คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณาคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีล้มละลาย: การสะดุดหยุด และผลกระทบจากข้อผิดพลาดในการพิจารณาคดี
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2526 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จึงฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536อายุความตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา193/14 (2) และต้องเริ่มนับใหม่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดตามป.พ.พ.มาตรา 193/15 คือตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีล้มละลายเนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิมพ์ชื่อลูกหนี้ผิดพลาดไปและให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เมื่อวันที่16 มกราคม 2538 ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 แล้ว
ในคดีล้มละลายอีกคดีหนึ่งนั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2537 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2537 พร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหมายถึงเจ้าหนี้ให้วางเงินประกันค่าใช้จ่ายจำนวน 5,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดไว้ในคดีนี้ก่อนแล้ว แต่คดีนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังคดีดังกล่าวเพราะพิมพ์ชื่อลูกหนี้ผิดพลาดไป และให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เช่นนี้ เป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบดีอยู่แล้ว และมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าไม่เป็นความจริง ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจจะกล่าวอ้างว่าเจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องแสดงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ยังไม่ขาดอายุความแต่เจ้าหนี้มิได้ให้การในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถึงข้อเท็จจริงในคดีในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ตลอดจนสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ของเจ้าหนี้ที่มีต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องนั้นแล้วแต่ถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้และข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุมขังระหว่างพิจารณาคดี และการหักวันคุมขังออกจากโทษจำคุก ศาลฎีกาวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ว่าเมื่อจำเลยถูกขังในระหว่างพิจารณาในคดีหนึ่งแล้วจะถูกขังในคดีอื่นอีกไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นเวลาเดียวกับที่จำเลยถูกขังอยู่ในคดีอื่นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนับแต่วันที่ออกหมายขังจำเลยจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลาเกินกว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย ศาลชั้นต้นจึงปล่อยตัวไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบและการประวิงคดี ศาลมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้หากพยานหลักฐานในสำนวนชัดเจน
การร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคหนึ่งเป็นอำนาจของศาลที่จะทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา21(4)แต่ถ้าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องเพราะเหตุผู้ร้องไม่ไปศาลตามนัดโดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจสืบพยานตามที่ศาลได้กำชับไว้แล้วเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้นมิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดี และการพิสูจน์เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ไม่รู้เห็นการกระทำผิด
ในคดีอาญาที่โจทก์มีคำขอให้ริบของกลางนั้นประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 เพียงแต่บัญญัติ ว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือ 34 แล้วก็ให้เจ้าของแท้จริงยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดได้เท่านั้น แต่หาตัดสิทธิเจ้าของที่แท้จริงจะขอยื่นคำเสนอก่อนเวลาดังกล่าวไม่ฉะนั้น เจ้าของที่แท้จริงจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำฟ้องโดยวิธีประกาศและการขาดนัดพิจารณาคดี กรณีจำเลยไม่ทราบการฟ้องเนื่องจากสถานการณ์พิเศษ
แม้โจทก์จะได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์โดยศาลชั้นต้นอนุญาตซึ่งอาจถือได้ว่าจำเลยทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้วตามกฎหมายแต่เมื่อพิจารณาพยานจำเลยที่ว่าในช่วงเวลาที่โจทก์ประกาศหนังสือพิมพ์นั้นจำเลยบวชชีประจำอยู่ที่วัดซึ่งอยู่ในหุบเขาจึงไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจึงน่าเชื่อว่าจำเลยยังไม่ทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจริงจำเลยจึงไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและในวันนัดสืบพยานโจทก์นั้นจำเลยก็ไม่ได้มาศาลโดยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณากรณีจึงมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6362/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังภาพถ่ายเอกสารประกอบการพิจารณาคดี และการวินิจฉัยความประมาทจากภาพถ่ายความเสียหายของรถยนต์
คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างไม่ได้ตัวโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1ผู้ซึ่งขับรถยนต์ที่ชนกันทั้งสองคันมาเบิกความต่อศาล แม้จำเลยที่ 2 จะมีสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมาแสดงว่าพนักงานสอบสวน เปรียบเทียบปรับโจทก์ที่ 2 ให้ข้อหาขับรถโดยประมาท แต่รายงานดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ จำเลยที่ 2 อ้างเข้ามาเพื่อสนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงของตนซึ่งศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำมาสืบนั้นเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ เมื่อนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายความเสียหายของรถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันแล้วปรากฏว่าข้อเท็จจริงขัดกัน เชื่อว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในภาพถ่าย แม้โจทก์จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารค่าซ่อมรถให้จำเลยแต่ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพราะโจทก์ได้แนบภาพถ่ายใบเสนอราคาและใบสั่งจ่ายที่โจทก์ชำระค่าซ่อมรถมาท้ายฟ้องทั้งเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจึงมีอำนาจรับฟังได้ เอกสารที่ต้นฉบับหายศาลชั้นต้นยอมให้สืบพยานบุคคลประกอบสำเนาภาพถ่าย ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาภาพถ่ายมาสืบจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4828/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดี: วิธีการส่งหมายที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79นั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา74ถึง78แล้วถ้ายังสามารถส่งโดยวิธีธรรมดาได้การส่งหมายโดยใช้วิธีอื่นตามมาตรา79ย่อมเป็นการไม่ชอบดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศแจ้งนัดฟังคำพิพากษาที่หน้าศาลโดยมิได้ดำเนินการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาก่อนจะถือว่าจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาแล้วยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4592/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี ต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือสิทธิที่พิพาท
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 คู่ความฝ่ายใดในคดีนั้น ๆ จะร้องขอก็ได้ แต่จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอ เพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้นได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา กรณีที่จำเลยที่ 1ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินเช่นในคดีนี้ มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สินหรือสิทธิหรือประโยชน์ จำเลยที่ 1 จึงขอให้โจทก์นำทรัพย์สินหรือเงินมาวางศาลตามมาตรานี้ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4592/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือสิทธิที่พิพาท
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264คู่ความฝ่ายใดในคดีนั้นๆจะร้องขอก็ได้แต่จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอเพื่อให้ทรัพย์สินสิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้นได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษากรณีที่จำเลยที่1ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินเช่นในคดีนี้มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สินหรือสิทธิหรือประโยชน์จำเลยที่1จึงขอให้โจทก์นำทรัพย์สินหรือเงินมาวางศาลตามมาตรานี้ไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ทำเช่นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีและเสพเมทแอมเฟตามีนเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และผลกระทบของประกาศกระทรวงสาธารณสุขต่อการพิจารณาคดี
ความผิดฐานมีและเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำที่แยกได้จึงเป็นความผิดหลายกรรม ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางน้ำหนัก1.26กรัมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่กำหนดหรือไม่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา106ทวิเพราะประกาศดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลยและศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่2ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี จำเลยที่1มีอายุเพียง18ปี2เดือนกำลังศึกษาอยู่และเคยมีความประพฤติดีมีภาระต้องช่วยเหลือครอบครัวไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนและเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองมีเพียง18เม็ดน้ำหนัก1.26กรัมสมควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยรอการลงโทษแต่กำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติและลงโทษปรับ
of 48