คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุวันเวลาที่เกิดเหตุ และการตีความตามเจตนาของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ โดยบรรยายฟ้องว่า "...เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 เวลากลางวัน ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค ได้นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขา 129 ลาดพร้าว เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยแจ้งว่า โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย..." เช่นนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นวันเดียวกับวันที่โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์นั้นเอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิดคือ วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เป็นฟ้องที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุวันเวลาเกิดเหตุในคดีเช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ โดยบรรยายฟ้องว่า "...เมื่อวันที่ 20มีนาคม 2528 เวลากลางวัน ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค ได้นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายที่ธนาคารกรุงเทพจำกัด สาขา 129 ลาดพร้าว เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นแต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยแจ้งว่า โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย.."เช่นนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นวันเดียวกับวันที่โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์นั้นเองฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิด คือ วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เป็นฟ้องที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุวันปฏิเสธการจ่ายเช็คในฟ้องอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ โดย บรรยายฟ้องว่า"...เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 เวลากลางวัน ผู้เสียหายซึ่ง เป็นผู้ทรงเช็ค ได้ นำเช็ค ดังกล่าวไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายที่ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา 129 ลาดพร้าว เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค นั้น แต่ ธนาคารได้ ปฏิเสธการจ่ายเงินโดย แจ้งว่า โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย..." เช่นนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นวันเดียวกับวันที่โจทก์นำเช็ค เข้าบัญชีของโจทก์นั้นเอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิด คือ วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เป็นฟ้องที่ชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาด้วยวาจาไม่เคลือบคลุม หากรายละเอียดเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ และการรับสารภาพแล้ว โต้เถียงข้อเท็จจริงไม่ได้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องคดีด้วย ลายลักษณ์อักษรเพียงแต่มีรายละเอียดพอสมควร ให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5 ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9 อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจเข้าทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9 ส่วนจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5 ย่อมมีความหมายว่าแต่ละฝ่ายมีพวกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้ร่วมกันกระทำความผิดในการทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะเป็นตัวการ ซึ่งโจทก์ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 มาด้วยแล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยคนใดชกต่อยหรือทำร้ายจำเลยคนใดก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่างทำร้ายซึ่งกันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1, 2, 4 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่า บาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตสมาคมและการสิ้นสุดสภาพกรรมการ การฟ้องอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสมาคม ศ. เป็นการกระทำต่อสมาคม ศ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมิได้กระทำต่อโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคณะกรรมการของสมาคม ศ. เป็นส่วนตัว และเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะนายทะเบียนสมาคมจังหวัดมีประกาศขีดชื่อสมาคม ศ. ออกจากทะเบียนสมาคมแล้ว อันเป็นเหตุให้สมาคม ศ. ต้อง เลิกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1292(7) ไม่ได้เป็นนิติบุคคลอีกต่อไป โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นกรรมการของสมาคม ศ. ในขณะนั้นจึงต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการของสมาคม ศ. ไปด้วย ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือความสัมพันธ์ใด ๆ เกี่ยวข้องกันอีก แม้โจทก์ทั้งเจ็ดจะได้ บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับการดูหมิ่น เหยียดหยามจากบุคคลอื่น และอาจถูกสมาชิกของสมาคม ศ. เรียกร้องค่าเสียหายได้นั้น ก็เป็นความรู้สึกและคาดคิดส่วนตัวของโจทก์ทั้งเจ็ดเองถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายเนื่องจากการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายเขตควบคุมการแปรรูปไม้และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และจำเลยได้ทราบประกาศกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ของทางราชการแล้ว ดังนี้ โจทก์ได้ระบุมาในฟ้องแล้วว่าสถานที่ซึ่งจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้นอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดแล้ว ส่วนที่โจทก์มิได้แนบสำเนาประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้มาพร้อมฟ้อง ก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ สำหรับสถานที่ซึ่งอ้างว่าจำเลยกระทำผิดอยู่ภายในเขตควบคุมหรือไม่ ก็เป็นเพียงประเด็นข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งโจทก์บรรยายด้วยว่าประกาศดังกล่าวกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5).(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเขตควบคุมการแปรรูปไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และจำเลยได้ทราบประกาศกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ของทางราชการแล้ว เป็นการระบุมาในฟ้องแล้วว่าสถานที่ซึ่งจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้นอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดแล้ว ส่วนที่โจทก์มิได้แนบสำเนาประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้มาพร้อมฟ้อง ก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์สำหรับสถานที่ซึ่งอ้างว่าจำเลยกระทำผิดอยู่ภายในเขตควบคุมหรือไม่ ก็เป็นเพียงประเด็นข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งโจทก์บรรยายด้วยว่าประกาศดังกล่าวกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลต้องยกฟ้อง
ฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ เป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (7) เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะให้แก้ไขเสียแล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายลายมือชื่อโจทก์ ทำให้ศาลต้องยกฟ้อง
ฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ เป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะให้แก้ไขเสียแล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษา ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเพียงพอของฟ้องอาญา: การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประชาชน แม้ไม่ระบุชื่อเจ้าพนักงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ดังนี้แม้จะมิได้ระบุชื่อของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งก็ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 55