คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องขับไล่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 584 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินหลังข้อตกลงเบื้องต้น สิทธิในการครอบครองและการฟ้องขับไล่
ปัญหาว่า โจทก์ได้มอบการครอบครองทรัพย์สินที่จะซื้อขายแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน สัญญาจะซื้อขายจึงเกิดขึ้นโดยมิต้องทำเป็นหนังสือกันอีก จึงไม่ต้องห้ามที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง นั้น เป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามีข้อความระบุว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการตั้งจำเลยที่ 2 เข้าครอบครองทรัพย์สินพิพาทเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายเสร็จ ทั้งนี้การครอบครองชั่วคราวจะไม่เกินวันที่ 31กรกฎาคม 2530 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันจำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิอยู่ในทรัพย์สินพิพาทจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2530หลังจากนั้นเป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวได้
การที่โจทก์มีหนังสือหลังจากวันดังกล่าวแจ้งให้จำเลยที่ 2ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์สินพิพาทให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2530 หาใช่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ครอบครองทรัพย์สินพิพาทถึงวันดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์เตือนให้จำเลยที่ 2 ออกไปจากทรัพย์สินพิพาท หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ในทรัพย์สินที่พิพาทโดยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7331/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่าหลังการซื้อขายทรัพย์สิน และสิทธิในการฟ้องขับไล่ของผู้ซื้อ
ส.ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกแถวให้แก่โจทก์ก่อนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับส.จะมีผลบังคับสัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวต่อไป และได้บอกกล่าวแล้วจำเลยจึงต้องออกไปจากตึกแถว เมื่อจำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่ซ้ำซ้อนหลังศาลตัดสินเรื่องกรรมสิทธิ์เดิม: ฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
แม้คดีก่อนที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยกับคดีนี้คู่ความที่ฟ้องและถูกฟ้องจะผลัดกันเป็นโจทก์ จำเลย แต่คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ในคดีก่อนกับคดีฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยในคดีนี้ก็ถือเป็นคดีประเภทเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(1) เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นได้พิพากษาในประเด็นแห่งคดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์ฟ้องคดีนี้ให้ขับไล่จำเลยอีก โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท คดีโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเดียวกัน อันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6529/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการละเมิดจากการครอบครองที่ดินหลังสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน การแปลงหนี้ใหม่
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ส. กับพวกที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายจากโจทก์แล้วผิดสัญญาจะซื้อจะขายไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายเป็นเรื่องระหว่างโจทก์และ ส. กับพวก จำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาไม่จำต้องปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวทั้งโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยละเมิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทโดยอ้างว่า ส. กับพวกไม่ชำระเงินที่ค้างตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้ ส.กับพวกชำระแล้วแต่ส. กับพวกไม่ชำระถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกัน จำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิ ส. กับพวกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิเป็นละเมิด ดังนี้เหตุที่อ้างในฟ้องคดีนี้เป็นเหตุที่อ้างขึ้นใหม่คนละเหตุกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้จำเลยรับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตจาก ส. เสียค่าตอบแทนและครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ก็เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้คือโจทก์กับลูกหนี้คนใหม่คือจำเลย เมื่อปรากฏว่าไม่ได้ทำ หนี้ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กัน ส. กับพวกอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายอันเป็นการครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว ส. กับพวกและจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมา จึงเป็นการละเมิดโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การฟ้องขับไล่, และการยกข้ออ้างเรื่องความไม่สุจริตในการโอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริต จำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 5,000 บาท จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การฟ้องขับไล่, และประเด็นการนำสืบพยานในศาล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตเมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริตจำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณาโจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา2ครั้งเป็นการไม่ชอบแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติเพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง7วันแสดงว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคสอง ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริตมูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตามแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่2มีนาคม2524จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหายเป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาทผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท274,665บาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์274,665บาทฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค1กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000บาทจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ไม่ต้องอ้างสัญญาเช่า หากจำเลยเข้าครอบครองที่ดินโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่า แต่ฟ้องขับไล่เนื่องจากจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องระบุรายละเอียดว่า จำเลยเช่าที่ดินส่วนไหนของที่ดินโจทก์ ที่ดินที่เช่ามีจำนวนเท่าใด ทำสัญญาเช่ากันหรือไม่ และคิดค่าเช่าเท่าใด ทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยเช่าที่ดินจากโจทก์ ที่ดินที่จำเลยปลูกโรงเรือนเป็นที่สาธารณะ แสดงว่าจำเลยทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทอยู่บริเวณใดของที่ดินโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดสัญญาเช่า หากจำเลยอ้างว่าไม่เคยเช่า
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่า แต่ฟ้องขับไล่เนื่องจากจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องระบุรายละเอียดว่า จำเลยเช่าที่ดินส่วนไหนของที่ดินโจทก์ ที่ดินที่เช่ามีจำนวนเท่าใด ทำสัญญาเช่ากันหรือไม่และคิดค่าเช่าเท่าใด ทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยเช่าที่ดินจากโจทก์ ที่ดินที่จำเลยปลูกโรงเรือนเป็นที่สาธารณะ แสดงว่าจำเลยทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทอยู่บริเวณใดของที่ดินโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5836/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การฟ้องขับไล่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม, อุทธรณ์ไม่ชัดเจน, หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ
แม้ศาลชั้นต้นจะชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยมิได้หยิบยกปัญหาเรื่องหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในปัญหาดังกล่าวการที่จำเลยฎีกาปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ย่อมไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาทฟ้องขับไล่จำเลยเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เพื่อต่อสู้กับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 302 นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ได้ทรัพย์สินคืนมาแล้วต้องเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมร่วมกัน โจทก์จะอ้างเอาเป็นของตนแต่ผู้เดียวไม่ได้เท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า โจทก์ไม่เสียหาย อุทธรณ์ของจำเลยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการพิพาทเรื่องที่ดิน: อำนาจฟ้องและการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องสาธารณสมบัติ
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปปลูกในที่ดินพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังว่า ที่ดินพิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครองโดยซื้อมาจาก ป.และ ค. เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
of 59