พบผลลัพธ์ทั้งหมด 953 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเจตนาในพินัยกรรมและการเพิกถอนพินัยกรรมเดิมด้วยพินัยกรรมใหม่
หลักฐานที่เจ้ามรดกทำถึงผู้จัดการธนาคารขอเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีและตัวอย่างลายมือชื่อในบัญชีที่เจ้ามรดกฝากเงินไว้จาก ส.เป็น ส.หรือจำเลยที่ 2 ซึ่งหมายความว่า คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้สำหรับบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์และสำหรับบัญชีเงินฝากประเภทประจำ และในทางปฏิบัติผู้ที่มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีได้จะเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกัน และตามเอกสารซึ่งเป็นคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินที่เจ้ามรดกและจำเลยที่ 2 ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีข้อความระบุว่า ตามที่ ส.กับจำเลยที่ 2 ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีบัญชีเงินฝากประจำ ออมทรัพย์ กระแสรายวันและอื่น ๆ ไว้กับธนาคาร ข้าพเจ้าได้ตกลงกับธนาคารในการเบิกจ่ายเงินข้าพเจ้าทั้งสองคนหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงนามขอถอนเงิน ขอรับเงินหรือสั่งจ่ายเงินโดยใช้คำว่า ส.หรือจำเลยที่ 2 นั้น ข้าพเจ้าขอให้คำสั่งและสัญญาต่อธนาคารว่าถ้าข้าพเจ้าคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรม ขอยกเงินฝากส่วนของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ฝากที่ยังมีชีวิตอยู่ และให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะฝาก ถอน หรือติดต่อกับธนาคารได้ต่อไปจึงฟังได้ว่าการที่เจ้ามรดกใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับเจ้ามรดกนั้นมีเจตนาให้จำเลยที่ 2 ร่วมเป็นเจ้าของเงินของเจ้ามรดกที่มีในบัญชีนั้น ๆ ด้วยแต่เนื่องจากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้ามรดกต้องการให้จำเลยที่ 2 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมเป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องสันนิษฐานว่าเจ้ามรดกและจำเลยที่ 2มีส่วนเป็นเจ้าของเงินในบัญชีคนละครึ่ง
ข้อความตามที่ปรากฏในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่ 2 ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่า ต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละคน จึงมีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย หากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่ 2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ตามเอกสารหมาย จ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว จึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกทั้งหมด หรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดังกล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน 1,000,000 บาท ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลัง จึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในส่วนที่มีข้อความขัดกัน คือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา1697 จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาท
ข้อความตามที่ปรากฏในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่ 2 ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่า ต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละคน จึงมีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย หากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่ 2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ตามเอกสารหมาย จ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว จึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกทั้งหมด หรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดังกล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน 1,000,000 บาท ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลัง จึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในส่วนที่มีข้อความขัดกัน คือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา1697 จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมขัดแย้งกัน ศาลวินิจฉัยพินัยกรรมหลังมีผลเหนือกว่าเฉพาะส่วนที่ขัดแย้ง
หลักฐานที่เจ้ามรดกทำถึงผู้จัดการธนาคารขอเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีและตัวอย่างลายมือชื่อในบัญชีที่เจ้ามรดกฝากเงินไว้จากส.เป็นส.หรือจำเลยที่2ซึ่งหมายความว่าคนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้สำหรับบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์และสำหรับบัญชีเงินฝากประเภทประจำและในทางปฏิบัติผู้ที่มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีได้จะเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกันและตามเอกสารซึ่งเป็นคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินที่เจ้ามรดกและจำเลยที่2ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีข้อความระบุว่าตามที่ส.กับจำเลยที่2ได้เปิดบัญชีเงินฝากประจำออมทรัพย์กระแสรายวันและอื่นๆไว้กับธนาคารข้าพเจ้าได้ตกลงกับธนาคารในการเบิกจ่ายเงินข้าพเจ้าทั้งสองคนหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงนามขอถอนเงินขอรับเงินหรือสั่งจ่ายเงินโดยใช้คำว่าส.หรือจำเลยที่2นั้นข้าพเจ้าขอให้คำสั่งและสัญญาต่อธนาคารว่าถ้าข้าพเจ้าคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมขอยกเงินฝากส่วนของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ฝากที่ยังมีชีวิตอยู่และให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะฝากถอนหรือติดต่อกับธนาคารได้ต่อไปจึงฟังได้ว่าการที่เจ้ามรดกใส่ชื่อจำเลยที่2เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับเจ้ามรดกนั้นมีเจตนาให้จำเลยที่2ร่วมเป็นเจ้าของเงินของเจ้ามรดกที่มีในบัญชีนั้นๆด้วยแต่เนื่องจากไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าเจ้ามรดกต้องการให้จำเลยที่2มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมเป็นจำนวนเท่าใดจึงต้องสันนิษฐานว่าเจ้ามรดกและจำเลยที่2มีส่วนเป็นเจ้าของเงินในบัญชีคนละครึ่ง ข้อความตามที่ปรากฎในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่2ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่าต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละคนจึงมีลักษณะเป็นพินัยกรรมเมื่อมีการลงวันเดือนปีที่ทำผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันและพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคหนึ่งย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมายหากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่งตามเอกสารหมายจ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน1,000,000บาทแก่โจทก์โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วจึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมายจ.6ในข้อที่ว่าจำเลยที่2จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกทั้งหมดหรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดังกล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน1,000,000บาทตามพินัยกรรมเอกสารหมายจ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลังจึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมายจ.6ในส่วนที่มีข้อความขัดกันคือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน1,000,000บาทที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1697จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์จำนวน1,000,000บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมมีสิทธิร้องขอจัดการมรดกได้ แม้มีผู้จัดการมรดกอื่น
ปัญหาว่า ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องของผู้คัดค้านต่อศาลได้หรือไม่เป็นอำนาจฟ้อง แม้ผู้ร้องจะไม่ได้ยกขึ้นคัดค้านไว้ในคำร้องคัดค้านของตนแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงยกขึ้นฎีกาได้
ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมตามคำสั่งศาล ส่วนผู้ร้องที่ 1 กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 ว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาผู้ตายครึ่งหนึ่งรวมอยู่ด้วย และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 แบ่งเงินฝากธนาคารตามพินัยกรรมให้แก่ผู้คัดค้านครึ่งหนึ่งเช่นนี้ แสดงว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ครึ่งหนึ่งด้วย จึงมีสิทธิที่จะมาร้องขอจัดการมรดกในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกันกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมอีกได้ ไม่เป็นการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกซ้ำแต่อย่างใด
คดีก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า พินัยกรรมของผู้ตายระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับเงินของผู้ตายที่ฝากธนาคาร ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกลักษณะเฉพาะจึงมีสิทธิดีกว่าผู้คัดค้านในคดีนี้ พิพากษากลับให้ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิจัดการแก่เงินฝากทั้งหมดของผู้ตายที่มีอยู่ในธนาคาร ห้ามผู้คัดค้านขัดขวางการจัดการมรดกในส่วนนี้ ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าในคดีดังกล่าวไม่มีปัญหาวินิจฉัยเรื่องเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งว่าเป็นของผู้คัดค้านในคดีนี้ด้วยหรือไม่ แต่ในคดีนี้ข้อเท็จจริงยุติโดยได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดว่า ผู้คัดค้านคดีนี้มีสิทธิในเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาในคดีนี้ว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้ผู้คัดค้านเข้าจัดการมรดกร่วม จึงไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า หากให้ผู้คัดค้านมาจัดการมรดกผู้ตายร่วมกับผู้ร้องในคดีนี้แล้วจะทำให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลามาก เพราะผู้คัดค้านจะคอยคัดค้านอยู่เสมอ ทั้งผู้คัดค้านและผู้ร้องอยู่คนละประเทศการจัดการมรดกของผู้ตายแต่ละครั้งจะต้องเดินทางไปพบกันเพื่อร่วมรับมรดกซึ่งเป็นการยุ่งยากที่จะหาเวลาว่างให้ตรงกัน ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางจำนวนมาก ไม่สมควรที่จะให้ผู้คัดค้านจัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านของผู้ร้อง จึงเป็นฎีกานอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมตามคำสั่งศาล ส่วนผู้ร้องที่ 1 กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 ว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาผู้ตายครึ่งหนึ่งรวมอยู่ด้วย และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 แบ่งเงินฝากธนาคารตามพินัยกรรมให้แก่ผู้คัดค้านครึ่งหนึ่งเช่นนี้ แสดงว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ครึ่งหนึ่งด้วย จึงมีสิทธิที่จะมาร้องขอจัดการมรดกในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกันกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมอีกได้ ไม่เป็นการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกซ้ำแต่อย่างใด
คดีก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า พินัยกรรมของผู้ตายระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับเงินของผู้ตายที่ฝากธนาคาร ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกลักษณะเฉพาะจึงมีสิทธิดีกว่าผู้คัดค้านในคดีนี้ พิพากษากลับให้ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิจัดการแก่เงินฝากทั้งหมดของผู้ตายที่มีอยู่ในธนาคาร ห้ามผู้คัดค้านขัดขวางการจัดการมรดกในส่วนนี้ ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าในคดีดังกล่าวไม่มีปัญหาวินิจฉัยเรื่องเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งว่าเป็นของผู้คัดค้านในคดีนี้ด้วยหรือไม่ แต่ในคดีนี้ข้อเท็จจริงยุติโดยได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดว่า ผู้คัดค้านคดีนี้มีสิทธิในเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาในคดีนี้ว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้ผู้คัดค้านเข้าจัดการมรดกร่วม จึงไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า หากให้ผู้คัดค้านมาจัดการมรดกผู้ตายร่วมกับผู้ร้องในคดีนี้แล้วจะทำให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลามาก เพราะผู้คัดค้านจะคอยคัดค้านอยู่เสมอ ทั้งผู้คัดค้านและผู้ร้องอยู่คนละประเทศการจัดการมรดกของผู้ตายแต่ละครั้งจะต้องเดินทางไปพบกันเพื่อร่วมรับมรดกซึ่งเป็นการยุ่งยากที่จะหาเวลาว่างให้ตรงกัน ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางจำนวนมาก ไม่สมควรที่จะให้ผู้คัดค้านจัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านของผู้ร้อง จึงเป็นฎีกานอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกนอกพินัยกรรมมีสิทธิจัดการมรดกตามพินัยกรรมได้หากมีส่วนได้เสีย
ปัญหาว่า ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องของผู้คัดค้านต่อศาลได้หรือไม่เป็นอำนาจฟ้อง แม้ผู้ร้องจะไม่ได้ยกขึ้นคัดค้านไว้ในคำร้องคัดค้านของตนแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงยกขึ้นฎีกาได้ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมตามคำสั่งศาล ส่วนผู้ร้องที่ 1 กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 ว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาผู้ตายครึ่งหนึ่งรวมอยู่ด้วย และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 แบ่งเงินฝากธนาคารตามพินัยกรรมให้แก่ผู้คัดค้านครึ่งหนึ่งเช่นนี้ แสดงว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ครึ่งหนึ่งด้วย จึงมีสิทธิที่จะมาร้องขอจัดการมรดกในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวอันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกันกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมอีกได้ ไม่เป็นการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกซ้ำแต่อย่างใด คดีก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า พินัยกรรมของผู้ตายระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับเงินของผู้ตายที่ฝากธนาคารผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกลักษณะเฉพาะจึงมีสิทธิดีกว่าผู้คัดค้านในคดีนี้ พิพากษากลับให้ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิจัดการแก่เงินฝากทั้งหมดของผู้ตายที่มีอยู่ในธนาคาร ห้ามผู้คัดค้านขัดขวางการจัดการมรดกในส่วนนี้ ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้วซึ่งจะเห็นได้ว่าในคดีดังกล่าวไม่มีปัญหาวินิจฉัยเรื่องเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งว่าเป็นของผู้คัดค้านในคดีนี้ด้วยหรือไม่ แต่ในคดีนี้ข้อเท็จจริงยุติโดยได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดว่า ผู้คัดค้านคดีนี้มีสิทธิในเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาในคดีนี้ว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้ผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้ผู้คัดค้านเข้าจัดการมรดกร่วม จึงไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน ที่ผู้ร้องฎีกาว่า หากให้ผู้คัดค้านมาจัดการมรดกผู้ตายร่วมกับผู้ร้องในคดีนี้แล้วจะทำให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลามาก เพราะผู้คัดค้านจะคอยคัดค้านอยู่เสมอทั้งผู้คัดค้านและผู้ร้องอยู่คนละประเทศการจัดการมรดกของผู้ตายแต่ละครั้งจะต้องเดินทางไปพบกันเพื่อร่วมรับมรดกซึ่งเป็นการยุ่งยากที่จะหาเวลาว่างให้ตรงกัน ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางจำนวนมาก ไม่สมควรที่จะให้ผู้คัดค้านจัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านของผู้ร้อง จึงเป็นฎีกานอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่ขัดกฎหมายเมื่อระบุที่ดินผิดแปลงแต่เป็นที่ดินที่เจ้ามรดกมีอยู่จริง
เจ้ามรดกระบุจำนวนเนื้อที่ดินและสถานที่ตั้งของที่ดินตรงกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่เจ้ามรดกมีอยู่เพียงแปลงเดียวแต่ระบุว่าเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) อีกเลขหนึ่ง ซึ่งเป็นการผิดหลงไป ข้อกำหนดในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงไม่ขัดต่อกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1646
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมระบุเลขที่ น.ส.3.ผิด ศาลวินิจฉัยตามเจตนาจริงของเจ้ามรดก
เจ้ามรดกระบุจำนวนเนื้อที่ดินและสถานที่ตั้งของที่ดินตรงกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่เจ้ามรดกมีอยู่เพียงแปลงเดียวแต่ระบุว่าเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) อีกเลขหนึ่ง ซึ่งเป็นการผิดหลงไป ข้อกำหนดในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงไม่ขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1646
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมระบุเลขที่ น.ส.3 ผิดพลาด แต่เจตนาชัดเจนยกที่ดินให้ผู้รับมรดก ศาลยืนตามพินัยกรรม
เจ้ามรดกระบุจำนวนเนื้อที่ดินและสถานที่ตั้งของที่ดินตรงกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)ที่เจ้ามรดกมีอยู่เพียงแปลงเดียวแต่ระบุว่าเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)อีกเลขหนึ่งซึ่งเป็นการผิดหลงไปข้อกำหนดในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงไม่ขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ในการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองของปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ จำเลยแถลงร่วมกันว่าให้สืบพยาน ข.ปลัดอำเภอผู้กระทำการแทนนายอำเภอ ในขณะทำพินัยกรรมฉบับพิพาทในประเด็นเดียวว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับที่จำเลยอ้างหรือไม่ หากพยานเบิกความว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับดังกล่าวและพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริงแล้วโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำให้การจำเลยและโจทก์ยอมแพ้คดี แต่หากพยานเบิกความว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมและพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยอมแพ้คดี ปรากฏว่า ข.เบิกความว่าเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้ผู้ตายและพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริง ดังนี้ แม้พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมที่ทำนอกสถานที่โดย ข.ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอในขณะที่นายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่อยู่จึงมิได้ทำพินัยกรรมโดยฐานะเป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอก็ตาม และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1658 บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอ เป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองก็ตาม แต่เมื่อไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ในที่ใดว่านายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอจะมอบหมายหรือสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดดำเนินการแทนไม่ได้ และเมื่อนายอำเภอได้สั่งให้ ข.ปลัดอำเภอซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอแทนนายอำเภอ อันเป็นการสั่งตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการ ข.ย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำพินัยกรรมตามคำสั่งของนายอำเภอได้ดังนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริงสมตามคำท้าของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำพินัยกรรมของปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
นายอำเภอสั่งให้ ข. ปลัดอำเภอซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอแทนนายอำเภออันเป็นการสั่งตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการ ข. จึงมีอำนาจหน้าที่ทำพินัยกรรมตามคำสั่งของนายอำเภอได้ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมถูกต้องตามกฎหมาย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้เขียน และการยกสินสมรส
ส.ผู้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 3 คนซึ่งพยานทั้งสามคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของ ส.ไว้ เป็นการทำพินัยกรรมถูกต้องตามแบบตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656 แล้ว แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามป.พ.พ.มาตรา 1671 แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1705 ก็มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะฉะนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย ส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1481
กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย ส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1481