คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานรับของโจร แม้ฟ้องฐานปล้นทรัพย์ ศาลลงโทษความผิดที่พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 2 กระทำผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานรับของโจรตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6299/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างสาระสำคัญในฟ้องกับการพิจารณา ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ศาลต้องไม่ลงโทษเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ้างหรือใช้ผู้มีชื่อให้ฆ่าผู้เสียหาย และผู้มีชื่อนั้นได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยว่าจ้าง ร.ไปฆ่าผู้เสียหายแต่ร. ไม่ทำตามที่จำเลยว่าจ้างคนร้ายที่ยิงผู้เสียหายไม่ใช่ผู้ที่จำเลยว่าจ้าง ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้และไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาความผิดฐานทำร้ายร่างกายอันเป็นความผิดได้ในตัวเอง
จำเลยเป็นบุตรเขยของผู้เสียหาย ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันก่อนเกิดเหตุร่วมดื่มสุราด้วยกันจนเมา สาเหตุที่ทะเลาะกันก็เป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย แม้มีดที่จำเลยแทงผู้เสียหายจะยาวถึง 8 นิ้วเศษและจำเลยแทงผู้เสียหายที่บริเวณชายโครงซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของผู้ตาย แต่จำเลยก็แทงเพียงครั้งเดียวโดยไม่ได้แทงซ้ำทั้ง ๆ ที่มีโอกาส เมื่อจำเลยเห็นผู้เสียหายมีโลหิตไหล จำเลยก็ใช้มือปิดแผลให้เพราะเกรงว่าโลหิตจะออกมาก แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายเพียงแต่มีเจตนาทำร้าย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานพยายามฆ่า แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น แต่การกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นการกระทำที่รวมอยู่ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น และเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกาและการพิจารณาคำสั่งศาลชั้นต้นที่เกี่ยวข้องกับฎีกา
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่โจทก์ภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาที่อาจยื่นฎีกาได้แล้วนั้นเป็นเรื่องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา การขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15 และไม่ว่าโจทก์จะยื่นฎีกามาด้วยหรือไม่ก็ตามก็ไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาไปถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้องฎีกานั้นด้วย เพราะยังมิใช่ขั้นตอนจะมีคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นในกรณีเช่นนี้จึงมิใช่คำสั่งในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จะรับหรือไม่รับฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 223 โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193วรรคแรก มิใช่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 วรรคแรกที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษายกอุทธรณ์เสียนั้นไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่ว่ามีเหตุอันควรขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้โจทก์หรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาใหม่ โจทก์มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษานั้นให้โจทก์ฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคแรก ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดไว้แล้ว หากโจทก์ประสงค์จะแก้ไขหรือเพิ่มเติมฎีกาของโจทก์นอกเหนือจากที่ฎีกาไว้เดิม โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอภายในกำหนดระยะเวลาที่ให้ยื่นฎีกา จะมายื่นฎีกาใหม่หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ เมื่อโจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับขอขยายระยะเวลาฎีกาภายหลังจากระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายสิ้นไปแล้วโดยไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือมีเหตุสุดวิสัยอย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2534)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอนาถา ก่อนคำสั่งรับฟ้องอุทธรณ์
จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลต้องมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก่อนมีคำสั่งคำฟ้องอุทธรณ์ ของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล และผลของการใช้คำสั่งระหว่างพิจารณา
เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขัดทรัพย์โดยให้ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมตามทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นราคาที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้ก่อน ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มโดยให้คำนวณทุนทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ภายในกำหนด 20 วัน ผู้ร้องทราบคำสั่งโดยชอบแล้วไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไว้ และจำหน่ายคดีของผู้ร้องคำสั่งดังกล่าวหาใช่คำสั่งที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสุดท้าย เนื่องจากมิใช่คำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ผู้ร้องต้องทำคำคัดค้านโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ต้องเสียเพิ่มมาชำระภายในเวลาที่ศาลกำหนดถือว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้ เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) แม้ปรากฏว่าศาลชั้นต้นใช้คำว่า "สั่งไม่รับคำร้องขัดทรัพย์"รวมอยู่ในคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องด้วย แต่ก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความไว้ด้วยถือว่าเป็นการใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อน ซึ่งมีผลเป็นว่าให้จำหน่ายคดีด้วยเหตุที่ผู้ร้องทิ้งคำร้องนั่นเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลประกอบการวินิจฉัย ไม่สามารถวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงเพียงการขาดงาน
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ การที่โจทก์แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยมิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อจำเลยนั้นคดีจึงยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่นั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่โจทก์แถลงรับดังกล่าว จึงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ ดังนี้การที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ติดต่อกันสามวันโดยไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องเพิกถอนหมายบังคับคดี: การพิจารณาข้อเท็จจริงถือเป็นการไต่สวนแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องว่ามิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี ศาลได้นัดคู่ความพร้อมกัน ในวันนัดศาลสอบข้อเท็จจริงจากทนายโจทก์ และพิเคราะห์เหตุผลตามคำร้องของจำเลย แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องดังนี้ การที่ศาลขึ้นนั่งพิจารณาแล้วสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาของโจทก์และการดำเนินการสืบพยานจำเลยโดยชอบตามกฎหมาย
ในคดีที่ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อนทุกประเด็น การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยนัดแรกโดยโจทก์ได้ทราบวันนัดโดยชอบแล้ว และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบแต่ประการใด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและดำเนินการสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไปในวันเดียวกันนั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าจำเลยได้ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว จึงชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๐๑ แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาจำเลยและการอนุญาตให้ทนายความถอนตัว
เมื่อศาลนัดสืบพยานโจทก์แล้ว ถึง วันนัดได้ มีการเลื่อนวันนัดออกไป และมีการเลื่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ออกไปอีกหลายครั้งโดย ไม่มีการสืบพยานโจทก์เลย จนกระทั่งได้ มีการสืบพยานโจทก์ครั้งแรกในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๒๙ ถือได้ ว่าวันดังกล่าวเป็นวันสืบพยานจำเลยไม่มาศาล ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๒ แล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทนายความถอนตัว ได้ โดย ไม่ต้องคำนึงถึง ว่าตัวความได้ แต่งตั้ง ทนายคนใหม่เข้ามาแล้วหรือไม่.
of 38