คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรยังไม่ถึงที่สุดก่อนฟ้องล้มละลาย ทำให้ไม่สามารถนำมาฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หนี้ภาษีอากรซึ่งโจทก์ประเมินแต่มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบโดยชอบ ทำให้จำเลยไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) ของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความ, การซื้อขายหุ้น, และการฟ้องล้มละลาย: การกระทำของทนายความและหนี้จากการซื้อขายหุ้น
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามว่า เมื่อทนายความได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีใดแล้วจะทำหน้าที่เป็นทนายความในคดีนั้นอีกไม่ได้ฉะนั้นเมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ก. ฟ้องคดีแทน และโจทก์ได้แต่งตั้งก. ให้ทำหน้าที่เป็นทนายความของตนอีกฐานะหนึ่งด้วย ก. จึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าความแทนโจทก์ในคดีนั้นได้ไม่ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรค 2
พระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติไว้เพื่อกิจการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉพาะการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 เมื่อการซื้อขายหุ้นโจทก์ได้ทำตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง และไม่ถือเป็นเรื่องการพนันหรือขันต่อ
โจทก์ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตามคำสั่งของจำเลย เมื่อมีการคิดบัญชีและหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 397,457.71 บาท โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยบทสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5355/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลายจากเช็ค - ความรับผิดฐานผู้สลักหลัง
ป. นำเช็คซึ่งตนเป็นผู้ลงชื่อสั่งจ่ายมาขายลดแก่โจทก์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2526 โดยจำเลยที่ 3 ลงชื่อสลักหลังและประทับตราของ บริษัทจำเลยที่ 1 เช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายวันที่ 25 พฤษภาคม 2526 กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาขายลดเช็คอันจะต้องรับผิด ต่อโจทก์ด้วยการที่โจทก์นำเช็คดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ก็โดยอาศัยมูลหนี้ที่เกิดจากความรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาท ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2529 คดีจึงขาดอายุความ โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้ จำเลยที่ 1 ล้มละลาย โดยอาศัยมูลหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5355/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลายจากเช็คลดราคา การระบุคู่สัญญาและความรับผิดฐานผู้สลักหลัง
ป. นำเช็คซึ่งตนเป็นผู้ลงชื่อสั่งจ่ายมาขายลดแก่โจทก์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2526 โดยจำเลยที่ 3 ลงชื่อสลักหลังและประทับตราของ บริษัทจำเลยที่ 1 เช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายวันที่25 พฤษภาคม 2526 กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาขายลดเช็คอันจะต้องรับผิด ต่อโจทก์ด้วยการที่โจทก์นำเช็คดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ก็โดยอาศัยมูลหนี้ที่เกิดจากความรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาท ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2529 คดีจึงขาดอายุความ โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้ จำเลยที่ 1 ล้มละลาย โดยอาศัยมูลหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นแทนจำเลยไปในฐานะตัวแทนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวการโจทก์ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นที่ยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปตาม ป.พ.พ.มาตรา241,244และ819 การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นไม่ทำให้สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตาม ป.พ.พ.เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา6และในการฟ้องให้จำเลยล้มละลายนั้นโจทก์จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยมิฉะนั้นแล้วฟ้องของโจทก์ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการโจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนเช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อนทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241,244และ819แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2517ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้นสิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา6(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528)ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, การรับช่วงสิทธิ, และการฟ้องล้มละลายจากหนี้ส่วนตัวและหนี้ของห้างหุ้นส่วน
หนี้ที่จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2ให้ล้มละลายในคดีก่อนนั้น เป็นหนี้อันเกิดแต่มูลหนี้ส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ แม้จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้เป็นลูกหนี้ที่ถูกฟ้องด้วย โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เจ้าหนี้โดยตรงของจำเลยที่ 2 ในอันที่จะใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการด้วยก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ที่อาจใช้สิทธิเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดคนใดคนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1070,1080 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการให้ร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองได้รับการทวงถามให้ชำระหนี้แล้วไม่ชำระโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
จำเลยที่ 1 มอบฟิล์มภาพยนตร์ให้ไว้แก่ธนาคาร ท. เพื่อยึดถือไว้เป็นการประกันหนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต้องใช้เงินแก่ธนาคาร ท. แทนจำเลยที่ 1 ธนาคาร ท. ได้มอบฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงเข้าเป็นผู้รับช่วงสิทธิในฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวในอันที่จะยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันหนี้เช่นเดียวกัน มิใช่เป็นเรื่องโจทก์รับซื้อฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยตีราคาเท่าหนี้สินที่โจทก์ค้ำประกันไว้ อันจะทำให้หนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรที่ฟ้องล้มละลายแล้ว แม้ขาดอายุความ ก็มิอาจยกเป็นเหตุห้ามรับชำระหนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจยกอายุความมาเป็นเหตุยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ หากเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยลูกหนี้ให้เป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้อย่างเดียวกัน ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีถึงที่สุด เพราะหากหนี้ขาดอายุความ ศาลย่อมไม่ฟังว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายแม้มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียว และมีหนี้สินล้นพ้นตัว
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 1 ล้านบาทเศษคดีถึงที่สุดจำเลยไม่มีทรัพย์สินนอกจากสิทธิได้รับเงินบำนาญดังนี้ จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้จำเลยเป็นหนี้โจทก์รายเดียว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องล้มละลาย กฎหมายมิได้กำหนดว่าลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ต่อเจ้าหนี้หลายราย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084-2085/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาเกิดขึ้นเมื่อศาลพิพากษา ไม่ใช่เมื่อบังคับคดี อายุความสะดุดหยุดเมื่อฟ้องล้มละลาย
หนี้เงินที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำมาชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งตามมาตรา 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ถือว่าผูกพันคู่ความนับตั้งแต่วันที่ศาลได้พิพากษา หนี้เงินตามคำพิพากษาจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลได้พิพากษาหาได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยรับคำบังคับไม่
หนี้เงินตามคำพิพากษาคดีแพ่งนั้น เป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษา ซึ่งตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี
โจทก์ได้ฟ้องจำเลยให้เป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้จำนวนเงินตามคำพิพากษาคดีแพ่งภายในกำหนดอายุความ 10 ปี เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังศาลแล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่ตามนัยมาตรา 175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ยื่นในระหว่างอายุความสะดุดหยุดอยู่ จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94 (1)
of 15