่มารดาของผู้เยาว์จึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ จึงไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เยาว์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุตรโดยผู้แทนตามกฎหมาย และผลผูกพันของสัญญาระงับข้อพิพาทที่ทำโดยผู้แทนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
มารดาโจทก์ผู้เยาว์ได้เสียเป็นสามีภรรยากับจำเลยผู้เป็นบิดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าได้รับเงินจากจำเลยแล้ว จะไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยและจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ต่อจำเลยอีก ดังนี้ เมื่อมารดาโจทก์ทำสัญญานั้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นย่อมไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ด้วยโจทก์โดยมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาได้ และการฟ้องเช่นนี้เป็นเรื่องมารดาของโจทก์ฟ้องแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามนัยมาตรา 1529 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ผู้ถูกละเมิดและผู้แทนโดยชอบธรรม
การที่จำเลยใช้กำลังกายประทุษร้ายกอดปล้ำและฉุดคร่ากระทำอนาจารผู้เยาว์อายุ 13 ปี บุตรสาวของโจทก์อันเป็นการทำละเมิดนั้นผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดก็คือผู้เยาว์ซึ่งถูกกอดปล้ำและฉุดคร่ากระทำอนาจารโจทก์ซึ่งเป็นมารดามิใช่เป็นผู้เสียหายจากการทำละเมิดด้วย จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นส่วนตัว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุฐานะของมารดาผู้เยาว์ซึ่งเป็นโจทก์ไว้ว่า "นางวิง ยังสุข ในฐานะส่วนตัวและมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงมะลิวัลย์ ยังสุข ผู้เยาว์" แสดงชัดแจ้งว่า มารดาเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในสองฐานะ คือ ฟ้องในฐานะส่วนตัวฐานะหนึ่งกับฟ้องแทนผู้เยาว์ในฐานะที่เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมอีกฐานะหนึ่งจึงถือว่าคำฟ้องนั้น จึงเป็นคำฟ้องของผู้เยาว์โดยมารดาฟ้องแทนอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: แยกพิจารณาความเสียหายของผู้ถูกละเมิดและผู้แทนโดยชอบธรรม
การที่จำเลยใช้กำลังกายประทุษร้ายกอดปล้ำและฉุดคร่ากระทำอนาจารผู้เยาว์อายุ 13 ปีบุตรสาวของโจทก์อันเป็นการทำละเมิดนั้นผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดก็คือผู้เยาว์ซึ่งถูกกอดปล้ำและฉุดคร่ากระทำอนาจารโจทก์ซึ่งเป็นมารดามิใช่เป็นผู้เสียหายจากการทำละเมิดด้วย จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นส่วนตัว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุฐานะของมารดาผู้เยาว์ซึ่งเป็นโจทก์ไว้ว่า 'นางวิง ยังสุข ในฐานะส่วนตัวและมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงมะลิวัลย์ ยังสุข ผู้เยาว์' แสดงชัดแจ้งว่า มารดาเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในสองฐานะ คือ ฟ้องในฐานะส่วนตัวฐานะหนึ่ง กับฟ้องแทนผู้เยาว์ในฐานะที่เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมอีกฐานะหนึ่งจึงถือว่าคำฟ้องนั้น จึงเป็นคำฟ้องของผู้เยาว์โดยมารดาฟ้องแทนอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถในการฟ้องคดีของผู้เยาว์ และอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมในการฟ้องคดีแทน
ฟ้องซึ่งตั้งรูปว่าผู้เยาว์โดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์นั้น เป็นเรื่องผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมถึงหากจะฟังว่าบุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และขณะฟ้องคดีโจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์ผู้เยาว์บกพร่อง ซึ่งศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งแก้ไขความบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ส่วนอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลจะยกฟ้องหรือจะสั่งอย่างอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ต้องยกฟ้องก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาปรากฏว่าโจทก์ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขเรื่องความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบิดาและสัญญาซื้อขาย: การบังคับตามสัญญาจำยอม
บิดาย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ฉะนั้นฟ้องโจทก์ที่ใช้คำว่าบิดาผู้ปกครองโดยชอบธรรม ย่อมหมายถึงบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั่นเอง
เอกสารหมายจ.1สืบเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายที่ดิน โดยจำเลยสัญญาว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนการจำยอมที่ดินให้โจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาให้ โจทก์ฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์และการแก้ไขความบกพร่องทางความสามารถเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมได้รับการแต่งตั้ง
เมื่อผู้เยาว์ถูกละเมิด ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ละเมิดได้แต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 กล่าวคือ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้กระทำแทนหรือให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอม บิดาของผู้เยาว์ได้เสนอข้อหาต่อศาลแทนผู้เยาว์โดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ จึงไม่เป็นบิดาของผู้เยาว์ตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิกระทำแทนหรือให้ความยินยอมได้ ในกรณีเช่นนี้เท่ากับว่าผู้เยาว์เสนอข้อหาเอง เป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อบิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์แล้วก็เป็นบิดาตามกฎหมายมีอำนาจกระทำแทนหรือให้ความยินยอมในการเสนอข้อหาต่อศาลได้ การบกพร่องในเรื่องความสามารถนี้ แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วก็เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมเหตุบกพร่องในเรื่องความสามารถก็หมดไป ทำให้การฟ้องคดีแทนเด็กที่บกพร่องมาแต่ต้นเป็นอันบริบูรณ์
จำเลยฎีกาคัดค้านในเรื่องค่าสินไหมทดแทน โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพียงแต่ขอให้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมาเป็นข้อสนับสนุนคำฟ้องในชั้นฎีกาเท่านั้น จึงไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 เพราะมิได้กล่าวไว้ชัดแจ้งในฎีกา จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะตัดทอนจำนวนค่าเสียหายให้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการผู้จัดการในฐานะผู้แทนของบริษัทจำกัด
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคลจึงเป็นเพียงบุคคลสมมติโดยอำนาจของกฎหมายดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ ต้องดำเนินหรือปฏิบัติงานโดยผู้แทน จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการ จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบริษัท จำเลยที่ 1 กระทำผิดก็ได้ชื่อว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้แทนของนิติบุคคลในความผิดอาญา: กรรมการผู้จัดการต้องรับผิดเมื่อบริษัทกระทำผิด
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคล จึงเป็นเพียงบุคคลสมมุติโดยอำนาจของกฎหมาย ดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ ต้องดำเนินหรือปฏิบัติงานโดยผู้แทน จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการ จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 กระทำผิด ก็ได้ชื่อว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย
of 15