พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมระงับสิ้นเนื่องจากไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี แม้เคยมีสิทธิมาก่อน
จำเลยได้ปลูกบ้านและทำประตูรั้วปิดกั้นทางพิพาทมานานประมาณ 20 ปีแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยตลอดมา ถึงแม้โจทก์จะเคยได้ภารจำยอมเหนือทางพิพาทมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ต่อมาโจทก์ยอมรับสิทธิเหนือทางพิพาทของจำเลย ฐานะของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปเป็นการใช้ทางพิพาทโดยความยินยอมของจำเลยเป็นเวลานานถึง 20 ปี ย่อมถือได้ว่าภารจำยอมระงับสิ้นไปเพราะการไม่ใช่ภารจำยอมเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย จึงไม่เป็นทางภารจำยอมอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมระงับสิ้นเนื่องจากการไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี แม้เคยมีสิทธิมาก่อน
จำเลยได้ปลูกบ้านและทำประตูรั้วปิดกั้นทางพิพาทมานานประมาณ20ปีแล้วหลังจากนั้นโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยตลอดมาถึงแม้โจทก์จะเคยได้ภารจำยอมเหนือทางพิพาทมาก่อนหน้านั้นแล้วแต่ต่อมาโจทก์ยอมรับสิทธิเหนือทางพิพาทของจำเลยฐานะของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปเป็นการใช้ทางพิพาทโดยความยินยอมของจำเลยเป็นเวลานานถึง20ปีย่อมถือได้ว่าภารจำยอมระงับสิ้นไปเพราะการไม่ใช่ภารจำยอมเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1399ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางภารจำยอมอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางข้ามที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยอนุญาต ไม่เป็นภารจำยอม แม้ใช้ต่อเนื่องนาน
เมื่อจำเลยซื้อที่ดินมาแล้วก็ได้สร้างกำแพงกั้นตลอดแนวระหว่างที่ดินของโจทก์จำเลย คงเว้นเป็นช่องกว้าง 3.85 เมตรเพื่อให้โจทก์ใช้ผ่านเข้าออกแต่ได้สร้างประตูเหล็กบานเลื่อนกั้นไว้ในที่ดินของจำเลย มีสายยูคล้องกุญแจและสามารถใส่กุญแจได้เมื่อไม่ประสงค์ให้โจทก์ใช้ แสดงถึงการหวงกันมิให้โจทก์หรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทโดยพลการ จึงถือได้ว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิและการอนุญาตให้ใช้จากฝ่ายจำเลยดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเท่าใดก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาภารจำยอมทางมรดก: จำเลยต้องรื้อสิ่งกีดขวาง แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ป. กับบิดามารดาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินซึ่งมีข้อความว่าบิดามารดาจำเลยยินยอมให้ทำทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่5621เพื่อให้เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่4587โดยได้รับค่าตอบแทนและตกลงจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะยังมิได้ไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแต่เมื่อจำเลยได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่5621มาโดยทางมรดกจำเลยก็ต้องรับภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600แม้โจทก์มิใช่คู่สัญญาตามหนังสือสัญญาให้ป่านที่ดินเอกสารหมายจ.4 และกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจากป. เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าเป็นผู้รับโอนที่ดินมาโดยทางนิติกรรมมิใช่รับโอนมาโดยผลของกฎหมายในฐานะทายาทหรือทางมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1599,1600ก็ตามแต่การที่จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่5621โดยมีโจทก์ใช้ทางพิพาทอยู่จำเลยย่อมจะทราบดีว่าบิดามารดาจำเลยมีข้อตกลงหรือสัญญายอมให้บุคคลอื่นผ่านทางพิพาทได้ตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินดังกล่าวย่อมถือเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับที่จะปฎิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วยจำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไปแต่โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของป. เจ้าของที่ดินเดิมจึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความและข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพย์สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4จึงไม่เป็นภารจำยอมเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอม: เจ้าของภารยทรัพย์เท่านั้นมีสิทธิอ้างเหตุสิ้นภารจำยอม การใช้สิทธิไม่สุจริตเป็นปัญหาอำนาจฟ้อง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1870 เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภารจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 เมื่อปี 2530 ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภารจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่ 133383 จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 และ 133382 จาก ส. เมื่อปลายปี 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลาดตาข่ายปิดกั้นทางภารจำยอม ดังนี้ เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่ 133383 เป็นของ ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 1870 ใช้ทางภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่าภารจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 หรือมาตรา 1400ส่วนจำเลยที่ 1เป็นแต่เพียงผู้เช่า และจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้ โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภารจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภารจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอม: เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิใช้ทาง แม้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของภารยทรัพย์ ผู้เช่า/ครอบครองไม่สามารถต่อสู้ได้
ที่ดินโฉนดเลขที่1870เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภารจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่1871เมื่อปี2530ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่1871โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภารจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่133383จำเลยที่1เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่1871และ133382จากส. เมื่อปลายปี2534จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลาดตาข่ายปิดกั้นทางภารจำยอมดังนี้เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่133383เป็นของส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของม. ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่1870ใช้ทางภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1387และส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของม. เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่าภารจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1399หรือมาตรา1400ส่วนจำเลยที่1เป็นแต่เพียงผู้เช่าและจำเลยที่2เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้ โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภารจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภารจำยอมได้ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องโดยไม่ถูกขัดขวางเกิน 10 ปี ถือเป็นการได้มาซึ่งภารจำยอม
ภารจำยอมอาจเกิดจากการยินยอมอนุญาตให้ใช้ทางในเบื้องต้นก่อนต่อมาเมื่อเริ่มใช้ทางแล้วหากผู้ใช้ได้ใช้ทางนั้นในลักษณะเป็นการใช้โดยถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทางตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า10ปีโดยเจ้าของทางมิได้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตนทั้งแสดงว่าได้ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนต่อสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตนโ่ดยสมัครใจแล้วการใช้ทางดังกล่าวจึงทำให้เกิดสิทธิภารจำยอมโดยอายุความได้ดังนั้นแม้โจทก์ที่1และที่3จะเบิกความว่าได้ขออนุญาตต. และค.เดิมในทางพิพาทก็น่าจะมีความหมายว่าเป็นการขออนุญาตเดินในตอนแรกๆเท่านั้นเมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้ใช้ทางพิพาทเป็นเวลา40-50ปีโดยไม่ปรากฎว่าต. และค.ห้ามปรามหรือขัดขวางการใช้ทางพิพาทหรือบอกสงวนสิทธิในทางพิพาทแต่ประการใดนอกจากนี้หลังจากจำเลยทั้งสองซื้อที่ดินมาจากต. แล้วก็มิได้หวงห้ามมิให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ทางพิพาทต่อไปแสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ยอมรับสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ในการใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินออกไปสู่ทางสาธารณะพฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในการใช้ทางพิพาทของจำเลยทั้งสองในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้ในลักษณะที่เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทมิใช่เป็นการใช้ทางพิพาทโดยได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะตัวแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้ทางพิพาทติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วโจทก์ทั้งสี่ย่อมได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: สิทธิยังคงอยู่แม้มีสัญญาเช่าก่อน, การรอนสิทธิโดยผู้เช่ากระทบสิทธิภารจำยอม, ไม่ขาดอายุความ
ภารจำยอมของโจทก์ถูกรอนสิทธิ์โดยผู้เช่าซึ่งเป็นบริวารของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ เจ้าของที่ดินผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีอำนาจจัดการที่ดินของตนได้หากการจัดการนั้นทำให้เกิดการผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับผู้เช่า ผู้เช่าก็ชอบที่จะฟ้องร้องเรียกให้ปฏิบัติตามสัญญาหากปฏิบัติไม่ได้ก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า โจทก์จดทะเบียนภารจำยอมก็เจ้าของที่ดินตามสิทธิที่เจ้าของที่ดินมีอยู่ แม้ ย. จะทรงสิทธิการเช่าอยู่ก่อน ก็ไม่ทำให้สิทธิที่โจทก์ได้มาเสียไปหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ โจทก์ฟ้องคดีก่อนครบกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนการได้มาซึ่งภารจำยอม และเหตุที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภารจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ก็เป็นเพราะผู้เช่าและผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นบริวารของจำเลยได้กระทำการรอนสิทธิโจทก์ มิใช่เป็นเพราะโจทก์ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภารจำยอม ภารจำยอมของโจทก์จึงหาได้สิ้นไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอมของผู้ซื้อที่ดิน แม้มีผู้เช่าเดิม การรอนสิทธิโดยบริวารเจ้าของที่ดิน ผู้ซื้อมีอำนาจฟ้องได้
ภารจำยอมของโจทก์ถูกรอนสิทธิ์โดยผู้เช่าซึ่งเป็นบริวารของจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ เจ้าของที่ดินผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีอำนาจจัดการที่ดินของตนได้หากการจัดการนั้นทำให้เกิดการผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับผู้เช่าผู้เช่าก็ชอบที่จะฟ้องร้องเรียกให้ปฏิบัติตามสัญญาหากปฏิบัติไม่ได้ก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า โจทก์จดทะเบียนภารจำยอมก็เจ้าของที่ดินตามสิทธิที่เจ้าของที่ดินมีอยู่แม้ย. จะทรงสิทธิการเช่าอยู่ก่อนก็ไม่ทำให้สิทธิที่โจทก์ได้มาเสียไปหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ โจทก์ฟ้องคดีก่อนครบกำหนด10ปีนับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนการได้มาซึ่งภารจำยอมและเหตุที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภารจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ก็เป็นเพราะผู้เช่าและผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นบริวารของจำเลยได้กระทำการรอนสิทธิโจทก์มิใช่เป็นเพราะโจทก์ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภารจำยอมภารจำยอมของโจทก์จึงหาได้สิ้นไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเดินทางในที่ดินของผู้อื่น: การได้รับอนุญาตไม่ใช่สิทธิภารจำยอม, การโอนสิทธิเมื่อเจ้าของเปลี่ยน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่610เป็นของบิดาจำเลยที่1เคยให้โจทก์ทั้งสองเช่าบางส่วนเมื่อบิดาจำเลยที่1ถึงแก่ความตายจำเลยที่1ได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำไปแบ่งขายให้แก่โจทก์ทั้งสองขณะที่เช่าที่ดินกับบิดาจำเลยที่1บิดาจำเลยที่1อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทหลังจากนั้นจำเลยที่1ก็ได้ให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทดังกล่าวการที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเดินผ่านที่ดินพิพาทจึงเป็นการได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเดินผ่านจากบิดาจำเลยที่1และตัวจำเลยที่1นั่นเองโจทก์ทั้งสองมิได้เดินในที่พิพาทโดยอาศัยอำนาจแห่งตนและขณะนั้นที่ดินดังกล่าวยังเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอยู่กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องการมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงหนึ่งประโยชน์ของที่ดินอีกแปลงหนึ่งเมื่อปรากฎว่าโจทก์ที่1เพิ่งจะซื้อที่่ดินจากจำเลยที่1เมื่อวันที่16กุมภาพันธ์2524โจทก์ที่2ซื้อที่ดินจากจำเลยที่1เมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2527นับถึงวันฟ้องวันที่31มกราคม2534ยังไม่ครบ10ปีถึงแม้หากโจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิโดยอำนาจแห่งตนโดยพลการเดินผ่านที่ดินพิพาทของจำเลยที่1ตั้งแต่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่1ก็หาอาจได้สิทธิภารจำยอมในทางเดินในที่ดินพิพาทดังกล่าวไม่ ที่โจทก์ที่2อ้างว่าในการซื้อที่ดินจากจำเลยที่1จำเลยที่1เคยทำสัญญาไว้ว่าเมื่อซื้อที่ดินแล้วจะเปิดทางให้ทำถนนนั้นก็ปรากฎว่าสัญญาดังกล่าวกระทำกันระหว่างจำเลยที่1กับส.มิได้กระทำกับโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2เองก็เบิกความว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ที่2ได้หย่าขาดกับส.แล้วและมิได้มีการจดทะเบียนให้ทางเดินในที่ดินพิพาทเป็นทางเดินภารจำยอมไว้ทั้งสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็เป็นบุคคลสิทธิบังคับได้ระหว่างจำเลยที่1กับส. ไม่มีเหตุที่โจทก์ที่2จะนำสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้จำเลยที่1ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ของโจทก์ที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาได้ ขณะที่โจทก์ที่2สร้างถนนคอนกรีตบางส่วนบนที่ดินพิพาทนั้นจำเลยที่1อนุญาตให้โจทก์ที่2ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินอยู่การสร้างถนนคอนกรีตของโจทก์ที่2จึงเป็นการสร้างโดยได้รับอนุญาตเมื่อจำเลยที่2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่อนุญาตให้โจทก์ที่2ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินต่อไปอีกโจทก์ที่2จึงต้องรื้อถนนคอนกรีตส่วนนี้ออกเมื่อโจทก์ที่2ไม่ยินยอมรื้อจำเลยที่2จึงชอบที่จะฟ้องแย้งบังคับโจทก์ที่2ให้รื้อถนนคอนกรีตดังกล่าวได้