พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมประเภทต่างๆ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ถูกลักมา มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและเอกสารราชการปลอม
มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลย รถที่ยึดได้มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีและแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมดไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่าเป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม
จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม ใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอม ซึ่งเป็นความผิด ป.อ.มาตรา268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2540 ปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกัน โดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ส่วนการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 นั้น แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 91
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสามรายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียนตามที่ระบุในเอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตาม มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม ใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอม ซึ่งเป็นความผิด ป.อ.มาตรา268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2540 ปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกัน โดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ส่วนการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 นั้น แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 91
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสามรายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียนตามที่ระบุในเอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตาม มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับรถยนต์ที่ถูกลักมา และเจตนาเพื่อหลอกลวงเจ้าหน้าที่
มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไปต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลยรถที่ยึดได้มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีและแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมดไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่าเป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนาจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอมซึ่งเป็นความผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2540 ปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกันโดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ส่วนการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 นั้น แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็ เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันจึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียงกระทงลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสาม รายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์กระบะ ของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียนตามที่ระบุใน เอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตาม มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษ หนักที่สุดเพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบแต่โจทก์มิได้ อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิด ฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้องแต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาทในการกลับรถใกล้รถอื่น และความรับผิดทางอาญา
จำเลยกลับรถในขณะที่มีรถอื่นตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร จึงเป็นการขับรถยนต์โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติ ขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการขับรถ ถือได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยความประมาท ส่วนที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ในช่องเดินรถที่ 2 ไม่ขับในช่องเดินรถซ้ายสุดตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกฯ มาตรา 35 วรรคสอง ก็ดี หรือขับรถจักรยานยนต์ ด้วยความเร็วเกินสมควรหรือไม่ก็ดี ไม่ว่าการกระทำของ โจทก์ร่วมที่ 1 จะเป็นการกระทำโดยประมาทหรือไม่ ก็หาทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นการกระทำโดยประมาท กลับเป็นไม่ประมาทไปได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ให้เช่าซื้อในการจัดการจดทะเบียนรถยนต์ให้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้เช่าซื้อสามารถใช้รถยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่ดำเนินการ ผู้ให้เช่าซื้อถือเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์และเป็นผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ย่อมมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่จำเลยผู้เช่าซื้อเพื่อให้จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อ รวมทั้งให้จำเลยสามารถขับรถยนต์นั้นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการให้จำเลยผู้เช่าซื้อได้ใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อตามวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 537 และ 546 โจทก์จึงมีหน้าที่ในการจัดการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายเลขเครื่องยนต์ของรถยนต์ที่ตนเป็นเจ้าของอยู่ให้ถูกต้อง เพื่อให้จำเลยสามารถใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อได้โดยไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยเมื่อจำเลยแจ้งให้โจทก์จัดการทะเบียนแก้ไขหมายเลขเครื่องยนต์แล้ว แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยจึงไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ตั้งแต่นั้น จำเลยย่อมมิใช่ฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากละเมิดทางรถยนต์: ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล, ค่าขาดไร้อุปการะ, และค่าฟื้นฟูสภาพจิตใจ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 บัญญัติไว้ว่าบุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 3 ตาย ถือว่าโจทก์ที่ 3 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร โจทก์ที่ 3จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุหรือในอนาคตเด็กหญิง พ. จะได้อุปการะโจทก์ที่ 3 จริงหรือไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการฝ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส. นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทน คณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตน การจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ การที่เด็กหญิง ส. บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนานจึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิงส. ซึ่งบาดเจ็บสาหัสและต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉม ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6578/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเนื่องจากไม่ชำระค่างวด แม้จะอ้างว่าผู้ขายไม่ดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ให้ถูกต้อง
++ เรื่อง เช่าซื้อ ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส 280 ป้ายแดงไปจากโจทก์ในราคา3,855,140.40 บาท แบ่งชำระราคาเป็นงวด งวดละเดือนมีระยะเวลา 60 เดือน เดือนละ 64,252.34 บาท โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพียง 2 งวด และไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือให้แก่โจทก์อีก
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
++ เห็นว่า ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นหนังสือรับรองการจดทะเบียนมีข้อความระบุว่านายสมชาย วิวัฒน์วิศวกร และนางรัชดา บุญเอกอนันต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ดังนั้นการที่บุคคลทั้งสองมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ฟ้องคดีตามอำนาจที่มีอยู่ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 จึงไม่เป็นโมฆะ
++ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์คงส่งแต่สำเนาจึงรับฟังไม่ได้นั้น ปรากฏตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในคำให้การพยานโจทก์ฉบับลงวันที่ 8 กันยายน 2538ว่า ทนายโจทก์ขอให้ดูหนังสือรับรองดังกล่าวและขอส่งสำเนาแทนศาลหมาย จ.1 ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 (1) ++
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
++ เห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 (ข) ว่า ผู้เช่าซื้อจะดำเนินการจดทะเบียนเพื่อเสียภาษี และเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอและรับป้ายทะเบียนรถยนต์ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมผ่อนชำระค่าเช่าซื้อต่อไป โดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถที่จะเอาหลักฐานการจดทะเบียนเสียภาษีเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอรับป้ายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยมิได้มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้ดังที่อ้าง จึงฟังไม่ขึ้น
++ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาและค่าขาดประโยชน์
++ สำหรับราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาว่าไม่เหมาะสมประการใด ส่วนค่าขาดประโยชน์ซึ่งจำเลยทั้งสองฎีกาว่า ควรให้ได้ไม่เกินเดือนละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้รับฟังได้ดังอ้าง
++ เห็นว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นเหมาะสมแล้ว ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส 280 ป้ายแดงไปจากโจทก์ในราคา3,855,140.40 บาท แบ่งชำระราคาเป็นงวด งวดละเดือนมีระยะเวลา 60 เดือน เดือนละ 64,252.34 บาท โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพียง 2 งวด และไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือให้แก่โจทก์อีก
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
++ เห็นว่า ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นหนังสือรับรองการจดทะเบียนมีข้อความระบุว่านายสมชาย วิวัฒน์วิศวกร และนางรัชดา บุญเอกอนันต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ดังนั้นการที่บุคคลทั้งสองมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ฟ้องคดีตามอำนาจที่มีอยู่ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 จึงไม่เป็นโมฆะ
++ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์คงส่งแต่สำเนาจึงรับฟังไม่ได้นั้น ปรากฏตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในคำให้การพยานโจทก์ฉบับลงวันที่ 8 กันยายน 2538ว่า ทนายโจทก์ขอให้ดูหนังสือรับรองดังกล่าวและขอส่งสำเนาแทนศาลหมาย จ.1 ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 (1) ++
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
++ เห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 (ข) ว่า ผู้เช่าซื้อจะดำเนินการจดทะเบียนเพื่อเสียภาษี และเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอและรับป้ายทะเบียนรถยนต์ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมผ่อนชำระค่าเช่าซื้อต่อไป โดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถที่จะเอาหลักฐานการจดทะเบียนเสียภาษีเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอรับป้ายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยมิได้มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้ดังที่อ้าง จึงฟังไม่ขึ้น
++ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาและค่าขาดประโยชน์
++ สำหรับราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาว่าไม่เหมาะสมประการใด ส่วนค่าขาดประโยชน์ซึ่งจำเลยทั้งสองฎีกาว่า ควรให้ได้ไม่เกินเดือนละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้รับฟังได้ดังอ้าง
++ เห็นว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นเหมาะสมแล้ว ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระภาษีการค้าของผู้ประกอบการ แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ภายหลัง
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระภาษีการค้าโดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ดัดแปลงรถยนต์บรรทุกยี่ห้อเบนซ์ 300 ทีดี เก๋งแวน เป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมินราคารถยนต์และจำนวนภาษีที่จำเลยต้องชำระแล้ว จำเลยก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40) แสดงรายการภาษีการค้าที่ต้องเสียจำนวน 319,440 บาทและชำระในวันยื่นแบบ 50,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระรวม 54 งวดถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการค้าและผูกพันตนที่จะชำระภาษีการค้าตามมาตรา79 ทวิ (5) และ 79 ทวิ วรรคสอง แห่งป.รัษฎากรแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระภาษีการค้าทั้งหมดในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า(ภ.ค.40) การที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวที่มีจำนวนตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ผ่อนชำระเป็นงวดได้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์แก่จำเลยแล้ว ดังนั้น แม้ว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ในภายหลัง จำเลยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าที่ค้างชำระทั้งหมดตามกฎหมายและตามคำร้องที่ยื่นขอผ่อนชำระไว้ หาใช่ว่าหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นของผู้เช่าซื้อรถยนต์ซึ่งเป็นเจ้าของภายหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อแทนไม่ทำให้ผู้รับมอบฉันทะเป็นเจ้าของ
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทะเบียนรถยนต์ไม่มีผลทำให้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อ เพราะผู้มีชื่อในทะเบียนรถยนต์จะเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ต่อเมื่อเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงเท่านั้น
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1330 จะบัญญัติให้สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลมิเสียไปก็ตาม แต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่แท้จริง หากบุคคลดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้นเมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาท จำเลยเป็นผู้ซื้อโดยใส่ชื่อผู้ร้องแทน รถยนต์คันพิพาทจึงเป็นของจำเลย มิใช่ของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยรถยนต์คันพิพาท
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1330 จะบัญญัติให้สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลมิเสียไปก็ตาม แต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่แท้จริง หากบุคคลดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้นเมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาท จำเลยเป็นผู้ซื้อโดยใส่ชื่อผู้ร้องแทน รถยนต์คันพิพาทจึงเป็นของจำเลย มิใช่ของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยรถยนต์คันพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จากการประมูล: ผู้ซื้อที่แท้จริง vs. ตัวแทน
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทะเบียนรถยนต์ไม่มีผลทำให้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อ เพราะผู้มีชื่อในทะเบียนรถยนต์จะเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ต่อเมื่อเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงเท่านั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330จะบัญญัติให้สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลมิเสียไปก็ตามแต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่แท้จริงหากบุคคลดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้น เมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาท จำเลยเป็นผู้ซื้อโดยใส่ชื่อผู้ร้องแทนรถยนต์คันพิพาทจึงเป็นของจำเลย มิใช่ของผู้ร้องผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยรถยนต์คันพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมกับฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างเอกสารสิทธิและเอกสารราชการทั่วไป
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส.สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304 และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตามพระราชบัญญัติรถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265,341 ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย