คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พยาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 670 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานที่ได้ยินคำเบิกความของพยานก่อนหน้า: หลักการผิดระเบียบและผลต่อการรับฟัง
การที่ น. พยานฟังคำเบิกความของ ว. ซึ่งได้เบิกความต่อหน้าตนมาแล้ว แม้จะเป็นการเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องกรณีก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้มาตรา 114 จะมิได้เป็นการบังคับมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความของ น.ซึ่งได้ฟังคำเบิกความของ ว. มาแล้วก็ตาม แต่หากปรากฏว่าคำเบิกความของ น. อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยฟังคำเบิกความของ ว.หรือสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้ คำเบิกความของ ว. ก็เป็นการผิดระเบียบ ไม่มีน้ำหนักให้เชื่อฟังได้เมื่อปรากฏว่า น. เบิกความโดยรู้เห็นเหตุการณ์ร่วมกับ ว.ดังนั้น คำเบิกความของ น. จึงอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยฟังคำเบิกความของ ว. และสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้เป็นคำเบิกความที่ผิดระเบียบ ไม่มีน้ำหนักให้เชื่อฟังได้กรณีดังกล่าวจำเลยไม่ต้องคัดค้านก่อนที่โจทก์จะนำน.เข้าสืบเพราะเมื่อยังไม่ปรากฏว่าพยานจะเบิกความเป็นที่เชื่อถือฟังได้หรือไม่และสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ก็ต้องให้พยานเบิกความไปก่อน เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังว่าเป็นการผิดระเบียบหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6973/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญา แม้ผู้ลงนามไม่ใช่ตัวแทนโดยตรง แต่หากกรรมการผู้มีอำนาจอยู่รู้เห็นและลงชื่อเป็นพยาน ก็ถือว่าจำเลยรับผิดได้
ในคดีแพ่ง เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การ และข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายฟังได้ชัดแจ้งอย่างใดแล้ว ศาลก็ยกข้อกฎหมายขึ้นปรับแก่คดีได้เอง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าตอบแทนหรือค่าเสียหายตามสัญญาพิพาท จำเลยต่อสู้ว่า ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์จึงไม่ต้องรับผิด ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เป็นข้อ 3 มีว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินตอบแทนหรือค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาพิพาทโดยตรงแม้ ผ. ผู้ลงชื่อในสัญญาจะมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยและจำเลยมิได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ผ. เป็นตัวแทนจำเลยก็ตาม แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยได้อยู่รู้เห็นในการทำสัญญาทั้งได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาด้วย ถือได้ว่าจำเลยเชิด ผ.ออกเป็นตัวแทนของตนผ. จึงทำสัญญากับโจทก์ในฐานะตัวแทนจำเลย มีผลเท่ากับจำเลยทำสัญญากับโจทก์จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวนั้น จึงหาใช่เป็นการพิพากษานอกฟ้องประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6945/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพยาน: จำเลยต้องลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดโดยชัดเจน
ทนายจำเลยยื่นคำให้การโดยลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดตามตรายางที่เจ้าหน้าที่ศาลประทับไว้ว่าเป็นวันนัดชี้หรือสืบพยานโจทก์เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดสืบพยานจำเลยโดยมิได้ระบุวันเวลานัดไว้ และจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งศาลดังกล่าว ทั้งศาลชั้นต้นมิได้หมายนัดให้จำเลยทราบ จึงไม่อาจถือได้ว่า จำเลยทราบวันนัดสืบพยานจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดทางศุลกากร: โจทก์ต้องนำสืบพยานให้ชัดเจนถึงฐานความผิดที่จำเลยกระทำ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรเป็นผู้ลักลอบนำพาเลื่อยยนต์ ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดผลิตในต่างประเทศซึ่งยังมิได้เสียภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเรียกค่าภาษีอากรขาเข้า หรือมิฉะนั้น จำเลยได้ซื้อ รับจำนำ รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ และช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของดังกล่าวโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำพาหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวเป็นคนละความผิดกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองข้อหาดังกล่าวย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้การว่า "ขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ" ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมต้องกระทำต่อหน้าพยาน
ผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานทั้งสองคนแม้ขณะพยานทั้งสองลงลายมือชื่อเป็นพยาน ผู้ตายและพยานทั้งสองจะอยู่พร้อมหน้ากันก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ผู้คัดค้านในฐานะผู้รับพินัยกรรมจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีสิทธิขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำบัญชีทรัพย์มรดกต่อหน้าพยาน: ผู้มีส่วนได้เสียไม่ต้องลงชื่อรับรองเพื่อยืนยันความถูกต้อง
ผู้จัดการมรดกได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเสนอให้ผู้ร้องและผู้ร้องสอดซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกตรวจดูแล้ว แต่ผู้ร้องและผู้ร้องสอดไม่ยอมลงชื่อรับรอง เนื่องจากผู้จัดการมรดกไม่ยอมลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้ร้องและผู้ร้องสอดเสนอไป ถือได้ว่าการทำบัญชีทรัพย์มรดกดังกล่าวเป็นการทำบัญชีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1729วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำบัญชีทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกต่อหน้าพยานและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกเสนอให้ผู้ร้องและผู้ร้องสอดซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียตรวจดูแล้วแต่ผู้ร้องและผู้ร้องสอดไม่ยอมลงชื่อรับรองเพราะผู้คัดค้านทั้งสองไม่ยอมลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความ การทำบัญชีทรัพย์มรดกของผู้คัดค้านทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นการทำบัญชีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1729 วรรคสอง แล้วแม้ผู้ร้องและผู้ร้องสอดไม่ลงชื่อในบัญชีทรัพย์มรดก ก็ไม่ทำให้การทำบัญชีทรัพย์มรดกเสียไป บัญชีทรัพย์มรดกมีรายละเอียดต่าง ๆ ตามสมควรโดยระบุยอดเงินฝากในธนาคารซึ่งคำนวณดอกเบี้ยไว้ ใบหุ้นก็ได้ระบุราคาตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ซื้อขายสลากออมสินแม้จะยังมิได้คิดดอกเบี้ย แต่สามารถคำนวณดอกเบี้ยได้เมื่อสลากครบอายุ ส่วนการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ก็อาศัยเกณฑ์ตามราคาประเมินของกรมที่ดินทรัพย์บางรายการที่ระบุว่าเป็นมรดกหรือไม่เป็นมรดกก็ระบุไปตามความเห็นโดยสุจริต ไม่มีเหตุแสดงว่าระบุโดยเจตนาทุจริตจะเบียดบังทรัพย์มรดกเป็นของตน จึงไม่มีเหตุจะสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำบัญชีทรัพย์มรดกต่อหน้าพยาน: การไม่ลงชื่อรับรองเนื่องจากข้อเรียกร้องอื่นไม่กระทบความสมบูรณ์ของบัญชี
ผู้จัดการมรดกได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเสนอให้ผู้ร้องและผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกตรวจดูแล้ว แต่ผู้ร้องและผู้ร้องสอดไม่ยอมลงชื่อรับรอง เนื่องจากผู้จัดการมรดกไม่ยอมลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้ร้องและผู้ร้องสอดเสนอไป ถือได้ว่าการทำบัญชีทรัพย์มรดกดังกล่าวเป็นการทำบัญชีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1729 วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ โดยไม่มีพยานตั้งแต่แรกทำสัญญา ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยกู้เงินจากโจทก์จำนวน 120,000 บาท โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้แล้วต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ ขณะที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินและลงชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญานั้น ไม่มีบุคคลอื่นลงชื่อเป็นพยานในสัญญา โดยพยานดังกล่าวได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินในภายหลัง ก็ไม่มีผลทำให้หนังสือสัญญากู้เงินเสื่อมเสียไป เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือนั้นจะต้องมีลายมือชื่อของพยานด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ไม่จำเป็นต้องมีพยานลงชื่อในขณะทำสัญญา ไม่กระทบความสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยกู้เงินจากโจทก์จำนวน 120,000 บาท โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ แล้วต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ขณะที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินและลงชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญานั้นไม่มีบุคคลอื่นลงชื่อเป็นพยานในสัญญา โดยพยานดังกล่าวได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินในภายหลัง ก็ไม่มีผลทำให้หนังสือสัญญากู้เงินเสื่อมเสียไป เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือนั้นจะต้องมีลายมือชื่อของพยานด้วย
of 67