พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการละเมิดจากพนักงาน กรณีตั๋วแลกเงินสูญหายหรือถูกขโมย
โจทก์ที่ 1 ส่งตั๋วแลกเงินจำนวน 40,000 บาทของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาเบตงให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยบรรจุตั๋วแลกเงินในซองจดหมายลงทะเบียนจ่าหน้าซองถึงโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานบุรุษไปรษณีย์ ได้รับมอบหมายให้นำไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวไปส่งให้แก่ผู้รับ แต่ในการส่งนั้นจำเลยที่ 2 ได้ทำหลักฐานใบรับปลอมขึ้นว่ามีบุคคลในบ้านเดียวกันกับโจทก์ที่ 2 รับแทน แล้วแอบอ้างตัวเองเป็นโจทก์ที่ 2 นำตั๋วแลกเงินไปรับเงินจากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาราชปรารภ อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ แม้ พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 จะบัญญัติถึงความรับผิดของกรมไปรษณีย์ไว้เป็นพิเศษก็ตาม แต่เมื่อกรณีนี้เป็นเรื่องละเมิด มิใช่เป็นการทำผิดสัญญารับขน พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 จึงไม่เป็นประโยชน์แก่กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อทรัพย์สินที่โจทก์ต้องเสียไปเพราะการละเมิดนั้นคือเงินจำนวน 40,000 บาทตามตั๋วแลกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 2 เอาไป ซึ่งเป็นความเสียหายโดยตรงจากการละเมิดของจำเลยที่ 2 กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ราคาทรัพย์จำนวนดังกล่าวให้โจทก์
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2518 )
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2518 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทน: โจทก์ผู้จ่ายค่าทดแทนให้พนักงานที่ถูกละเมิด ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกจากผู้ละเมิด
เงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทน ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2501 เนื่องจากพนักงานของโจทก์ได้รับบาดเจ็บในขณะปฏิบัติงานให้แก่โจทก์โดยถูกรถของจำเลยชนเอานั้น โจทก์จะมาฟ้องเรียกเอาจากจำเลยไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ถูกละเมิดทั้งตามประกาศคณะปฏิวัติและประกาศกระทรวงมหาดไทย ดังกล่าวก็ไม่ได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินดังกล่าวเอาจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนิยาม 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ต้องพิจารณาแหล่งที่มาของทุนขององค์การ
การที่จะถือว่าจำเลยซึ่งเป็นพนักงานขององค์การค้าของคุรุสภาเป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502หรือไม่ จะต้องได้ความว่า ทุนทั้งหมดหรือทุนเกินร้อยละห้าสิบขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นของรัฐ เมื่องานหรือทุนที่ดำเนินการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นของคุรุสภาซึ่งเป็นนิติบุคคล มิใช่เป็นของรัฐ จำเลยจึงไม่เป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความ 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ทุนขององค์กรต้องมาจากรัฐเกินครึ่ง จึงจะถือเป็นพนักงานได้
การที่จะถือว่าจำเลยซึ่งเป็นพนักงานขององค์การค้าของคุรุสภาเป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หรือไม่ จะต้องได้ความว่า ทุนทั้งหมดหรือทุนเกินร้อยละห้าสิบขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นของรัฐ เมื่องานหรือทุนที่ดำเนินการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นของคุรุสภาซึ่งเป็นนิติบุคคล มิใช่เป็นของรัฐ จำเลยจึงไม่เป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ต้องได้รับการบรรจุเป็นเงินเดือน การได้รับค่าจ้างรายวันถือเป็นช่วงทดลองงาน
จำเลยเข้าทำงานในองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปในตำแหน่งเสมียนหน่วยการเงิน ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จำเลยจะทำงานอะไรแล้วแต่หัวหน้าหน่วยจะสั่งให้ทำในเรื่องเกี่ยวกับ การเงิน เมื่อจำเลยปฏิบัติงานมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนหรือกว่านั้น ถ้าองค์การพิจารณาเห็นสมควร จึงจะรับบรรจุเป็นเงินเดือน ดังนี้ เมื่อจำเลยอยู่ในระหว่างทดลองให้ปฏิบัติงานชั่วคราวโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
มาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปพ.ศ.2498. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง ทั้งต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการของ อสร.ซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้อำนวยการย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ดำเนินคดีมีอำนาจแจ้งความหรือร้องทุกข์ หรือสั่งให้บุคคลอื่นไปแจ้งความหรือร้องทุกข์แทน ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ที่เบียดบังยักยอกเอาเงินของอสร. ไปได้
มาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปพ.ศ.2498. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง ทั้งต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการของ อสร.ซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้อำนวยการย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ดำเนินคดีมีอำนาจแจ้งความหรือร้องทุกข์ หรือสั่งให้บุคคลอื่นไปแจ้งความหรือร้องทุกข์แทน ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ที่เบียดบังยักยอกเอาเงินของอสร. ไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดพนักงานฯ ต้องได้รับการบรรจุเป็นเงินเดือน ไม่ใช่แค่ค่าจ้างรายวัน
จำเลยเข้าทำงานในองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปในตำแหน่งเสมียนหน่วยการเงิน ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จำเลยจะทำงานอะไรแล้วแต่หัวหน้าหน่วยจะสั่งให้ทำในเรื่องเกี่ยวกับการเงิน เมื่อจำเลยปฏิบัติงานมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนหรือกว่านั้น ถ้าองค์การพิจารณาเห็นสมควร จึงจะรับบรรจุเป็นเงินเดือน ดังนี้ เมื่อจำเลยอยู่ในระหว่างทดลองให้ปฏิบัติงานชั่วคราวโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
มาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปพ.ศ.2498. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้ และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง ทั้งต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้อำนวยการย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ดำเนินคดี มีอำนาจแจ้งความหรือร้องทุกข์ หรือสั่งให้บุคคลอื่นไปแจ้งความหรือร้องทุกข์แทน ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ที่เบียดบังยักยอกเอาเงินของอสร. ไปได้
มาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปพ.ศ.2498. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้ และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง ทั้งต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้อำนวยการย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ดำเนินคดี มีอำนาจแจ้งความหรือร้องทุกข์ หรือสั่งให้บุคคลอื่นไปแจ้งความหรือร้องทุกข์แทน ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ที่เบียดบังยักยอกเอาเงินของอสร. ไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงโทษทางวินัยพนักงาน อ.อ.ป. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตาม พ.ร.ก. 2499
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ. 2499 มาตรา 20 การลงโทษทางวินัยแก่พนักงานขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ขั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญหรือขั้นหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยพนักงาน อ.อ.ป. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ. 2499มาตรา 20 การลงโทษทางวินัยแก่พนักงานขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญหรือชั้นหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำว่า 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ. ความผิดของพนักงานในหน่วยงานของรัฐ: ผู้ทดลองงานชั่วคราว
คำว่าพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติงานโดยมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ด้วยตนเอง ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นคนงานทดลองปฏิบัติงานชั่วคราวในองค์การสวนสัตว์ยังไม่ได้รับการบรรจุ และไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่องานอย่างใดโดยเฉพาะ แต่ทำงานอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่อีกชั้นหนึ่ง ย่อมไม่เป็นพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อจำเลยยักยอกทรัพย์ขององค์การสวนสัตว์ไป ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำว่า 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานด้วยตนเอง
คำว่าพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติงานโดยมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ด้วยตนเอง ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นคนงานทดลองปฏิบัติงานชั่วคราวในองค์การสวนสัตว์ยังไม่ได้รับการบรรจุและไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่องานอย่างใดโดยเฉพาะ แต่ทำงานอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่อีกชั้นหนึ่ง ย่อมไม่เป็นพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อจำเลยยักยอกทรัพย์ขององค์การสวนสัตว์ไป ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502มาตรา 4