พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ต้องคิดจากโทษที่เหลืออยู่จากการลดครั้งก่อน ไม่ใช่จากโทษเดิม
การคำนวณลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเกี่ยวกับลักษณะโทษนั้น ต้องถือกำหนดโทษที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาแต่เมื่อกำหนดโทษตามคำพิพากษาได้ลดลงตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ คงเหลือเท่าใดแล้ว กำหนดโทษที่เหลืออยู่นั้น ก็ต้องถือเป็นกำหนดโทษหรือเกณฑ์ของโทษที่จะต้องรับอาญาต่อไป ถ้ามีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษต่อมาให้ลดโทษ ก็จะลดโทษจากกำหนดโทษซึ่งได้ลดมาจากคราวก่อน และคงเหลืออยู่นั้นจะถือตามโทษเดิมคงที่อยู่ไม่ได้เพราะได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายเลิกใช้มีผลย้อนหลัง: พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามอำนาจกฎหมายที่ถูกยกเลิก ย่อมสิ้นผลบังคับใช้ แม้การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนยกเลิก
เมื่อมีกฎหมายยกเลิกพระราชบัญญัติมอบอำนาจให้ออกพระราชกฤษฎีกาแล้ว พระราชกฤษฎีกานั้นก็ย่อมสิ้นผลบังคับไปด้วย ในกรณีเช่นนี้ จำเลขถูกฟ้องหาว่าได้กระทำความผิด พ.ร.ก.ย่อมได้รับประโยชน์จากกฎหมายยกเลิกนั้นโดยศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยมาบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายยกเลิกมีผลย้อนหลัง: พระราชกฤษฎีกาเลิกใช้ย่อมทำให้ความผิดที่อ้างอิงสิ้นผลไปด้วย ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
เมื่อมีกฎหมายยกเลิกพระราชบัญญัติมอบอำนาจให้ออกพระราชกฤษฎีกาแล้วพระราชกฤษฎีกานั้นก็ย่อมสิ้นผลบังคับไปด้วย ในกรณีเช่นนี้ จำเลยถูกฟ้องหาว่าได้กระทำความผิด พระราชกฤษฎีกาย่อมได้รับประโยชน์จากกฎหมายยกเลิกนั้นโดยศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยมาบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งใหม่: ศาลไม่ต้องชี้ขาดความชอบด้วยกฎหมายหากมีพระราชกฤษฎีกา
การร้องคัดค้านการเลือกตั้งก็เพื่อให้ศาลฎีกาสั่งเลือกตั้งในเขตนั้นใหม่ ถ้ามี พระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งในเขตนั้นแล้วศาลไม่ต้องชี้ขาดในประเด็นที่ว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนจะเป็นโดยชอบหรือไม่กรณีเช่นนี้ศาลต้องยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวประกอบอาชีพสาน: ความผิดตาม พ.ร.ก. อาชีพเฉพาะคนไทย
สิ่งจักสาน ซึ่งคนต่างด้าวผู้ประกอบอาชีพทำการสานจะมีความผิดตามใบแนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดอาชีพและวิชาชีพไว้สำหรับเฉพาะคนไทย2485 ข้อ 17 นั้น ต้องเป็นสิ่งจักสานเฉพาะสำหรับเป็นเครื่องใช้ในบ้านหรือโรงเรือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7053/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 460) พ.ศ.2549 เงินได้ที่จ่ายก่อนวันที่บังคับใช้ก็ได้รับยกเว้นหากเข้าหลักเกณฑ์
แม้ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 460) พ.ศ.2549 มาตรา 2 จะบัญญัติว่า ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2549 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไป แต่ตามความในมาตรา 3 (1) วรรคสอง บัญญัติให้เงินได้ที่ได้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ต้องจ่ายภายในห้ารอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป โดยไม่มีข้อความใดบัญญัติให้เงินได้ที่จ่ายตามมาตรา 3 (1) วรรคหนึ่ง ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จะต้องเป็นเงินได้ที่ได้จ่ายหลังวันที่ พ.ร.ฎ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 156) ฯ ซึ่งออกตาม พ.ร.ฎ ฉบับดังกล่าว ก็กำหนดเงื่อนไขในข้อ 3 ไว้แต่เพียงว่าต้องเป็นโครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นเงินได้ที่ได้จ่ายหลัง พ.ร.ฎ ฉบับนี้ใช้บังคับ ดังนั้น เงินได้ที่ได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ตามมาตรา 3 (1) และได้จ่ายนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป แม้ก่อนวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ย่อมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6913-6914/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทในเขตอุทยานฯ สิทธิครอบครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย รัฐมีสิทธิออกพระราชกฤษฎีกา
โจทก์มีเพียงเอกสารใบ ภ.บ.ท. 5 แสดงว่าโจทก์มีสิทธิเหนือที่ดินพิพาท แต่เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่เอกสารสิทธิแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองเหนือที่ดินที่พิพาทแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัย น. ครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อประมาณ ปี 2494 ก่อนบังคับใช้ประมวลกฎหมายที่ดินและรัฐยังไม่ได้จัดที่ดินเป็นอุทยานแห่งชาตินั้น ไม่ปรากฏว่า น. มีเอกสารใด ๆ แสดงกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินพิพาทหรือได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 180 วัน ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5 แสดงให้เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทอย่างไร ทั้งการครอบครองเป็นระยะเวลานานมากขนาดนี้น่าที่ผู้ครอบครองต้องมีเอกสารสิทธิเหนือที่ดินพิพาทบ้าง แต่ก็ไม่ปรากฏ และโจทก์ก็เพิ่งแจ้งเสียภาษีบำรุงท้องที่เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545 โดยบุคคลที่ครอบครองก่อนหน้าโจทก์ก็ไม่ปรากฏหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ข้อนำสืบดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ โดยง่าย ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ไม่น่าเชื่อว่า น. ครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินจริง แม้ฝ่ายจำเลยทั้งสองไม่ได้นำสืบโต้แย้งเรื่องโจทก์ครอบครองที่ดินต่อเนื่องกันมาก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองก็นำสืบอยู่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งโจทก์ต้องมีภาระพิสูจน์สิทธิของตนว่ามีอยู่จริง เมื่อไม่ปรากฏว่า น. มีสิทธิใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายเหนือที่ดินพิพาท น. จึงไม่มีสิทธิโดยชอบเหนือที่ดินพิพาทที่จะโอนต่อ ๆ มาจนถึงโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทไม่มีบุคคลใดถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย รัฐจึงออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 6 โจทก์ยึดถือครอบครองอาคารบ้านพักและอาคารอเนกประสงค์ในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองสั่งให้โจทก์รื้อถอนแล้วโจทก์ไม่รื้อถอน จำเลยทั้งสองจึงมีอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจรื้อถอนอาคารบ้านพักและอาคารอเนกประสงค์กับต้นมะพร้าวซึ่งปลูกอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติได้เองตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 21, 22 ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18280/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ไม่ครอบคลุมการยกเว้นโทษปรับ ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
จำเลยเป็นนักโทษเด็ดขาดและยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับก่อนที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว บัญญัติว่า "ผู้ต้องโทษ ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (1) ผู้ต้องกักขัง..." และมาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "กรณีผู้ต้องกักขังตามวรรคหนึ่ง (1) ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดและยังไม่ได้รับโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปในส่วนของโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือในส่วนของการกักขังแทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี" ดังนั้น จำเลยจึงได้รับประโยชน์ตามมาตรา 5 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่ไม่ต้องถูกกักขังแทนค่าปรับหากจำเลยยังไม่ชำระค่าปรับ แต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่ได้ให้จำเลยพ้นจากโทษปรับด้วย โทษปรับตามคำพิพากษาของจำเลยยังคงมีอยู่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าปรับ โจทก์จึงขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องเงินของจำเลยจำนวน 100,000 บาท ได้ กรณีไม่มีเหตุที่จะยกเลิกหมายบังคับคดีและคืนเงินดังกล่าวให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6648/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนตาม พ.ร.ฎ. ใหม่ และกำหนดระยะเวลาชำระเงิน
หลังจาก พ.ร.ฎ. ปี 2537 สิ้นสุดลง รัฐได้ออก พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ในปี 2542 ซึ่งฝ่ายจำเลยดำเนินการเวนคืนที่ดินและกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยอาศัย พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ การคำนวณดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสองจึงต้องพิจารณาตาม พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ ปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2542 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินของเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6980/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษหลังคดีถึงที่สุด มิใช่การใช้กฎหมายใหม่ที่บัญญัติหลังการกระทำผิด
การลดโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษเนื่องในวโรกาสหรือโอกาสต่าง ๆ ภายหลังคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษแต่ละฉบับ กรณีดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่ใช้ในขณะการกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดและโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จำเลยที่ 1 จะขอให้กำหนดโทษใหม่ได้ คำร้องของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 3 (1)