พบผลลัพธ์ทั้งหมด 235 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 มิได้ห้ามนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร การที่ศาลให้นำสืบพยานบุคคลและรับฟังพยานบุคคลนั้น จึงไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 มิได้ห้ามนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร การที่ศาลให้นำสืบพยานบุคคลและรับฟังพยานบุคคลนั้น จึงไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า: การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวในนามของตนเองเป็นผู้เช่าจากโจทก์จำเลยและจำเลยร่วมจะนำสืบพยานบุคคลว่าที่จำเลยลงชื่อในสัญญาเช่าเป็นการกระทำแทนจำเลยร่วม จำเลยเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยร่วมไม่ได้เพราะเท่ากับนำสืบว่าความจริงจำเลยไม่ใช่ผู้เช่า แต่จำเลยร่วมเป็นผู้เช่า จึงเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่า ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าทรัพย์สิน: สิทธิการเช่ายังคงอยู่แม้ผู้เช่ารายหนึ่งเสียชีวิต และการนำสืบพยานบุคคลเพื่อยืนยันสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากจำเลยเป็นหนังสือและสัญญาเช่าอยู่ที่จำเลย จำเลยให้การว่าไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือ สัญญาเช่าไม่มีอยู่ที่จำเลย เช่นนี้ โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบว่ามีสัญญาเช่าเป็นหนังสือจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2) ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 94
แม้สัญญาเช่าจะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าก็ตาม แต่เมื่อทั้งโจทก์และ ว. ต่างเป็นผู้เช่าห้องพิพาทจากจำเลย การตายของว.จึงเป็นเหตุให้สิทธิการเช่าระงับไปเฉพาะตัวของ ว. แต่ผู้เดียว หาทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปด้วยไม่.
แม้สัญญาเช่าจะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าก็ตาม แต่เมื่อทั้งโจทก์และ ว. ต่างเป็นผู้เช่าห้องพิพาทจากจำเลย การตายของว.จึงเป็นเหตุให้สิทธิการเช่าระงับไปเฉพาะตัวของ ว. แต่ผู้เดียว หาทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปด้วยไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การตายของผู้เช่าร่วม, สิทธิการเช่าเฉพาะตัว, การนำสืบพยานบุคคล
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากจำเลยเป็นหนังสือและสัญญาเช่าอยู่ที่จำเลย จำเลยให้การว่าไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือสัญญาเช่าไม่มีอยู่ที่จำเลย เช่นนี้ โจทก์นำ พยานบุคคลเข้าสืบว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา93(2) ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94 แม้สัญญาเช่าจะเป็นสิทธิเฉพาะ ตัวของผู้เช่าก็ตาม เมื่อทั้งโจทก์และ ว.ต่างเป็นผู้เช่าห้องพิพาทจากจำเลยการตายของว.เป็นเหตุให้สิทธิการเช่า ระงับไปเฉพาะ ตัวของ ว. หาทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปด้วยไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงิน โดยการตรวจพิสูจน์ของพยานผู้เชี่ยวชาญมีน้ำหนักกว่าพยานบุคคล
โจทก์มีสัญญากู้มาแสดงต่อศาล โดยสัญญากู้ดังกล่าวกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจโดยผู้เชี่ยวชาญของศาลทำการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อและรายงานว่าลายมือชื่อในสัญญากู้กับลายมือชื่อของจำเลยน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันการที่จำเลยอ้างว่าเป็นลายมือปลอม และมีแต่พยานบุคคลมาสืบว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยนั้น ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างการพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญการตรวจพิสูจน์ลายมือตามหลักวิชาการได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงินต้องแสดงเจตนาการเป็นหนี้ การสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารทำไม่ได้
เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าเป็นหนี้เงินกู้ แต่ก็ต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงจะนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่องกู้ยืมเงินได้ เอกสารที่โจทก์อ้างในคดีมีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับเงิน 2 ครั้ง ครั้งแรกรับมา 72,190 บาท ครั้งที่สองรับมาอีก 1,000 บาท และจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับเงินทั้งสองจำนวนไว้ด้วยเท่านั้น ไม่ได้ความว่า โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยจะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด การที่โจทก์จะสืบพยานบุคคลประกอบว่า โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินและจำเลยได้รับเงินไปตามเอกสารข้างต้นก็ทำไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าว ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เอกสารนั้นจึงไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินต้องแสดงเจตนาให้เห็นว่ามีหนี้สินเกิดขึ้น การอธิบายเพิ่มเติมโดยพยานบุคคลขัดต่อกฎหมาย
เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าเป็นหนี้เงินกู้ แต่ก็ต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์จึงจะนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่อง กู้ยืมเงินได้ เอกสารที่โจทก์อ้างมีข้อความว่า จำเลยได้รับเงิน2 ครั้ง ครั้งแรกรับมา 72,190 บาท ครั้งที่สอง รับมาอีก 1,000 บาท และจำเลยได้ลงลายมือชื่อ รับเงินทั้งสองจำนวนไว้ด้วย ไม่ได้ความว่าโจทก์ เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยจะต้องคืนเงินจำนวน ดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้ เห็นว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใดการที่โจทก์จะสืบพยานบุคคลประกอบว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินและจำเลยได้รับเงินไปตามเอกสารดังกล่าว ก็ทำไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ ในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94เอกสารนั้นจึงไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินและข้อตกลงเพิ่มเติม การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินรายพิพาทโดยอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือ แม้มีการวางมัดจำด้วยการวางมัดจำก็เป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ตกลงทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงด้วยวาจาเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาที่ทำไว้ต่อกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมทางหลวงในทุกประการเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขออนุญาตทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินรายพิพาทต่ออธิบดีกรมทางหลวง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังที่โจทก์กล่าวอ้างดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินรายนี้ตามสัญญาจะซื้อขายต่ออธิบดีกรมทางหลวงตามแบบพิมพ์ของกรมทางหลวง แม้จำเลยจะได้แก้ไขข้อความตามแบบพิมพ์นั้น จนเป็นเหตุให้กรมทางหลวงไม่อนุญาตให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมรายนี้ ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้ขายที่จะกระทำได้โดยชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884-885/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานพินัยกรรมที่สูญหาย โดยใช้สำเนาและพยานบุคคลประกอบกับลายมือชื่อที่สอดคล้องกัน
ผู้ตายเขียนพินัยกรรมด้วยตนเองและลงชื่อไว้ในสมุดบันทึก (ไดอารี่) และมอบสมุดบันทึกนั้นให้ น. ซึ่งเป็นหลานเก็บรักษาไว้ ต่อมาผู้ตายได้ขอกลับคืนไปโดยอ้างว่าผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาไม่พอใจที่มอบให้หลานเป็นผู้เก็บรักษาสมุดบันทึก ผู้คัดค้านกับ น. จึงถ่ายภาพพินัยกรรมและบันทึกข้อความในสมุดไว้ แล้วคืนสมุดให้ผู้ตาย ดังนี้ ต้นฉบับเอกสารน่าจะอยู่ที่ผู้ร้อง แต่ผู้ร้องปฏิเสธว่าไม่มีอยู่ที่ตน ศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบ และผู้คัดค้านได้สืบถึงที่มาของเอกสารสำเนาเอกสารจึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) ฟังได้ว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้