คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องซ้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนสิทธิบัตร: คดีมีประเด็นเดียวกัน จำเลยซ้ำ และความรับผิดของกรรมการ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่2ที่5และที่6ในคดีนี้ว่าร่วมกันผลิตม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรของโจทก์และร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นละเมิดต่อโจทก์ดังนี้เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยที่คดีก่อนกับคดีนี้มีประเด็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือไม่มีไว้เพื่อขายซึ่งม่านเหล็กบังตาอันเป็นการกระทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิ์บัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วยแต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกันมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรงจำเลยผลิตและขายม่านบังตาก่อนเกิดเหตุและตลอดมาการที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเนื่องจากถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยกเครื่องจักรไปต่อมาเมื่อได้รับคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ได้ใช้เครื่องผลิตม่านบังตาตามปกติต่อมาต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน จะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มนับใหม่หาได้ไม่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่1ที่2ที่5และที่6เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)และกรณีที่จะเป็นฟ้องซ้อนนอกจากคดีจะต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันแล้วจำเลยยังจะต้องเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีก่อนด้วย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่3ที่4เป็นกรรมการของจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่1และจำเลยอื่นกระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่3ที่4กระทำในฐานะส่วนตัวก็หาใช่ว่าจะไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะหากฟังได้ว่าจำเลยที่3และที่4ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่3และที่4ร่วมกันทำ ละเมิดต่อโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาตามลำดับชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้อนในคดีรับชำระหนี้จากกองมรดก แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ตายให้ชำระหนี้ให้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ โดยจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ของผู้ตายให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐาน เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตาย โดยมีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นดังฟ้องของโจทก์เพียงใดหรือไม่ซึ่งคดีนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์ และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตาย กับจำเลยที่ 4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับผิดชำระหนี้ที่ผู้ตายนำไม้รายเดียวกับในคดีก่อนไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์ โดยอ้างว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนเงินมากกว่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน โจทก์จึงนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องคดีนี้นั้น เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับการฟ้องคดีก่อน และคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนในส่วนที่ว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์เพียงใดหรือไม่ แม้จะได้ความดังกล่าว กรณีก็มิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้นและคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้นำคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันนั้นมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีชำระหนี้จากกองมรดกที่ฟ้องซ้ำกับคดีเดิมที่ยังพิจารณาอยู่
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่ส่งมอบเงินให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากกองมรดกของผู้ตายและคดีถึงที่สุดการที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมกับจำเลยที่4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายชำระหนี้รายเดียวกันโดยอ้างว่าเป็นหนี้ที่เหลือจากที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน - การฟ้องขอชำระหนี้จากกองมรดกซ้ำกับคดีเดิมที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้ชำระหนี้ให้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์โดยจำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ทำหนังสือรับสภาพเจ้าหนี้ให้โจทก์ไว้เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายชำระหนี้ให้แก่โจทก์การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายกับจำเลยที่4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับผิดชำระหนี้ที่ผู้ตายนำไม้รายเดียวกันในคดีก่อนไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์โดยอ้างว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนเงินมากกว่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องคดีนี้นั้นเป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับการฟ้องคดีก่อนแต่กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแต่เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา173วรรค(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำซ้อนในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างพิจารณา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ตายให้ชำระหนี้ให้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์โดยจำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ทำหนังสือ รับสภาพหนี้ของผู้ตายให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานเป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายโดยมี ประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นดังฟ้องของโจทก์เพียงใดหรือไม่ซึ่งคดีนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์และ คดีถึงที่สุดแล้วการทีโจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่1ที่2และที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายกับจำเลยที่4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับผิดชำระหนี้ที่ผู้ตายนำไม้รายเดียวกับในคดีก่อนไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์โดยอ้างว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนเงินมากกว่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงนำ หนี้ที่เหลือมาฟ้องคดีนี้นั้นเป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับการฟ้องคดีก่อนและคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนในส่วนที่ว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์เพียงใดหรือไม่แม้จะได้ความดังกล่าวกรณีก็มิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแต่อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้นและคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้นำคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันนั้นมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นอีกจึงเป็นการ ฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: สัญญาซื้อขายฉบับเดียวกัน คดีเก่าอยู่ระหว่างพิจารณา ฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อนตามกฎหมาย
สัญญาซื้อขายที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในคดีนี้เป็นฉบับเดียวกับที่โจทก์ได้เคยนำไปฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในคดีก่อนและมิใช่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนจึงเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยตามสัญญาฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อนซึ่งมีมูลเหตุอย่างเดียวกันเมื่อคดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างระหว่างมูลหนี้สัญญาซื้อขายกับมูลหนี้ละเมิด: การฟ้องเรียกราคาซื้อขายไม่เป็นการฟ้องซ้อน
ตามคำฟ้องบรรยายว่า โจทก์ประกอบธุรกิจรับผลิตกระเป๋าหนังเมื่อมีลูกค้าสั่งทำสั่งซื้อ โจทก์ก็จะทำการผลิตตามที่ลูกค้ากำหนดแล้วส่งมอบให้แก่ลูกค้าเมื่อจำเลยในฐานะลูกค้าสั่งให้โจทก์ผลิตกระเป๋าส่งให้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยต่างมีเจตนาให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์คือกระเป๋าหนังโดยโจทก์ในฐานะผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อและผู้ซื้อตอบแทนด้วยการใช้ราคา อันมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นสัญญาจ้างทำของ
โจทก์ได้ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนตามข้อตกลงแล้ว แต่จำเลยยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกร้อยละ 75 โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระราคาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งจำเลยซื้อไปและยังไม่ได้ชำระราคาได้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์ก็เป็นการบรรยายฟ้องในลักษณะเล่าเรื่องตามความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงให้ทำกระเป๋าโดยจ่ายเงินเพียงร้อยละ 25 ของราคาทั้งหมด การจะปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดนั้นเป็นข้อหารือบทเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายเอง แม้จะกล่าวในฟ้องว่าเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืนหรือใช้ราคาก็หาเป็นเรื่องละเมิดเสมอไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกินคำขอ
ในคดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานความผิดร่วมกันฉ้อโกง และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไป ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญานั้น แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายที่ทำให้เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องในมูลแห่งสัญญาซื้อขายที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันคือขอให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์กระเป๋าหนังที่จำเลยรับไป แต่ยังค้างชำระราคาแก่โจทก์อยู่ แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน เพราะในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกง ส่วนคดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์เรียกร้องเอามูลค่าทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยังค้างชำระราคาอยู่ มิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีอาญาเรื่องก่อนดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายกับฟ้องซ้อน: ศาลวินิจฉัยฟ้องซื้อขายไม่ซ้ำซ้อนกับคดีอาญาฉ้อโกง แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน
โจทก์ประกอบธุรกิจรับผลิตกระเป๋าหนังเมื่อมีลูกค้าสั่งทำสั่งซื้อโจทก์ก็จะผลิตตามที่ลูกค้ากำหนดแล้วส่งมอบให้แก่ลูกค้าการที่จำเลยที่1ในฐานะลูกค้าสั่งให้โจทก์ผลิตกระเป๋าส่งให้ความสัมพันธ์จึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาจ้างทำของเมื่อโจทก์ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยที่1รับไปครบถ้วนแล้วแต่จำเลยที่1ยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกโจทก์จึงชอบจะฟ้องให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สินได้แม้จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์จึงขอเรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาก็เป็นความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงตามข้อตกลงการปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดเป็นหน้าที่ของศาลศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ฉะนั้นการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่1ใช้ราคาจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องและเกินคำขอ แม้โจทก์จะเคยเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไปก็ตามแต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ในคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่ความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้นส่วนคดีนี้แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกันโดยข้ออ้างที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นการกระทำผิดอาญาอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกงซึ่งเป็นมูลหนี้ละเมิดแต่คดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขายจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)และไม่เป็นฟ้องซ้ำด้วยเพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีอาญาดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซื้อขายไม่อาจถือเป็นฟ้องซ้อนคดีอาญาฉ้อโกง แม้คำขอท้ายฟ้องคล้ายกัน หากมูลเหตุต่างกัน
โจทก์ได้ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายแล้วแต่จำเลยยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกร้อยละ75โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระราคาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งจำเลยซื้อไปและยังไม่ได้ชำระราคาได้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงก็เป็นการบรรยายฟ้องในลักษณะเล่าเรื่องตามความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงให้ทำกระเป๋าโดยจ่ายเงินเพียงร้อยละ25ของราคาทั้งหมดการจะปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดเป็นข้อหารือบทเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับกฎหมายเองแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืนหรือใช้ราคาก็หาเป็นเรื่องละเมิดเสมอไปไม่ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ว่าเป็นเรื่องซื้อขายไม่เป็นการนอกฟ้อง ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานร่วมกันฉ้อโกงและขอให้คืนหรือใช้ราคาเงินค่ากระเป๋าที่ฉ้อโกงซึ่งเป็นผู้เสียหายไปศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องแต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาแม้จะถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43ก็ตามแต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้นส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายที่เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องในมูลแห่งสัญญาซื้อขายที่มีต่อกันอยู่ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็มิได้เป็นอย่างเดียวกันซึ่งในคดีอาญาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกงแต่คดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขายโดยโจทก์เรียกร้องเอามูลค่าทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยังค้างชำระอยู่มิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน, ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, การประวิงคดี: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173(1) หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา24 ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้องของจำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
of 31