พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมทำนิติกรรมของคู่สมรสทำให้เกิดหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4)
จำเลยที่3ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่1ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมโดยระบุว่าจำเลยที่3ยินยอมให้จำเลยที่1คู่สมรสของจำเลยที่3ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้จึงถือได้ว่าจำเลยที่3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่1ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงินและจำเลยที่3ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490(4)จำเลยที่1และจำเลยที่3จึงต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943-1944/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยอาศัย น.ส.3ก. ที่ออกโดยไม่ชอบ โจทก์รู้เห็นยินยอม ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์รู้เห็นยินยอมในการที่น. นำที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากม. โดยถือตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)โจทก์จะอ้างว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับม. ไม่สมบูรณ์เนื่องจากการซื้อขายครั้งก่อนๆฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามโอนและโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)กับขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทหาได้ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218-1219/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น-สิทธิโดยไม่สุจริต: การปิดกั้นทางพิพาทหลังยินยอมและใช้ประโยชน์ร่วมกัน
บันทึกเอกสารหมายจ.ชมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่1สัญญาว่าจะให้ทางเดินเข้าออกกว้าง3.50เมตรแก่ที่ดินโฉนดเลขที่182541ถึง182547บันทึกดังกล่าวไม่มีคู่สัญญาแต่มีอ.ลงชื่อในฐานะพยานไว้จึงเป็นเพียงบันทึกอนุญาตหรือให้ความยินยอมให้แก่เจ้าของที่ดินด้านในผ่านที่ดินของจำเลยที่1ได้เท่านั้นและไม่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก การที่จำเลยที่1ได้ทำบันทึกยินยอมให้โจทก์และเจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านในทำทางเข้าออกผ่านที่ดินของจำเลยที่1ได้ทั้งโจทก์ก็ได้ร่วมกันออกเงินเป็นค่าใช้จ่ายทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยที่1และได้ใช้ทางพิพาทตลอดมาเป็นเวลา8ปีแล้วการที่จำเลยที่1ปิดกั้นทางพิพาทมิให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์จากทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา5จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่1ทราบเรื่องนี้และปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่1จำเลยทั้งสามต้องเปิดทางพิพาทให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้นำเข้าสินค้าต่อภาษีอากรและการยินยอมให้ตัวแทนเดิมดำเนินการ
ในขณะที่มีการนำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จากม.มาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งขอเปลี่ยนแปลงบัตรตัวอย่างลายมือชื่อต่อกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ ม.หุ้นส่วนผู้จัดการคนเดิมคงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อยู่ต่อไป เมื่อ ม.ลงชื่อในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าในนามจำเลยที่ 1 จึงผูกพันจำเลยที่ 1 และต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทโดยสำแดงราคาไว้ไม่ถูกต้อง โจทก์ที่ 1 มิได้ยอมรับในราคาที่จำเลยที่ 1 สำแดงแต่ได้ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 รับไปก่อน โดยเรียกให้มีการวางประกันค่าภาษีอากรตามราคาที่สำแดง จำเลยที่ 1 ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมามอบไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาใหม่ที่ถูกต้องแท้จริงของสินค้าพิพาททำให้จำนวนภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเพิ่มขึ้น แม้ธนาคารผู้ค้ำประกันจะชำระเงินให้แก่โจทก์ตามวงเงินในหนังสือค้ำประกันแล้ว ก็หาทำให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในเงินค่าภาษีอากรที่ขาดอยู่รวมทั้งเงินเพิ่มและค่าปรับด้วยนั้น พ้นจากความรับผิดไม่
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทโดยสำแดงราคาไว้ไม่ถูกต้อง โจทก์ที่ 1 มิได้ยอมรับในราคาที่จำเลยที่ 1 สำแดงแต่ได้ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 รับไปก่อน โดยเรียกให้มีการวางประกันค่าภาษีอากรตามราคาที่สำแดง จำเลยที่ 1 ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมามอบไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาใหม่ที่ถูกต้องแท้จริงของสินค้าพิพาททำให้จำนวนภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเพิ่มขึ้น แม้ธนาคารผู้ค้ำประกันจะชำระเงินให้แก่โจทก์ตามวงเงินในหนังสือค้ำประกันแล้ว ก็หาทำให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในเงินค่าภาษีอากรที่ขาดอยู่รวมทั้งเงินเพิ่มและค่าปรับด้วยนั้น พ้นจากความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมให้เจ้าหนี้ชำระหนี้ก่อนผูกพันลูกหนี้ตามกฎหมาย
การที่ลูกหนี้ทำหนังสือยินยอมให้เจ้าหนี้นำเงินไปชำระหนี้รายใดก่อน เป็นการแสดงเจตนาเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคแรกกระทำเพียงฝ่ายเดียวก็สมบูรณ์ผูกพันลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้หักเงินค่าเช่าซื้อเป็นค่าปรับมีผลผูกพันลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่ลูกหนี้ทำหนังสือยินยอมให้เจ้าหนี้นำเงินไปชำระหนี้รายใดก่อนเป็นการแสดงเจตนาเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328วรรคแรกกระทำเพียงฝ่ายเดียวก็สมบูรณ์ผูกพันลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความรับผิดในละเมิดการใช้ไฟฟ้า จำเลยต้องพิสูจน์การกระทำของโจทก์หรือผู้ที่โจทก์ยินยอม
สัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่โจทก์ผู้ซื้อทำกับจำเลยที่1ผู้ขายระบุว่าผู้ซื้อและผู้ขายตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในอันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาด้วยความสุจริตจะไม่กระทำการใดๆหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้าการละเมิดการใช้ไฟฟ้าหมายถึงการทำลายหรือการดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบใดๆตลอดจนเครื่องหมายหรือตราต่างๆทำให้มาตรวัดไฟฟ้าอ่านค่าคลาดเคลื่อนหรือเป็นผลให้ผู้ขายต้องสูญเสียประโยชน์อันพึงมีพึงได้หรือกระทำการอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือต่อไฟตรงโดยไม่ผ่านมาตรวัดไฟฟ้าเห็นได้ว่าการที่จำเลยที่1จะเรียกให้โจทก์ชดใช้ในกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าได้จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์กระทำการใดๆหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้าแต่พยานหลักฐานของจำเลยที่1ฟังไม่ได้ว่าการละเมิดการใช้ไฟฟ้าเกิดจากการกระทำของโจทก์หรือโจทก์ยอมให้ผู้อื่นกระทำกลับปรากฏว่ามิเตอร์และอุปกรณ์ประกอบตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะนอกโรงงานโจทก์และห่างหน้าโรงงานประมาณ150เมตรเป็นที่เปลี่ยวไม่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงคนทั่วไปเข้าถึงได้ตลอดเวลาทั้งก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่1มีหนังสือถึงโจทก์ขอความร่วมมือประสานงานการจดหน่วยทุกๆวันจึงไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะทำการละเมิดการใช้ไฟฟ้าทั้งๆที่รู้ว่าจำเลยที่1กำลังระมัดระวังอยู่โจทก์ไม่จำต้องรับผิดในการละเมิดการใช้ไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันเมื่อผู้เอาประกันยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 และหรือผู้มีชื่อซึ่งมีข้อสัญญาว่า จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกอันเกิดจากการใช้รถยนต์คันดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ ส.บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว หาจำต้องบรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับ ย. ผู้เอาประกันภัยอย่างไร และจำเลยที่ 3 มีนิติสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัย แต่อย่างใดไม่ และการที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ศาลจะพิเคราะห์จากคำฟ้อง มิได้พิเคราะห์จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการพิจารณามาวินิจฉัยแต่อย่างใด เมื่อฟ้องของโจทก์มีสาระครบถ้วนแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ฎีกาจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพราะข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ย.ผู้เอาประกันภัยยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อ ย.ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดด้วยนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันมาเป็นยุติแล้วว่า ผู้เอาประกันภัยยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชนและมีความเสียหายเกิดขึ้นผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญาประกันภัยจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพราะข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ย.ผู้เอาประกันภัยยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อ ย.ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดด้วยนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันมาเป็นยุติแล้วว่า ผู้เอาประกันภัยยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชนและมีความเสียหายเกิดขึ้นผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญาประกันภัยจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ การบอกเลิกสัญญาโดยชอบ และผลของการยินยอมให้ยึดรถ
เมื่อจำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกเป็นต้นมาเกินกว่า2งวดติดต่อกันโจทก์ให้พนักงานเร่งรัดหนี้สินติดตามทวงถามจำเลยที่1ก็นำเงินมาชำระให้โจทก์บางส่วนซึ่งโจทก์ยอมรับไว้และยอมให้จำเลยที่1ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อต่อไปต้องถือว่าโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้เป็นค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่1ค้างชำระหลังจากผิดนัดแล้วแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ยังคงปฏิบัติต่อกันเสมือนหนึ่งว่าสัญญาเช่าซื้อยังใช้บังคับอยู่โดยมิได้ถือกำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญต่อไปจะถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อมิได้และหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็ต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387เสียก่อนเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระจึงบอกเลิกสัญญาได้แต่เมื่อโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาและจำเลยที่1ก็ยินยอมโดยมิได้โต้แย้งถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืนมาจำเลยที่1ไม่ต้องใช้ค่าเสียหายใดๆแก่โจทก์คงรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อจนถึงวันสัญญาเลิกกันเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์, อำนาจปกครอง, และความผิดฐานอนาจาร: การกระทำต่อผู้เยาว์โดยไม่ยินยอม
นางสาว ก. ผู้เสียหาย อายุ 15 ปีเศษ ไม่ได้พักอาศัยอยู่กับมารดา เพราะมารดานำไปฝากให้อยู่กับผู้อื่นก็ไม่ถือว่าพ้นจากอำนาจปกครองของมารดา การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปโดยมารดามิได้ยินยอม ย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาแม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมจากมารดา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเสียจากมารดา การกระทำเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 282 และ 319 นั้น หมายความถึงการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่น ซึ่งต้องเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวของบุคคลโดยตรง จะกระทำในที่รโหฐานหรือสาธารณสถาน ก็ไม่มีผลที่แตกต่างกัน การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ถูกจำเลยพาไปในห้อง ของโรงแรมแม้จะเป็นที่มิดชิดแต่ก็เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ในทางเพศต่อร่างกายของผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำเพื่ออนาจาร