พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีพยานเท็จและปลอมแปลงเอกสาร: ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อตรวจสอบมูลฟ้องฐานปลอมแปลงเอกสาร
ส่งสำนวนให้ศาลเดิมสั่งว่าคดีมีมูลหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ใช้อำนาจเกินขอบเขตในการตัดสินคดี, การย้อนสำนวนให้ศาลเดิม
ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลเดิมสืบพะยานใหม่แล้วตัดสิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8287/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความหลังเริ่มพิจารณาคดี: ไม่ถือเป็นเหตุให้ต้องย้อนสำนวน หากจำเลยไม่เสียเปรียบ
เจตนารมณ์ของ ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง เพื่อให้จำเลยมีทนายความช่วยเหลือในการต่อสู้คดีที่มีอัตราโทษจำคุก แม้ปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและสอบคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นไม่ได้ถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ แต่ในวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยได้แต่งตั้งทนายความ และทนายจำเลยก็ได้ทำหน้าที่ทนายจำเลยตลอดมาจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ทั้งจำเลยก็มิได้เปลี่ยนแปลงคำให้การของจำเลยแต่ประการใด ถือได้ว่าจำเลยยังคงให้การรับสารภาพ คดีจึงไม่มีเหตุจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสอบจำเลยเรื่องทนายความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกายกเรื่องการประทับฟ้องคดีอาญาและแพ่งเกี่ยวเนื่องกัน ศาลฎีกาสั่งย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องคดีแพ่ง
ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลและพิพากษาเฉพาะคดีส่วนอาญาเท่านั้น ฟ้องโจทก์ยังคงมีคดีส่วนแพ่งต้องพิจารณาสั่งต่อไปว่าจะรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอย่างใดเกี่ยวกับคดีส่วนแพ่ง ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาไม่รับคดีส่วนแพ่งโดยวินิจฉัยว่า เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญาแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา ก็เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยังไม่ได้พิจารณาว่าจะรับฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาหรือไม่ กระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งที่ศาลล่างทั้งสองปฏิบัติจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15456/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสถานะกรรมการและผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ย้อนสำนวน
กรณีได้ความว่าในคดีเดิมที่ อ. เป็นโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ที่ 2 กับพวก รวม 6 คน ฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานเป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้ ในฐานะประธานกรรมการของโจทก์ที่ 1 ขณะนั้น เป็นจำเลยที่ 2 ให้เพิกถอนคำสั่งที่ 3/2549 ที่ให้ อ. กับพวก พ้นจากการเป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 2212 - 2217/2550 ของศาลแรงงานกลาง ซึ่งศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาว่าคำสั่งที่ 3/2549 ขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 จึงถือว่า อ. กับพวก คงเป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 และให้ ร. จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการของโจทก์ที่ 1 ภายในกำหนด 45 วัน โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีดังกล่าวต่อศาลฎีกาอ้างเหตุว่าศาลแรงงานกลางยังรับฟังข้อเท็จจริงไม่ยุติจึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบและคำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้ ร. จัดการเลือกตั้งกรรมการของโจทก์ที่ 1 เป็นคำพิพากษาที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099 - 3104/2554 ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางและย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงและมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงมีผลเท่ากับว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนที่ให้ ร. ดำเนินการจัดการเลือกตั้งกรรมการของโจทก์ที่ 1 ได้ถูกยกและสิ้นผลผูกพันไปตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้นด้วย เมื่อการจัดการเลือกตั้งกรรมการของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 ได้ถูกยกและสิ้นผลผูกพันไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีเดิมจึงผูกพันในผลคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ที่ 2 จึงมิใช่กรรมการของโจทก์ที่ 1 ที่จะมีอำนาจดำเนินกิจการหรือเป็นผู้แทนของโจทก์ที่ 1 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกโดยชอบมาตั้งแต่แรกตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 100 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อในวันที่ 28 กรกฎาคม 2550 ขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องคดี โจทก์ที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการของโจทก์ที่ 1 และในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจตามกฎหมายเสียแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11269/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: สัญญาจ้าง, การผ่อนชำระหนี้, และการย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่เป็นคดีละเมิดอย่างเดียวไม่ เพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างลูกจ้างมีข้อผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน นอกจากจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว ยังฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย และตามหนังสือรับรองและค้ำประกัน ข้อ 2 ก็ระบุว่า "หากปรากฏว่าระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานได้ทำความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่โจทก์ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นโดยเจตนาหรือประมาท จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในความเสียหายนั้นๆ และยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามจำนวนที่เสียหายไปนั้นทั้งสิ้น รวมทั้งความเสียหายทั้งปวง ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย โดยไม่จำกัดวงเงิน และให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วม..." ข้อผูกพันของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์จึงหมายถึงจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มูลละเมิดระหว่างจำเลยที่ 1 และโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานเกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2544 จำเลยที่ 1 ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เดือนละ 1,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2546 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2548 อันเป็นการผ่อนชำระหนี้ขณะยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี จึงมีผลทำให้อายุความในส่วนนี้สะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ถัดจากวันผ่อนชำระหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 ทั้งการที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดวันที่ 6 กันยายน 2550 ยังไม่พ้น 10 ปี นับจากวันที่ 17 ธันวาคม 2544 คดีโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องเคลือบคลุมนั้น โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องเคลือบคลุมนั้น โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนพาณิชย์ในนามชื่อทางการค้า คดีนี้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ย้อนสำนวน
ตามคำฟ้องในช่องชื่อโจทก์ มิได้ระบุแต่ชื่อ ป. เป็นโจทก์ แต่มีชื่อบุคคลธรรมดาระบุต่อท้ายชื่อดังกล่าว โดย ย. และตามคำฟ้อง ข้อ 1 บรรยายว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพาณิชยกิจตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 ชื่อ ป. ตามใบทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เอกสารดังกล่าวระบุว่า ใบสำคัญนี้ออกให้เพื่อแสดงว่า ย. ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ใช้ชื่อในการประกอบการพาณิชยกิจว่า ป. แสดงว่า โจทก์คือ ย. ในฐานะบุคคลธรรมดาได้จดทะเบียนเป็นประกอบการพาณิชยกิจ โดย ย. จะใช้ชื่อดังกล่าวในการประกอบธุรกิจทางการค้า เท่ากับ ย. ประกอบกิจการเป็นการส่วนบุคคล และเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการประกอบกิจการของตนในนามชื่อทางการค้าดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการเข้าทำสัญญาคดีนี้ ย. จึงเป็นเจ้าของและประกอบกิจการในฐานะบุคคลธรรมดาในนามชื่อทางการค้าดังกล่าว ย. จึงมีอำนาจฟ้องเป็นการส่วนตัว และเป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดีนี้ หาใช่ใช้ชื่อในการประกอบพาณิชยกิจที่ได้จดทะเบียนเป็นโจทก์ฟ้องตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: ศาลวินิจฉัยผิดประเด็นจากคำให้การและข้อเท็จจริงที่รับรอง ย้อนสำนวนให้วินิจฉัยใหม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เป็นพนักงาน ต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การว่าจำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เป็นพนักงานจริง แต่มิได้เลิกจ้างหรือถอดถอนโจทก์จากการเป็นพนักงาน เห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าโจทก์เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การว่าโจทก์มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นั้น ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า "ให้รอไว้สอบโจทก์ในวันนัด" แต่หลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางมิได้สั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด กรณีถือไม่ได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตให้แก้ไขคำให้การตามคำร้องดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการส่งหมายนัดชี้สองสถานทำให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ทัน ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวน
เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายนัดชี้สองสถานหลังจากวันที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้หมายแจ้งนัดชี้สองสถานถึง 16 วัน จนเป็นผลให้โจทก์ทราบนัดชี้สองสถานล่าช้าตามไปด้วยและทำให้โจทก์เหลือระยะเวลาไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติตามกฎหมายได้โดยมิใช่ความผิดของโจทก์ ดังนั้น การที่ในวันชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางด่วนมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ทั้งที่โจทก์ไม่เหลือระยะเวลาเพียงพอที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 20 ประกอบข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ข้อ 15 วรรคแรก ในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานมิใช่ความผิดของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยาน ทำให้กระบวนพิจารณาตั้งแต่ศาลภาษีอากรกลางสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ จนถึงชั้นพิพากษาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่ชั้นพิจารณาสั่งบัญชีระบุพยานของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ว่าสัญญากู้ยืมเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น จึงต้องย้อนสำนวน
ตามคำให้การของจำเลยเป็นการต่อสู้ว่า สัญญากู้ยืมปลอมทั้งฉบับ มิใช่ปลอมแค่เพียงบางส่วน ดังนั้น คำให้การที่ว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 120,000 บาท เป็นเพียงเหตุผลประกอบการปฏิเสธเท่านั้น ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมหรือไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ปลอม ให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนั้น จึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยนชั้นอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งถ้าฟังว่าปลอมจำเลยก็ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 120,000 บาท และชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจกท์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกประเด็นไปด้วย เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีที่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ปลอม ให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนั้น จึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยนชั้นอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งถ้าฟังว่าปลอมจำเลยก็ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 120,000 บาท และชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจกท์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกประเด็นไปด้วย เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีที่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247