คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า แม้จะไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดิน
การที่โจทก์ซื้อที่ดินมาโดยมิได้ทำประโยชน์ บางแปลงซื้อทิ้งไว้เกือบสิบปี บางแปลงซื้อมาไม่กี่เดือนก็ขายไป บางแปลงมีการปรับปรุงที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อขายให้ได้ราคาและปรากฏว่าโจทก์มีการซื้อและขายที่ดินทุกปี ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาและขายไป โดยมุ่งในทางการค้าหากำไร โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การนำสืบต้องตรงประเด็นตามฟ้อง และเบี้ยปรับภาษีแม้เคยชำระภาษีไว้เกิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้จ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าให้แก่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ร่วมค้ากับโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายจำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าแต่เป็นการประเมินจากเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าแรงที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถและคนงานของโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า การจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานก่อสร้าง นั้นบางครั้งโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าเหมาช่วงให้บุคคลอื่นรับไปบางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานรายวัน บางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างคนขับรถ ซึ่งมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้องศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไปอันจะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษอันเป็นมาตรการที่บังคับไว้เพื่อให้เกิดผลในกรณี ที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ยอมชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วน แม้ผู้ต้องเสียภาษีจะเคยชำระภาษีในครั้งก่อน ๆ ไว้เกิน ก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์ พิจารณาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควร
โจทก์ประกอบธุรกิจขายที่ดินและตึกแถว ตลอดจนให้เช่าตึกแถวด้วยค่าซ่อมแซมตึกแถวถือเป็นรายจ่ายที่จะนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จ ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ที่ 1 ประกอบธุรกิจจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จ (ReadyMixedConcrete) เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อ โจทก์ที่ 1 จะแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ส่งคอนกรีตผสมเสร็จให้แก่ลูกค้าโดยใช้รถยนต์บรรทุกที่มีเครื่องผสมคอนกรีตในตัว ทำการผสมคอนกรีตตามอัตราส่วนหรือสูตร ที่ลูกค้ากำหนด แล้วนำไปเทยังหน่วยงานที่ลูกค้ากำหนดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับลูกค้า ต่างมีเจตนาให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์หรือคอนกรีตผสมเสร็จ เพื่อตอบแทนการใช้ราคาอันเข้าลักษณะของสัญญาซื้อขายคู่สัญญามิได้หวังผลสำเร็จในการงานเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เป็นสัญญาจ้างทำของ โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าประเภทรับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จ ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียภาษีการค้า
การซื้อขายสินค้านั้นผู้ขายไม่จำเป็นต้องทำสินค้าสำเร็จไว้ล่วงหน้าเสมอไปต้องคำนึงถึงคุณลักษณะพิเศษของสินค้าที่จะขายด้วยโจทก์ทั้งสองประกอบธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จไม่อาจผสมคอนกรีตไว้ก่อนได้ เพราะหากไม่มีผู้ใดซื้อภายใน 1 ชั่วโมง คอนกรีตผสมเสร็จที่ทำไว้จะแข็งตัวไม่อาจนำไปใช้งานได้ สินค้าชนิดนี้จำเป็นต้องขายตามคำสั่งของลูกค้าแต่ละรายไปนอกจากนี้ทั้งลูกค้าของโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 1 ต่างมีเจตนาจะมุ่งให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการใช้ราคา มิได้หวังผลสำเร็จในการงานเป็นสาระสำคัญ งานที่โจทก์ทั้งสองรับทำจนสำเร็จมิได้สำคัญไปกว่าสัมภาระหรือส่วนผสมที่นำมาใช้ในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จโจทก์ทั้งสองประกอบธุรกิจเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระมิใช่เป็นการครั้งคราวแม้ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดอัตราส่วนหรือสูตรในการผสมคอนกรีตผสมเสร็จตามที่ลูกค้าต้องการหรือมีการกำหนดรวมค่าขนส่งและกำหนดอัตราค่าจอดรถคอยการเทคอนกรีตลงไว้ด้วย ก็เป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ เข้าลักษณะเป็นสัญญาซื้อขาย หาใช่สัญญาจ้างทำของไม่โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากร, อายุความทางภาษีอากร, และอำนาจฟ้องคดีภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล
เจ้าพนักงานกรมศุลกากรเรียกให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มซึ่งมีทั้งอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้วหากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30แม้การเรียกเก็บภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลจะเกี่ยวเนื่องกับการเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้า ก็ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจอุทธรณ์การประเมินต่อกรมศุลกากรแทนได้ การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกรมศุลกากรจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่พนักงานของจำเลยสั่งให้โจทก์เสียภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเติม หากโจทก์เห็นว่าไม่ควรเสียก็ต้องร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายใน 2 ปี นับแต่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยสั่งให้โจทก์เสียอากรเพิ่มตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้ารวม5 ใบ ซึ่งโจทก์นำสินค้าเข้าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 กันยายน2529 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2531 เกินกว่า 2 ปี คดีจึงขาดอายุความ และเมื่อมีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, อำนาจฟ้องภาษีการค้าและบำรุงเทศบาล, การประเมินภาษีอากรเกิน
เมื่อโจทก์สำแดงราคาสินค้านำเข้าเพื่อเสียภาษีอากรและกรมศุลกากรเรียกให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มซึ่งมีทั้งอากรขาเข้าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้การเรียกเก็บภาษีอากรทั้งสามประเภทจะต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน หากโจทก์เห็นว่าการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไม่ถูกต้องอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา30 เสียก่อน ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนให้อุทธรณ์ในกรณีนี้ต่อกรมศุลกากรได้ การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกองวิเคราะห์ราคาของกรมศุลกากรถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีทั้งสองประเภท การเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้ว มิใช่มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือน ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีที่ 1 และ 2 ของ พ.ร.ก.ลดหย่อนภาษี
ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองหน้าตัดรูปตัวทีผู้ซื้อนำไปใช้คั่นในการปูพื้นหินขัดหรือหินอ่อน เป็นส่วนประกอบในการตกแต่งพื้นอาคารและทองเหลืองหน้าตัดรูปตัวแอล ผู้ซื้อนำไปทำคิ้วเครื่องเรือนและติดขอบบันได เป็นวัสดุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือน แม้มิใช่สิ่งจำเป็นในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือนแต่ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือนจึงเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(6) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรา และยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 และบัญชีที่ 2 หมวด 4(1)(3) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย(ฉบับที่ 133) พ.ศ. 2526 และมิได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) การที่โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร มิใช่ผลิตสินค้าขึ้นเอง สินค้านี้มิใช่สินค้าตามมาตรา 7(4) อันจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีการค้าสำหรับยาที่ไม่สามารถใช้ได้โดยตรง ต้องผ่านกระบวนการผลิตเพิ่มเติม
สินค้ายากานาไมซิน ซัลเฟตและเจนตาไมซิน ซัลเฟต แม้จะมีคุณสมบัติในการรักษาโรคโดยไม่ต้องใส่ยาตัวอื่นเติมเข้าไป แต่เมื่อจะใช้ต้องไปทำตามกรรมวิธีด้วยเครื่องจักรในสถานที่ปราศจากเชื้อ ตลอดจนภาชนะและตัวผู้ทำก็ต้องปราศจากเชื้อด้วย เป็นการเอาไปผลิตใหม่เพื่อให้เป็นยาสำเร็จรูปใช้ได้ทันที จึงไม่เป็นยาซึ่งแพทย์หรือประชาชนนำไปใช้ได้โดยตรง ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 บัญชีที่ 3 หมวด 2 (1) โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้านั้นตามมาตรา 5 (8) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 161(พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรข้อ 1 (2) ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2529 จึงครบระยะเวลาสามเดือนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2530 และต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม 2530 เป็นต้นไป
แม้ว่าตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตรามากกว่าอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ศาลจึงพิพากษาให้เท่าที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีการค้าสำหรับยาที่ต้องผ่านกรรมวิธีเพิ่มเติมก่อนใช้ และการคำนวณดอกเบี้ยคืนภาษี
สินค้ายากานาไมซินซัลเฟตและเจนตาไมซินซัลเฟต แม้จะมีคุณสมบัติในการรักษาโรคโดยไม่ต้องใส่ยาตัวอื่นเติม เข้าไป แต่เมื่อจะใช้ต้องไปทำตามกรรมวิธีด้วยเครื่องจักรในสถานที่ปราศจากเชื้อตลอดจนภาชนะและตัวผู้ทำก็ต้องปราศจากเชื้อด้วย เป็นการเอาไปผลิตใหม่เพื่อให้เป็นยาสำเร็จรูปใช้ได้ทันที จึงไม่เป็นยาซึ่งแพทย์หรือประชาชนนำไปใช้ได้โดยตรง ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชีที่ 3 หมวด 2(1) โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้านั้นตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ตามมาตรา 5 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 161(พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรข้อ 1(2) ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรในวันที่ 28พฤศจิกายน 2529 จึงครบระยะเวลาสามเดือนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์2530 และต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2530เป็นต้นไป แม้ว่าตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตรามากกว่าอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ศาลจึงพิพากษาให้เท่าที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศวรรคสอง.
of 30