พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จากเงินบำเหน็จและบำนาญเมื่อออกจากงาน: เงินบำเหน็จหักค่าใช้จ่ายได้
ตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อออกจากงานมีอยู่ 2 ลักษณะ คือเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และเงินได้จ่ายในลักษณะเป็นบำเหน็จจำนวนหนึ่งและมีลักษณะเป็นบำนาญอีกจำนวนหนึ่งซึ่งกรณีที่นายจ้างจ่ายในลักษณะหลังนี้ เงินบำนาญเท่านั้นที่จะหักค่าใช้จ่ายตามบทบัญญัติมาตรานี้ไม่ได้ และตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา 4 ให้คำจำกัดความคำว่า บำเหน็จว่าเป็นเงินตอบแทนความชอบ ฯลฯ ซึ่งจ่ายให้ครั้งเดียว ส่วนบำนาญหมายความว่าเป็นเงินตอบแทน ฯลฯซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่านอกจากนายจ้างของโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จให้โจทก์แล้ว นายจ้างยังได้จ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนภายหลังโจทก์ออกจากเงินอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญด้วยฉะนั้นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดซึ่งรวมถึงเงินบำเหน็จด้วย จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ชอบที่โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตามที่มาตรา 42 ทวิ วรรคสาม บัญญัติไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากความแตกต่างของน้ำหนักข้าวโพด: การคำนวณความชื้นและสภาพสินค้า
แม้หลักฐานทางบัญชีของโจทก์จะปรากฏว่าจำนวนน้ำหนักข้าวโพดคงเหลือในรอบระยะเวลาบัญชีปีที่พิพาทกันขาดจำนวนไปเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่รับซื้อเข้ามาและขายออกไป แต่ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์ขายข้าวโพดตามจำนวนน้ำหนักที่ขาดหายไปโดยไม่ลงบัญชีเพราะข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่รู้กันอยู่ทั่วไปโดยสภาพของธรรมชาติว่าน้ำหนักจะเปลี่ยนแปลงไปตามความชื้นที่มีอยู่ในตัว ถ้ามีความชื้นมากน้ำหนักก็จะมากขึ้น ถ้ามีความชื้นน้อยน้ำหนักก็จะลดไปตามส่วน ทั้งก่อนโจทก์ส่งข้าวโพดไปขายต่างประเทศจะต้องอบให้เหลือความชื้นไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด น้ำหนักย่อมลดลงไปอีก การคำนวณน้ำหนักจึงมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้มากเพราะความชื้นแตกต่างกัน จำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปจากบัญชีมีเพียง 1,091.140 ตัน แต่โจทก์ส่งข้าวโพดออกไปต่างประเทศถึง700,000 เมตริกตันเศษ จึงเห็นได้ว่าจำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปดังกล่าวเกิดจากการคำนวณน้ำหนักความชื้นที่เปลี่ยนแปลงไปผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามสภาพของสินค้าประเภทนี้ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปมาถือว่าโจทก์ขายไปโดยไม่ลงบัญชี จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักข้าวโพดตามความชื้น และความจำเป็นในการมีหลักฐานการขาย
โจทก์รับซื้อข้าวโพดจากพ่อค้าและสหกรณ์ของชาวไร่ซึ่งมีความชื้น 17-18 เปอร์เซ็นต์แต่โจทก์จะคิดหักน้ำหนักข้าวโพดโดยถือน้ำหนักในระดับความชื้น 14.7 เปอร์เซ็นต์ โดยคิดตามสูตรที่พ่อค้าข้าวโพดในประเทศไทยยอมรับใช้กันทั่วไปเมื่อโจทก์รับซื้อแล้วจะนำไปอบให้มีความชื้นไม่เกิน 14.5 เปอร์เซ็นต์ย่อมทำให้น้ำหนักลดลงไปอีก ในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2515ถึง 1516 โจทก์ซื้อข้าวโพดรวม 147,493,815 ตัน ยอดสินค้าข้าวโพดคงเหลือยกมา 31,616,977 ต้น รวมเป็นสินค้ามีไว้ขายระหว่างปี 179,100.792 ตัน ยอดขายในระหว่างปีจำนวน 162,259.859 ต้น สินค้าคงเหลือปลายปีควรจะเป็น 16,840.933 ตัน แต่ยอดคงเหลือ15,749,793 ตัน น้ำหนักข้าวโพดขาดหายไปจำนวน 1,091.140 ตัน เมื่อเทียบส่วนน้ำหนักที่ขาดไปไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์น้อยกว่าขั้นต่ำของน้ำหนักที่ลดซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการเกษตรว่า เมล็ดข้าวโพดที่เก็บไว้นานน้ำหนักจะละระหว่าง 193 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ยซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของเมล็ดข้าวโพด ประกอบกับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ออกเมื่อปี 2515 ห้ามมิให้โจทก์จำหน่ายข้าวโพดในประเทศ การขายข้าวโพดออกไปต่างประเทศมีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งในส่วนราชการและเอกชนเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากจึงเป็นการยากที่โจทก์จะละเว้นไม่ลงบัญชี จำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปจากบัญชี 1,091.140 ต้น เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวโพดที่ส่งออกไปต่างประเทศแต่ละครั้งมีน้ำหนักสุทธิ 494,210 เมตริกตัน และ237,505 เมตริตัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะส่งออกไปเพียงประมาณ1,000 ต้นเศษ โดยไม่ลงหลักฐานการขายไปต่างประเทศ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปเป็นการขายโดยไม่ลงบัญชีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีในส่วนข้าวโพดที่ขาดหายไปย่อมไม่ถูกต้อง เพราะน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปเนื่องจากความชื้น เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นกับสินค้าประเภทเมล็ดข้าวโพด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: สิทธิในการหักค่าใช้จ่ายและการถือว่าสินค้าขายหมด
โจทก์มิได้ทำและนำบัญชีมาแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิที่จะถือว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาได้ขายหมดไปแต่ ละปี ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอายอดเงินที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาได้ขายหมดไปแต่ละปีมาคำนวณภาษีและหักค่าใช้จ่ายให้ตามความจำเป็นและสมควร โดยนำเอามาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมจึงชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ตกลงยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80 ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้
เมื่อโจทก์ตกลงยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80 ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อผู้เสียภาษีไม่แสดงบัญชีสินค้าคงเหลือ เจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิคำนวณภาษีตามความจำเป็นและสมควร
โจทก์มิได้ทำและนำบัญชีมาแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิที่จะถือ ว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปี ดัง นั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอายอด เงินที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปีมาคำนวณภาษีและหักค่าใช้จ่ายให้ตาม ความจำเป็นและสมควร โดย นำเอามาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมจึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์ตกลง ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย ให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสองแห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11)พ.ศ. 2502 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองและสัญญากู้เงินที่สมคบกันแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
สัญญาจำนองและสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์ กับ พ. เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะโจทก์และ พ. สมคบกันแสดงเจตนาลวง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ แม้โจทก์จะมีชื่อ ในสัญญาจำนองในฐานะผู้รับจำนอง ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเงินได้ประเภทดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า: การประเมินจากชื่อในโฉนดและหลักฐานการรับเงิน
โจทก์ที่ 2 ร่วมกับ ป. จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซื้อ ขายและแบ่งแยกขายที่ดิน แต่ห้างหุ้นส่วนมิได้ดำเนินการทำเองทั้งหมดได้ ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีชื่อ ในโฉนด ที่ดินและขายให้ลูกค้าเมื่อโจทก์ที่ 2 มีชื่อ ในโฉนด ถือ กรรมสิทธิ์อยู่ย่อมก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน ทั้งตาม หลักฐานการซื้อ ขายมีชื่อ โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินย่อมต้อง ถือ ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินได้พึงประเมินนั้นไว้ ดังนี้มาตรา 61 แห่ง ป.รัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากผู้มีชื่อ ในหนังสือสำคัญนั้นก็ได้แต่ ถ้า มีการโอนเงินได้พึงประเมินให้แก่บุคคลอื่นบุคคลนั้นมีสิทธิหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่ง โอนให้แก่บุคคลอื่นตาม ส่วน การประกอบธุรกิจซื้อ ขายและแบ่งแยกขายที่ดิน เป็นการหาผลประโยชน์อันมีมูลค่าจากที่ดินที่จัดสรรและปลูกบ้านขายเป็นจำนวนมาก ดังนี้เป็นการประกอบการค้าอันต้อง เสียภาษีการค้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการจำหน่ายกิจการข้ามประเทศ เงินสำรองและรายจ่ายต้องห้ามไม่ถือเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ
แม้ผู้ลงชื่อในคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์จะมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์แต่เมื่อจำเลยยอมรับเอาคำอุทธรณ์นั้นไว้โดยไม่โต้แย้ง และคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ก็ยอมรับวินิจฉัยคำอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวให้แล้ว ก็จะถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินไม่ได้
แม้ในคดีเดิมศาลฎีกาจะพิพากษา ยกฟ้องเพราะเหตุโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลฎีกาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน ย่อมมีผลเท่ากับว่าอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการเรื่องอำนาจฟ้องเสียให้ถูกต้องแล้วฟ้องคดีใหม่ภายใน 30 วัน ซึ่งย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด30 วันดังกล่าว จำเลยจึงจะอ้างเหตุว่าโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ต่อศาลเกินกำหนด 30วันหาได้ไม่ เช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
มาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร มุ่งประสงค์จะเก็บภาษีเงินได้เฉพาะเงินกำไรหรือเงินที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยโดยแท้จริง การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทในต่างประเทศเลิกประกอบกิจการผลิตขวดแก้วและภาชนะเครื่องแก้วต่าง ๆ ในประเทศไทย และโอนกิจการและทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งเงินสำรองค่าซ่อมสร้างเตาหลอมและเงินสำรองสำหรับจ่ายตอบแทนพนักงานเมื่อออกจากงานให้แก่บริษัท อ. จำกัดโดยมิได้มีการส่งเงินดังกล่าวออกไปจากประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีการใด เงินดังกล่าวยังคงหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย โดยการประกอบกิจการของบริษัท อ. จำกัดผู้รับโอนนั้น จะถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร
รายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิที่ไม่ได้ความว่าได้ส่งออกไปจากประเทศไทยนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินเรียกเก็บภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากรหาได้ไม่.
แม้ในคดีเดิมศาลฎีกาจะพิพากษา ยกฟ้องเพราะเหตุโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลฎีกาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน ย่อมมีผลเท่ากับว่าอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการเรื่องอำนาจฟ้องเสียให้ถูกต้องแล้วฟ้องคดีใหม่ภายใน 30 วัน ซึ่งย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด30 วันดังกล่าว จำเลยจึงจะอ้างเหตุว่าโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ต่อศาลเกินกำหนด 30วันหาได้ไม่ เช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
มาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร มุ่งประสงค์จะเก็บภาษีเงินได้เฉพาะเงินกำไรหรือเงินที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยโดยแท้จริง การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทในต่างประเทศเลิกประกอบกิจการผลิตขวดแก้วและภาชนะเครื่องแก้วต่าง ๆ ในประเทศไทย และโอนกิจการและทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งเงินสำรองค่าซ่อมสร้างเตาหลอมและเงินสำรองสำหรับจ่ายตอบแทนพนักงานเมื่อออกจากงานให้แก่บริษัท อ. จำกัดโดยมิได้มีการส่งเงินดังกล่าวออกไปจากประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีการใด เงินดังกล่าวยังคงหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย โดยการประกอบกิจการของบริษัท อ. จำกัดผู้รับโอนนั้น จะถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร
รายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิที่ไม่ได้ความว่าได้ส่งออกไปจากประเทศไทยนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินเรียกเก็บภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากรหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากเงินที่โอนให้บริษัทในประเทศ ไม่ถือเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ที่ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากเงินกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้ดังกล่าวเฉพาะเงินที่ได้จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยโดยแท้จริงเมื่อปรากฏว่าโจทก์ขายกิจการของโจทก์ให้กับบริษัท อ. ในประเทศไทยและโอนเงินที่โจทก์จัดไว้เพื่อซ่อมสร้างเตาหลอมและเงินตอบแทนการทำงานของพนักงานไปให้ด้วย เงินดังกล่าวยังคงหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย การที่จำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3927/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้เอกสารแจ้งการประเมินมีข้อบกพร่อง และรายได้จากการระเบิดหินถือเป็นการค้า
จำเลยแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์สำหรับปี พ.ศ. 2515ถึง พ.ศ. 2519 ในวันเดียวกัน และโจทก์ได้รับแบบแจ้งการประเมินทั้งหมดพร้อมกัน แต่ในแบบแจ้งการประเมินสำหรับปี พ.ศ. 2518 มิได้มีรายละเอียดในช่องรายการประเมิน ข้อ 2(ก) ถึง (ง)ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด และตามข้อ 7(ก) และ (ข) ไม่ระบุว่าเป็นภาษีเงินได้เฉลี่ย ไปในทางใด เหมือนที่ระบุไว้ในแบบแจ้งการประเมินของปีอื่น ๆ เนื่องจากความพลั้งเผลอของเจ้าหน้าที่ของจำเลยเมื่อปรากฏว่ารายการในข้อ 2(ก) ถึง (ง) และข้อ 7(ก) และ (ข)ในแบบแจ้งการประเมินของปีอื่นเหมือนกันทั้งหมด และโจทก์ทราบและเข้าใจแบบแจ้งการประเมินที่มิได้ระบุรายการไว้เป็นอย่างดีว่าข้อความในรายการที่มิได้ระบุไว้ดังกล่าวย่อมเป็นทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ในแบบแจ้งการประเมินของปีอื่น จนถึงกับยินยอมรับชำระภาษีเพิ่มเติม ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยพิมพ์รายการขาดตกบกพร่องในแบบแจ้งการประเมินดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์ไม่เข้าใจหรือเสียหายแต่อย่างใด การประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์สำหรับปี พ.ศ. 2518 จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส. จ่ายค่าตอบแทนเกี่ยวกับกิจการระเบิดหินและโม่ หินให้แก่ภริยาโจทก์ทุกเดือน รายได้ของโจทก์และภริยาเป็นผลประโยชน์เกี่ยวกับการที่ให้ ส. ดำเนินกิจการระเบิดหินรวมทั้งโม่ หิน ซึ่งมิใช่การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ย่อมจัดอยู่ในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สินซึ่งมิใช่อสังหาริมทรัพย์โจทก์และภริยามีหน้าที่เสียภาษีการค้า
ส. จ่ายค่าตอบแทนเกี่ยวกับกิจการระเบิดหินและโม่ หินให้แก่ภริยาโจทก์ทุกเดือน รายได้ของโจทก์และภริยาเป็นผลประโยชน์เกี่ยวกับการที่ให้ ส. ดำเนินกิจการระเบิดหินรวมทั้งโม่ หิน ซึ่งมิใช่การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ย่อมจัดอยู่ในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สินซึ่งมิใช่อสังหาริมทรัพย์โจทก์และภริยามีหน้าที่เสียภาษีการค้า