พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13745/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิเมื่อได้รับโต้แย้งความยินยอมจากมารดาและเด็กยังไม่สามารถให้ความยินยอมได้
ตามเจตนารมณ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก โดยทั้งเด็กและมารดาเด็กจะต้องไปแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนด้วยนั้น มีความมุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิที่เด็กจะพึงได้รับจากผู้เป็นบิดาอันเป็นเรื่องประโยชน์ของเด็กและการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นเรื่องเฉพาะตัว อย่างไรก็ตามการที่กฎหมายบังคับให้ผู้ขอรับรองบุตรต้องได้รับความยินยอม ก็ต่อเมื่อเด็กและมารดาเด็กอยู่ในฐานะที่จะให้ความยินยอมได้เท่านั้น เมื่อโจทก์เคยไปติดต่อสำนักงานเขตดุสิตเพื่อจดทะเบียนว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุเพียง 7 ปี เป็นบุตรของตน แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามระเบียบ แต่เจ้าพนักงานแจ้งโจทก์ว่าต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยทั้งสองก่อน และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 มารดาของจำเลยที่ 2 เพื่อดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 มีหนังสือตอบปฏิเสธและจำเลยที่ 2 อยู่ในวัยไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้จึงเป็นที่เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า การที่จะให้โจทก์ไปยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นหนังสือเพื่อให้นายทะเบียนมีหนังสือถึงจำเลยทั้งสองตามมาตรา 1548 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอต่อศาลขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจเรียกทรัพย์จากผู้มีหนี้สินของมารดา ไม่เป็นเหตุให้การกระทำไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าผู้เสียหายเป็นหนี้มารดาของจำเลยและผิดนัดไม่ชำระหนี้ ก็เป็นกรณีที่มารดาของจำเลยถูกโต้แย้งสิทธิและต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับผู้เสียหายให้ชำระหนี้ตามที่บัญญัติในมาตรา 55 และบทบัญญัติทั้งปวงแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหาก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยในการข่มขืนใจผู้เสียหายยอมหรือจะยอมชำระหนี้นั้นไม่ และไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 กลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์จากมารดาเพื่อค้าประเวณี จำเลยมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์
บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ซึ่งอำนาจปกครองเป็นอำนาจที่ผูกติดกับสถานะความเป็นบิดามารดาในความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างบิดามารดาและบุตร การที่บุคคลอื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนอำนาจปกครองของบิดามารดาจะต้องรับผิดฐานละเมิดในทางแพ่ง และฐานพรากผู้เยาว์ในทางอาญาด้วย ถึงแม้ว่าผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีออกจากบ้านก็ไม่ทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 มารดาสิ้นสุดไป และในระหว่างที่ผู้เสียหายที่ 1 ไม่อยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ผู้เสียหายที่ 2 ก็พยายามโทรศัพท์ติดต่อผู้เสียหายที่ 1 แต่ติดต่อไม่ได้ แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 ยังคงห่วงใยผู้เสียหายที่ 1 การที่ผู้เสียหายที่ 1 ถูก พ. ชักชวนไปค้าประเวณี และจำเลยซื้อบริการทางเพศ น. ส่วนพวกของจำเลยซื้อบริการทางเพศผู้เสียหายที่ 1 โดยจำเลยมอบเงินค่าซื้อบริการทางเพศ น. และผู้เสียหายที่ 1 แก่ พ. และจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ด้วย จึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 มารดา การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันโดยทุจริตรับตัวผู้เสียหายที่ 1 อายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งถูกพรากจากมารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83
ส่วนสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้น เป็นสิทธิของผู้ร้องที่ได้รับความเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญา กฎหมายกำหนดให้สามารถขอค่าสินไหมทดแทนเข้ามาในคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โดยเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์เรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแทนผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องไม่ฎีกาโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าผู้ร้องพอใจในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีส่วนแพ่งแล้ว โจทก์ไม่อาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีส่วนแพ่งแทนผู้ร้องได้
ส่วนสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้น เป็นสิทธิของผู้ร้องที่ได้รับความเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญา กฎหมายกำหนดให้สามารถขอค่าสินไหมทดแทนเข้ามาในคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โดยเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์เรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแทนผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องไม่ฎีกาโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าผู้ร้องพอใจในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีส่วนแพ่งแล้ว โจทก์ไม่อาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีส่วนแพ่งแทนผู้ร้องได้