พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14795/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและพรากเด็กจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร
ผู้เสียหายที่ 2 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 1 ผู้เป็นป้า ตั้งแต่ผู้เสียหายที่ 2 อายุ 3 ปีเศษ เนื่องจากบิดามารดาของผู้เสียหายที่ 2 หย่าร้างกัน ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 อยู่ในฐานะผู้ดูแลผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยโทรศัพท์ชวนผู้เสียหายที่ 2 ไปพบแล้วพาขึ้นบ้านไปที่ระเบียง แล้วดึงแขนผู้เสียหายที่ 2 จากระเบียงพาเข้าห้องไปกระทำชำเรา เป็นการรบกวนล่วงอำนาจผู้ดูแลของผู้เสียหายที่ 1 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็รับฟังข้อเท็จจริงมาดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะใช้ถ้อยคำว่าผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ปกครองคลาดเคลื่อนไป ศาลฎีกาก็ปรับบทให้ถูกต้องได้ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความและตามฟ้องโจทก์ จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10284/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อกระทำชำเรา การนิยามความหมายของการ “พราก” และการรบกวนอำนาจปกครอง
คำว่า "พราก" ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล โดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะไปอยู่ที่ใด หากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่ เด็กย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตลอดเวลา ดังนี้ การพรากเด็กไม่ว่าผู้พรากเด็กจะเป็นฝ่ายชักชวนโดยมีเจตนามุ่งหมายที่จะกระทำชำเราเด็กเพียงอย่างเดียวก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 อยู่บ้าน จำเลยโทรศัพท์ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ให้ไปหาที่บ้านจำเลย แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปที่ห้องนอนของจำเลย และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ดังนี้ อำนาจปกครองผู้เสียหายที่ 1 จึงยังคงอยู่ที่ผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านของจำเลยแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากผู้เสียหายที่ 2 ย่อมทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 1 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่รู้เห็นยินยอมด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ กรณีความผิดพรากเด็กและกระทำชำเราโดยมีการสมรสภายหลัง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 ถึงวันใดไม่ปรากฏชัด เดือนมิถุนายน 2552 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ... แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์มิได้สืบให้ได้ความชัดว่าเหตุเกิดในวันเวลาใด แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ต้องฟังให้เป็นคุณแก่จำเลย คือจำเลยกระทำความผิดก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 ซึ่งมาตรา 277 วรรคท้าย (เดิม) เป็นคุณกว่ามาตรา 277 วรรคท้าย (ที่แก้ไขใหม่) เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรากฏว่าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกระบี่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน ดังนี้ สำหรับความผิดในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) จำเลยไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 277 วรรคท้าย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และพรากเด็กจากผู้ปกครอง ศาลลดโทษตามกฎหมายใหม่
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 มีอายุเพียง 13 ปีเศษ เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 มีอายุไม่เกินสิบห้าปีและมิใช่ภริยาของจำเลยไม่ว่าผู้เสียหายที่ 1 จะยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราหรือไม่ จำเลยย่อมมีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) และการที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเราที่บ้านของ ส. ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร จำเลยมีความผิดฐานพรากเด็กอาจไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามด้วย แต่ขณะกระทำความผิดจำเลยยังเป็นวัยรุ่นกระทำความผิดด้วยความคึกคะนอง ทั้งผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนและพฤติการณ์แห่งคดียังไม่ร้ายแรงนัก ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานกระทำชำเราจำคุก 12 ปี และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร จำคุกไม่เกิน 8 ปี โดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เห็นว่า เป็นการกำหนดโทษที่หนักเกินไปและการให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกไปเสียเลยนั้นย่อมไม่เป็นผลดีแก่จำเลยและสังคม จึงเห็นสมควรกำหนดโทษจำคุกเสียใหม่และให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีด้วยการรอการลงโทษให้จำเลย แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงเห็นสมควรคุมความประพฤติของจำเลยด้วย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21)ฯ มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และ 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน คดีนี้ขณะจำเลยกระทำความผิด จำเลยอายุสิบเจ็ดปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษจะต้องลดตามมาตรา 76 (เดิม) และมาตรา 75 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 395 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21)ฯ มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และ 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน คดีนี้ขณะจำเลยกระทำความผิด จำเลยอายุสิบเจ็ดปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษจะต้องลดตามมาตรา 76 (เดิม) และมาตรา 75 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 395 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11058/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและพรากเด็กเพื่ออนาจาร: พยานหลักฐานของผู้เสียหายมีน้ำหนักกว่าคำเบิกความของจำเลย
จำเลยฎีกาว่า การสอบสวนไม่ชอบเพราะพนักงานสอบสวนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้แสดงไว้โดยชัดแจ้งว่าพนักงานสอบสวนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10648/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีกระทำชำเราและพรากเด็ก การฎีกาในข้อเท็จจริงที่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีกับฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารเป็นกรรมเดียวกัน ลงโทษจำคุกจำเลย กระทงละ 4 ปี 8 เดือน รวม 2 กระทง จำคุก 8 ปี 16 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร กับความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็กและกระทำชำเรา ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานร่วมกันกระทำความผิดและลดโทษจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 และฐานร่วมกันกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามและมาตรา 277 วรรคสาม แต่มีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีโดยปราศจากเหุตอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกันซึ่งมีระวางโทษต่างกันไม่มากนัก และเป็นการแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องตามฟ้องโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะแก้โทษด้วยก็เป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เหมาะสมตามความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเด็กหญิงไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ที่ใช้บังคับขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จะต้องมีผู้ร่วมกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างน้อยสองคน โดยผลัดเปลี่ยนกันกระทำชำเราเด็กหญิงและโดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พา ต. มาและจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 ออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ หลังจากนั้น ต. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 และในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันยังมี ร. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับคนอื่นในการกระทำความผิดอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วออกไปจากที่เกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำโดยลำพังเฉพาะตัว ไม่มีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเด็กหญิงไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ที่ใช้บังคับขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จะต้องมีผู้ร่วมกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างน้อยสองคน โดยผลัดเปลี่ยนกันกระทำชำเราเด็กหญิงและโดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พา ต. มาและจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 ออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ หลังจากนั้น ต. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 และในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันยังมี ร. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับคนอื่นในการกระทำความผิดอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วออกไปจากที่เกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำโดยลำพังเฉพาะตัว ไม่มีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร: การพิจารณาจากผู้ดูแล และอำนาจศาลในการลงโทษตามข้อเท็จจริง
การพรากเด็กอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม คือการพรากไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายจะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา เนื่องจากไปทำงานเป็นพนักงานในร้านอาหารสาวสระแก้วที่จังหวัดชุมพรก็ตาม แต่บิดาของผู้เสียหายได้มอบหมายให้ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารสาวสระแก้วเป็นผู้ดูแลผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านของจำเลยและต่อมาได้กระทำชำเราผู้เสียหายจึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยได้โต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยได้โต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายไม่ได้อยู่กับบิดามารดา แต่ยังอยู่ภายใต้การดูแลของผู้อื่น
การพรากเด็กอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม คือการพรากเด็กไปเสียจากบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล แม้ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ว. จะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดา มารดา เนื่องจากไปทำงานเป็นพนักงานในร้านอาหาร ส. ที่จังหวัดชุมพรก็ตาม แต่บิดาของเด็กหญิง ว. ได้มอบหมายให้ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหาร ส. เป็นผู้ดูแลเด็กหญิง ว. การที่จำเลยพาเด็กหญิง ว. ไปที่บ้านของจำเลยและกระทำชำเราเด็กหญิง ว. จึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว
แม้คดีนี้ตามฟ้องของโจทก์จะเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดา มารดา เพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ดูแล เพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด อีกทั้งจำเลยโต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีเพียงว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
แม้คดีนี้ตามฟ้องของโจทก์จะเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดา มารดา เพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ดูแล เพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด อีกทั้งจำเลยโต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีเพียงว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานโดยไม่ระบุเอกสารเฉพาะเจาะจง และการพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากเด็กและกระทำชำเรา
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานโดยอันดับ 7 มิได้อ้างเอกสารเป็นแต่ละฉบับ เพียงระบุว่า บรรดาสรรพเอกสาร ซึ่งหมายถึงเอกสารหลายฉบับไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นเอกสารอะไร แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ในสำนวนการสอบสวนคดีนี้ จึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานโดยแสดงสภาพของเอกสารที่จะอ้างแล้ว จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารเป็นความผิดที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อมารดาผู้เสียหายที่ 2 ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปี จำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น เจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้การกระทำของจำเลยไม่สามารถแยกการกระทำแต่ละขั้นตอนออกจากกันโดยเด็ดขาดก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารเป็นความผิดที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อมารดาผู้เสียหายที่ 2 ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปี จำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น เจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้การกระทำของจำเลยไม่สามารถแยกการกระทำแต่ละขั้นตอนออกจากกันโดยเด็ดขาดก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91