คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษจากกองทุนเงินบำรุงความสุขของลูกจ้าง จำเลยมีสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์และจ่ายตามระเบียบ หากได้จ่ายแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเพิ่มเติม
การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษแก่ลูกจ้างตามระเบียบการขนส่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2499 นั้น จะต้องมีคณะกรรมการของจำเลยเป็นผู้พิจารณาและกำหนดจำนวนเงิน แต่การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะต้องจ่าย จำเลยจะออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการจ่ายอย่างไรก็ชอบที่จะทำได้ เมื่อคณะกรรมการของจำเลยได้พิจารณาแล้วกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์แต่ละคนรับไปแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์ตามระเบียบการขนส่งของจำเลยโดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินบำเหน็จพิเศษจากจำเลยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษจากกองทุนบำรุงความสุขของนายจ้าง การพิจารณาและการจ่ายตามระเบียบที่ถูกต้อง
การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษแก่ลูกจ้างตามระเบียบการขนส่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2499 นั้นจะต้องมีคณะกรรมการของจำเลยเป็นผู้พิจารณาและกำหนดจำนวนเงิน แต่การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะต้องจ่าย จำเลยจะออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการจ่ายอย่างไรก็ชอบที่จะทำได้ เมื่อคณะกรรมการของจำเลยได้พิจารณาแล้วกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์แต่ละคนรับไปแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์ตามระเบียบการขนส่งของจำเลยโดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินบำเหน็จพิเศษจากจำเลยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การอ้างธรรมเนียมปฏิบัติแทนระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษรใช้ไม่ได้ในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เบิกอะไหล่ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปหลายชิ้นเพื่อซ่อมรถยนต์โดยสารของจำเลย บางชิ้นได้นำไปเปลี่ยนใส่ในรถยนต์โดยสารของจำเลยแล้ว บางชิ้นก็คงเก็บไว้ในตู้เก็บอะไหล่ที่ที่ทำงานของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มีระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรห้ามกระทำ ดังนั้นจำเลยจะเอาธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาเป็นเวลานานแล้วมาอ้างว่าเป็นระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโดยถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัย: การรวมการขาดงานหลายครั้งเพื่อพิจารณาไล่ออกเป็นไปตามระเบียบ
ระเบียบบริษัท ฯ จำเลยว่าด้วยการลาได้กำหนดไว้ว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจะได้รับโทษทางวินัยตามลำดับ คือ ขาดงานครั้งแรกจะถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้าได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 ที่ 2 รวมกับครั้งที่ 3 เกินกว่า 10 วันให้ลงโทษไล่ออกฐานมีพฤติการณ์แสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและข้อบังคับของบริษัท ฯ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ฯ ขาดงาน 3 ครั้ง โดยครั้งแรกขาดงานรวม 7 วัน ครั้งที่ 2 ขาดงานรวม 1 วันครั้งที่ 3 ขาดงานรวม 6 วัน โจทก์ขาดงานทั้งสามครั้งรวม 14 วัน ต้องด้วยระเบียบข้อบังคับของบริษัท ฯ การที่บริษัท ฯ ไล่โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการลงโทษที่ถูกต้องตามระเบียบนั้นแล้ว หาจำเป็นต้องลงโทษตามขั้นตอนตั้งแต่การขาดงานครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ก่อนไม่ เพราะการขาดงานในครั้งที่ 1 และที่ 2 นั้น ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ก็ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษของโจทก์อยู่แล้วซึ่งต้องใช้เวลาบ้าง ทั้งโจทก์ขาดงานในระยะที่ใกล้เคียงกัน บริษัท ฯ จึงนำการขาดงานทั้งสามครั้งมารวมพิจารณาลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยขัดกับระเบียบหรือไม่: การรวมการขาดงานหลายครั้งเพื่อลงโทษไล่ออก
ตามระเบียบของจำเลยมีความว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจักต้องรับโทษทางวินัย คือ ขาดงานครั้งแรกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้า ได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 และ 2 รวมกับครั้งที่ 3 แล้วเกิน 10 วัน ให้ลงโทษไล่ออกฯ โจทก์ขาดงานครั้งแรก 7 วัน ครั้งที่ 2 จำนวน 1 วันครั้งที่ 3 จำนวน 6 วันรวม 3 ครั้ง ขาดงาน 14 วัน ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษการขาดงานครั้งที่ 1 และ 2อยู่แล้ว แต่โจทก์ขาดงานแต่ละครั้งในระยะใกล้เคียงกัน จำเลยยังไม่ทันมีคำสั่งลงโทษตามขั้นตอน โจทก์ก็มาขาดงานครั้งที่ 3 จำเลยจึงนำมารวมพิจารณาลงโทษโดยรวมการขาดงานของโจทก์ทั้งสามครั้งแล้วลงโทษไล่ออกได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดประชุมโดยไม่ได้รับอนุญาตในโรงงานและการลงโทษตักเตือน
ตามระเบียบและข้อบังคับในการทำงานของนายจ้างระบุห้ามเปิดประชุมในบริเวณโรงงานก่อนได้รับอนุญาตจากนายจ้าง ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นกรรมการลูกจ้างได้ร่วมกันถือโอกาสแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประชุมกันระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงาน สรุปว่าพนักงานบางส่วนถูกกลั่นแกล้งไม่ได้รับความเป็นธรรม มีคนข่มขู่และใช้อิทธิพลขอให้ผนึกกำลัง ร่วมกันต่อสู้ โดยกล่าวต่อพนักงานที่กำลังรับประทานอาหารในโรงอาหารในช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน ดังนี้แม้การรับประทานอาหารในช่วงเวลาที่พักมิใช่การมาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือกันก็ตาม แต่ก็เป็นการชุมนุมอย่างหนึ่งอันอยู่ในความหมายของการประชุมด้วย เมื่อมีการประชุมแล้วผู้คัดค้านทั้งสามถือโอกาสกระทำการดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการเปิดประชุมต้องตามระเบียบ ฯ ของนายจ้างแล้ว ผู้คัดค้านทั้งสามกระทำโดยมิได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อนย่อมเป็นการผิดระเบียบ ฯ ดังกล่าวชอบที่นายจ้างจะลงโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตามระเบียบ ฯ นั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การพิสูจน์ความผิดร้ายแรงเป็นสาระสำคัญ หากพิสูจน์ได้เพียงผิดระเบียบ ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับจำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลากิจจำเป็นเร่งด่วน ลูกจ้างมีสิทธิลาได้แม้ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า หากมีเหตุผลอันสมควร และการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้ จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีปลุกระดมและฝ่าฝืนระเบียบ หากนายจ้างไม่เสียหาย ไม่ถือเป็นเหตุร้ายแรง ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้นำเรียกร้องให้จำเลยชี้แจง กรณีด.ลูกจ้างคนหนึ่งของจำเลยถูกตำรวจจับกุมในข้อหาลักทรัพย์ของจำเลยกับนัดแนะให้ลูกจ้างรวมตัวกันเพื่อกระทำการอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยให้ตำรวจชี้แจงในเรื่องดังกล่าวแล้วโจทก์ยังไม่พอใจได้นัดแนะให้ลูกจ้างคอยฟังรายละเอียดในตอนเย็นวันนั้นเมื่อการกระทำของโจทก์ดังกล่าวศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยยังไม่ได้รับความเสียหายกรณีจึงยังไม่เข้าเหตุตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ว่าลูกจ้างได้ทำให้ทรัพย์สินของบริษัทเสียหายซึ่งจำเลยถือเป็นเหตุที่ร้ายแรงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47และยังไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทน (ผู้จัดการธนาคาร) ต่อตัวการ (ธนาคาร) จากการกระทำนอกเหนืออำนาจและการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ได้อนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดต่อระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์การที่จำเลยรายงานยอดบัญชีไปให้โจทก์ทราบทุกสิ้นเดือนทุกหกเดือนและทุกสิ้นปีโดยแจ้งชื่อลูกหนี้และประเภทหนี้รวมทั้งการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีด้วยนั้นการรายงานดังกล่าวเป็นเพียงการรายงานตามที่โจทก์วางระเบียบไว้เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนรายงานกิจการที่ได้กระทำไปต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการแม้โจทก์ทราบการกระทำของจำเลยที่ผิดระเบียบแล้วไม่ทักท้วงคัดค้านก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้สัตยาบันในการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดต่อระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์ ฟ้องโจทก์ที่กล่าวว่าจำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์จำเลยกระทำการเกินอำนาจของผู้จัดการสาขามิได้ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์โดยเคร่งครัดเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการในการที่จำเลยกระทำการนอกเหนืออำนาจที่โจทก์มอบหมายตามป.พ.พ.มาตรา812มีอายุความ10 ปี.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 22