พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่มิชอบ โดยการนำค่ารายปีที่ไม่ยุติมาเป็นหลัก และการคำนวณค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค
ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป เมื่อปรากฏว่าค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว โจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ว่าค่ารายปีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งยังมิได้ยุติมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปีที่พิพาทได้ การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้มีการจัดส่งหลักฐานข้อมูลดังกล่าวให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าหรือค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค จึงเป็นอัตราที่มีเหตุผลตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และจำเลยที่ 1 ก็ทราบแล้ว แม้อัตราค่ารายปีของปี 2522 จะมิใช่ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งจะเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีสำหรับปีต่อมาก็ตามแต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปี 2522 จนถึงปี 2529 เป็นอัตราที่สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ทางราชการกำหนด ทั้งไม่สามารถนำค่ารายปีของปีอื่น ๆ มาเป็นหลักคำนวณค่ารายปีพิพาทได้ การคำนวณค่ารายปีสำหรับโรงเรือนและที่ดินคดีนี้ตามอัตราที่โจทก์คำนวณตามฟ้อง จึงเป็นอัตราที่สมควร จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกินแก่โจทก์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ถ้าไม่คืนในกำหนดดังกล่าวจึงจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 2เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจหน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าภาษีโรงเรือนที่มีเครื่องจักรกล: การประเมินต้องรวมค่าทรัพย์สินและส่วนควบ หากไม่สำแดงค่าเช่าเครื่องจักร การประเมินค่าโรงเรือนอย่างเดียวชอบแล้ว
การลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน จะต้องลดจากค่ารายปีของทรัพย์สินและของส่วนควบรวมกัน มิใช่เฉพาะค่ารายปีของทรัพย์สินนั้นเท่านั้น ในการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินโจทก์มิได้กรอกค่าเช่าของเครื่องจักรที่พิพาทลงในแบบ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงประเมินค่ารายปีเฉพาะตัวอาคารโรงเรือนเท่านั้น จึงมิใช่กรณีที่จะต้องลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 13การประเมินค่าภาษีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบค่ารายปีและเครื่องจักรในโรงงาน
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของโจทก์โดยเทียบกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และของบริษัท ป. มาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีในปีพิพาทนี้ด้วยนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ.และบริษัท ป. อยู่ติดถนนใหญ่ทำเลและการคมนาคมสะดวกกว่าโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ แม้ค่ารายปีของโจทก์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดจะต่ำกว่าค่ารายปีของบริษัท บ. ก็ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบว่าค่ารายปีของโจทก์เป็นค่ารายปีที่สมควรหรือไม่
แม้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณนี้ จะมิใช่เป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ดังที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 18 กำหนดให้นำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปีดังกล่าวมาถึงปีพิพาทนี้ และเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้ว ส่วนค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีนั้นเป็นค่ารายปีที่โจทก์ยังไม่พอใจ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่อยู่จึงเป็นค่ารายปีที่ยังไม่ยุติ ไม่อาจนำมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีพิพาทนี้ได้ ดังนี้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณจึงเป็นค่ารายปีที่สมควรกว่า
แม้เครื่องจักรจะมีไว้เพื่อซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้ามิใช่มีไว้เพื่อผลิตสินค้า แต่ก็เป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือนยากที่จะขนย้ายได้ ต้องถอดออกเป็นชิ้นจึงจะขนย้ายได้ เป็นการติดตั้งไว้ในลักษณะถาวรมีลักษณะเป็นส่วนควบที่สำคัญของโรงเรือน จึงเป็นเครื่องจักรที่มีไว้เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ตามพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 13
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเพียงผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่เท่านั้น มิได้ร่วมรับชำระเงินค่าภาษีด้วย จึงไม่ต้องร่วมคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์
แม้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณนี้ จะมิใช่เป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ดังที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 18 กำหนดให้นำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปีดังกล่าวมาถึงปีพิพาทนี้ และเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้ว ส่วนค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีนั้นเป็นค่ารายปีที่โจทก์ยังไม่พอใจ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่อยู่จึงเป็นค่ารายปีที่ยังไม่ยุติ ไม่อาจนำมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีพิพาทนี้ได้ ดังนี้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณจึงเป็นค่ารายปีที่สมควรกว่า
แม้เครื่องจักรจะมีไว้เพื่อซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้ามิใช่มีไว้เพื่อผลิตสินค้า แต่ก็เป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือนยากที่จะขนย้ายได้ ต้องถอดออกเป็นชิ้นจึงจะขนย้ายได้ เป็นการติดตั้งไว้ในลักษณะถาวรมีลักษณะเป็นส่วนควบที่สำคัญของโรงเรือน จึงเป็นเครื่องจักรที่มีไว้เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ตามพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 13
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเพียงผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่เท่านั้น มิได้ร่วมรับชำระเงินค่าภาษีด้วย จึงไม่ต้องร่วมคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: เริ่มนับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาด ไม่ใช่วันที่ทราบข้อความ
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตาม มาตรา 31 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มีความหมายว่า นับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมิน หรือ นับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้นมิได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบข้อความในคำชี้ขาด
แม้ตาม มาตรา 31 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะใช้คำว่า ผู้รับการประเมินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดแล้ว โจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากิจการโรงงานสุราได้รับคำชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
แม้ตาม มาตรา 31 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะใช้คำว่า ผู้รับการประเมินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดแล้ว โจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากิจการโรงงานสุราได้รับคำชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดอายุความฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: นับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาดถึงผู้รับประเมิน
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 31 วรรคแรกมีความหมายว่านับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมินหรือนับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้น ไม่ได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบ ข้อความในคำชี้ขาด แม้ตามพิพากษาภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475มาตรา 31 วรรคแรกจะใช้คำว่า ผู้รับประเมินก็ตามแต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ต้องเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า ซึ่งมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินคำชี้ขาดแล้ว โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 31 ด้วย กล่าวคือจะต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับคำชี้ขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบค่ารายปี, การลดหย่อนเครื่องจักร, และความชอบด้วยกฎหมาย
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของโจทก์โดยเทียบกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และของบริษัท ป.มาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีในปีพิพาทนี้ด้วยนั้นเมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และบริษัท ป. อยู่ติดถนนใหญ่ทำเลและการคมนาคมสะดวกกว่าโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ แม้ค่ารายปีของโจทก์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดจะต่ำกว่าค่ารายปีของบริษัท บ.ก็ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบว่าค่ารายปีของโจทก์เป็นค่ารายปีที่สมควรหรือไม่ แม้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณนี้ จะมิใช่ เป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ดังที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 กำหนดให้นำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปีดังกล่าวมาถึงปีพิพาทนี้ และเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้ว ส่วนค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีนั้นเป็นค่ารายปีที่โจทก์ยังไม่พอใจ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่อยู่ จึงเป็นค่ารายปีที่ยังไม่ยุติไม่อาจนำมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีพิพาทนี้ได้ ดังนี้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณจึงเป็น ค่ารายปีที่สมควรกว่า แม้เครื่องจักรจะมีไว้เพื่อซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้ามิใช่มีไว้เพื่อผลิตสินค้า แต่ก็เป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือนยากที่จะขนย้ายได้ ต้องถอดออกเป็น ชิ้นจึงจะขนย้ายได้ เป็นการติดตั้งไว้ในลักษณะถาวรมีลักษณะเป็นส่วนควบที่สำคัญของโรงเรือน จึงเป็นเครื่องจักรที่มีไว้เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 13 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเพียงผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่เท่านั้น มิได้ร่วมรับชำระเงินค่าภาษีด้วย จึงไม่ต้องร่วมคืนเงินค่าภาษีโรงเรือน และที่ดินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีโรงเรือนและที่ดินหลังการประเมินใหม่ และการคำนวณค่ารายปีที่เหมาะสม
โจทก์เป็นผู้เช่าโรงเรือนพิพาท สัญญาเช่า กำหนดให้โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนผู้ให้เช่า เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีแก่จำเลยที่ 1 เกินไปตามที่โจทก์อ้างในฟ้อง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอคืนเงินภาษีส่วนที่เกินได้ แม้สัญญาเช่าจะกำหนดอัตราค่าเช่าไว้ แต่ตามสัญญาเช่าดังกล่าวโจทก์ต้องให้ผลประโยชน์แก่ผู้ให้เช่าเพื่อตอบแทนการให้เช่าอีกหลายประการ มีเหตุทำให้เห็นว่า อัตราค่าเช่าตามสัญญาเช่ามิใช่ค่าเช่าอันครบถ้วนแท้จริง ถือไม่ได้ว่าเป็นจำนวนเงินอันสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายปีเสียใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่แก้ไขค่ารายปีภาษีโรงเรือนเมื่อค่าเช่าเดิมไม่สมควร
ค่าเช่าทรัพย์สินที่จะใช้เป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีนั้น ถ้ามีเหตุบ่งให้เห็นว่าค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจแก้ไขหรือคำนวณค่ารายปีเสียใหม่ได้ ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 8 ส่วนที่มาตรา 18 บัญญัติให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมาหมายถึงในปีที่จะต้องเสียภาษีนั้นไม่มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าของปีที่ล่วงมาแล้วมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ เมื่อปรากฏว่าค่าเช่าของปีที่ล่วงมาแล้วมิใช่จำนวนเงินอันสมควร จึงไม่ต้องนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีในปีนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณค่ารายปีขึ้นใหม่โดยเทียบเคียงกับโรงเรือนที่อยู่ในย่าน ใกล้เคียงกันและบนถนนเดียวกัน เมื่อโจทก์มิได้นำสืบหักล้างว่าไม่ถูกต้อง ทั้งผู้รับมอบ อำนาจโจทก์ก็ยอมรับว่าสมควรให้เช่าได้ปีละสูงกว่าค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้คำนวณไว้ จึงต้องถือว่าค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินใหม่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์มิใช่การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์
การที่ผู้ร้องแจ้งการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านเพื่อให้ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินของลูกหนี้ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้แล้วเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เพื่อให้ผู้คัดค้านซึ่งมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ชำระภาษีดังกล่าวหรือหากเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องผู้คัดค้านก็อุทธรณ์โต้แย้งการประเมินต่อผู้ร้องได้ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายการที่ผู้คัดค้านมีหนังสือตอบผู้ร้องว่าผู้คัดค้านไม่อาจยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เป็นการแจ้งความคิดเห็นของผู้คัดค้านไปยังผู้ร้องเท่านั้น ไม่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 สิทธิของผู้ร้องในการที่จะบังคับชำระค่าภาษีมิได้เปลี่ยนแปลงไปตามความเห็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่อาจร้องคัดค้านเป็นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การพิจารณาโรงเรือนที่มีส่วนควบเป็นเครื่องจักรกลไก
เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ค่ารายปีของที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนสำนักงานขาย และที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่นนั้น มีอัตราแตกต่างกัน อันจะทำให้การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นำจำนวนที่ดินทั้งหมดมารวมคิดค่ารายปีในอัตราเคียงกันเป็นการไม่ถูกต้อง ดังนั้น การที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 คิดค่ารายปีจากจำนวนที่ดิน ที่โจทก์ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมกัน ในอัตราเดียวกันแล้วประเมินค่าภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี จึงเป็นการชอบ โมบายออฟฟิศ มีเพียงแผงสวิตซ์ สำหรับควบคุมการทำงาน ของเครื่องจักรผสมคอนกรีตติดตั้งอยู่เท่านั้น แต่การผลิตคอนกรีต ผสมเสร็จเพื่อจำหน่ายอันเป็นอุตสาหกรรมของโจทก์ ความสำคัญ อยู่ที่เครื่องจักรผสมคอนกรีต หาใช่อยู่ที่แผงสวิตซ์ สำหรับควบคุม การทำงานของเครื่องจักรผสมคอนกรีตไม่ เมื่อเครื่องจักรผสมคอนกรีต อันเป็นส่วนที่มีลักษณะสำคัญเพื่อดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ มิได้ติดตั้งในโมบายออฟฟิศ ลำพังแต่แผงสวิตซ์ สำหรับควบคุม การทำงานของเครื่องจักรผสมคอนกรีตจึงมิใช่ส่วนควบที่สำคัญ มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ โมบายออฟฟิศ จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ที่จะได้รับลดค่ารายปีลงเหลือ หนึ่งในสาม ที่วางเครื่องจักรผสมคอนกรีต มีสภาพเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างที่ เป็นฐานติดตรึง กับพื้นดินโดยมีเครื่องจักรผสมคอนกรีตติดตั้ง เป็นส่วนควบอยู่ตอนบนเท่านั้น หาได้มีสภาพเป็นโรงเรือนสำหรับ ให้เครื่องจักรผสมคอนกรีตได้ติดตั้งเป็นส่วนควบเข้าด้วยไม่ ทรัพย์สินดังกล่าวจึงไม่เป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญ มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของ โจทก์ ห้องปั๊มลมนั้น สภาพของห้องทั้งสี่ด้านและด้านบนทำด้วยแผ่นเหล็กมีรูปลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ครอบเครื่องปั๊มลม ไว้มุมฝาทั้งสี่ด้านมีขาเหล็กยึดติดกับพื้นคอนกรีตมีประตูทางเข้า 1 บานภายในห้องมีเครื่องปั๊มลมอันเป็นเครื่องจักรกลไก ที่สนับสนุน การทำงานของเครื่องจักรผสมคอนกรีตติดตั้งอยู่กับพื้นคอนกรีต สภาพ ดังกล่าวจึงเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างสำหรับคุ้มกันเครื่องปั๊มลม เท่านั้น หาได้มีสภาพเป็นที่สำหรับอยู่หรือไว้ซึ่งสิ่งของคล้าย โรงเรือนไม่ ถือไม่ได้ว่าเป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญอันมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ สายพานลำเลียงปูนซีเมนต์มีสภาพเป็นสายพานลำเลียงแขวนอยู่บนคานเหล็กซึ่งมีขาตั้งเป็นเหล็กติดตรึง อยู่กับพื้นคอนกรีตในที่โล่ง ไม่มีฝาหรือหลังคาคลุม จึงมีสภาพเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น หาได้มีสภาพเป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็น เครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ไม่ โรงคุมสายพานลำเลียงปูนซีเมนต์ มีสภาพเป็นโรงขนาดสูงใหญ่มีฝาสองด้านมีหลังคาคลุม เป็นพื้นที่ขนาด 10.30x12 เมตร โครงสร้างเป็นเหล็กติดตรึง กับพื้นคอนกรีตอย่างมั่นคงแข็งแรง มีคานเหล็กพร้อมขาตั้งเหล็กที่ติดตรึง อยู่ กับพื้นคอนกรีตภายในโรงอย่างมั่นคงแข็งแรงเช่นกัน คานเหล็กดังกล่าวใช้เป็นที่แขวนสายพานลำเลียงปูนซิเมนต์ ด้วยรอก ร้อย โซ่ มีมอเตอร์ ไฟฟ้าสำหรับขับเคลื่อนล้อในการลำเลียงปูนซีเมนต์บรรจุถุงจากเรือสู่รถยนต์บรรทุกเพื่อนำไปยังถังเก็บ สำหรับใช้ส่งเข้าเครื่องจักรผสมคอนกรีตในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ จำหน่ายคานรอก โซ่ สายพานลำเลียงและมอเตอร์ ไฟฟ้าพร้อมล้อ ดังกล่าวประกอบกันสามารถใช้เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก ในการส่งด้วยแรงได้จึงเป็นเครื่องจักรกลไกที่สำคัญเพื่อใช้ ดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์เมื่อโรงคุมสายพานได้ติดตั้ง ส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกจึงถือได้ว่า เป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญ ที่ลักษณะเป็น เครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ขึ้นใน โรงเรือนนั้น ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 13ต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3.