คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐวิสาหกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของรัฐวิสาหกิจในการขนส่งไปรษณีย์ และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้รับประกันภัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 บัญญัติให้การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขต้องบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ ดังนี้ การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 และไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ บริษัทสายการบินอลิตาเลียจำกัดจำเลยที่ 2 มีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศและอนุสัญญาสากลไปรษณีย์ และมิใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยไปรษณียภัณฑ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.เป็นผู้ฝากส่ง จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวสูญหายไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5675/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าซื้อของรัฐวิสาหกิจ และอายุความฟ้องที่ไม่ใช่การเช่าทรัพย์สิน
ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีความว่า โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาซื้อขาย แม้จะไม่ได้ระบุโดยตรงว่าให้ฟ้องเรียก ค่าเช่าซื้อตู้เย็นแช่ปลา แต่ก็ได้ความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำ สัญญาเช่าซื้อตู้เย็นแช่ปลากันโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกัน ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ไม่ปรากฏว่าได้มีการทำสัญญาเช่าซื้อ รายอื่นอีก สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประกอบคำมั่นว่าจะขายถือได้ว่าเป็นซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงฟังได้ว่าโจทก์ ได้มอบอำนาจ ให้ฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวแก่การซื้อขายเครื่องตู้เย็นแช่ปลาแล้วผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นโจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นองค์การของรัฐแม้โจทก์จะดำเนินการให้เช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์ แต่ก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชน ในการอุตสาหกรรมห้องเย็นเป็นหลักสำคัญ ตามมาตรา 6 (1)แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 จึงมิใช่บุคคลที่ดำเนินการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6)อายุความฟ้องคดีของโจทก์จึงมิใช่มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5675/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีซื้อขาย/เช่าซื้อ และอายุความฟ้องของรัฐวิสาหกิจ
ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีความว่า โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาซื้อขาย แม้จะไม่ได้ระบุโดยตรงว่าให้ฟ้องเรียก ค่าเช่าซื้อตู้เย็นแช่ปลา แต่ก็ได้ความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำ สัญญาเช่าซื้อตู้เย็นแช่ปลากันโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกัน ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ไม่ปรากฏว่าได้มีการทำสัญญาเช่าซื้อ รายอื่นอีก สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประกอบคำมั่นว่าจะขายถือได้ว่าเป็นซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงฟังได้ว่าโจทก์ ได้มอบอำนาจ ให้ฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวแก่การซื้อขายเครื่องตู้เย็นแช่ปลาแล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นโจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นองค์การของรัฐแม้โจทก์จะดำเนินการให้เช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์ แต่ก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชน ในการอุตสาหกรรมห้องเย็นเป็นหลักสำคัญ ตามมาตรา 6(1)แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 จึงมิใช่บุคคลที่ดำเนินการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) อายุความฟ้องคดีของโจทก์จึงมิใช่มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ถูกยกเลิก ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยพ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 การที่ได้มี พ.ร.ฎ.ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2528ใช้บังคับ ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยเลิกกิจการเพื่อสะสาง กิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลไปเท่านั้น มาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวให้พึงถือว่าจำเลยยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นต้องชำระบัญชี หามีผลทำให้ลูกจ้างของลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างไปในทันทีไม่ จำเลยจึงต้องบอกเลิกจ้างลูกจ้างและอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 582.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างรัฐวิสาหกิจภายใต้มติคณะรัฐมนตรี: ผลบังคับเมื่อมติออกหลังข้อตกลง
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินที่แตกต่างไปจากทางราชการอยู่ก่อนแล้วก็ให้เป็นไปตามเดิม แต่ถ้าจะกำหนดให้มีการจ่ายเงินสวัสดิการหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์นอกเหนือไปจากที่มีอยู่ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีนั้น ดังนี้ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า จำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรเพิ่มให้แก่พนักงาน เมื่อพนักงานช่วยกันปฏิบัติหน้าที่จนมีผลให้ลดการรั่วไหลของน้ำเพิ่มขึ้นนับจากวันทำข้อตกลงกันและข้อตกลงนั้นมีผลใช้บังคับก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติดังกล่าวแล้วผลการดำเนินงานจะเป็นไปเช่นข้อตกลงก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติข้างต้น จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินหรือปฏิบัติไปตามข้อตกลงเลยและเมื่อกระทรวงการคลังไม่อนุญาตให้จ่ายเงินตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวตามที่จำเลยได้ขอไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเช่นว่านั้นจึงไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างที่ขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีเรื่องสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ: ข้อตกลงไม่มีผลบังคับ
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินที่แตกต่างไปจากทางราชการอยู่ก่อนแล้วก็ให้เป็นไปตามเดิม แต่ถ้าจะกำหนดให้มีการจ่ายเงินสวัสดิการหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์นอกเหนือไปจากที่มีอยู่ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีนั้น ดังนี้ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า จำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรเพิ่มให้แก่พนักงาน เมื่อพนักงานช่วยกันปฏิบัติหน้าที่จนมีผลให้ลดการรั่วไหลของน้ำเพิ่มขึ้นนับจากวันทำข้อตกลงกันและข้อตกลงนั้นมีผลใช้บังคับก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติดังกล่าว แล้วผลการดำเนินงานจะเป็นไปเช่นข้อตกลงก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติข้างต้น จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินหรือปฏิบัติไปตามข้อตกลงเลยและเมื่อกระทรวงการคลังไม่อนุญาตให้จ่ายเงินตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวตามที่จำเลยได้ขอไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเช่นว่านั้นจึงไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติสัญชาติไทย: ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และเงินบำเหน็จ
การที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยนั้นถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแต่นายจ้างไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีดังกล่าว เพราะเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติ มิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582มาใช้บังคับไม่ได้ ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นหนี้เงินที่กฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้ว นายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างโดยลูกจ้าง มิพักต้องทวงถาม ส่วนเงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระแต่เมื่อใดนายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736-2738/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจ่ายบำเหน็จขัดมติคณะรัฐมนตรี: สัญญาไม่มีผลผูกพันรัฐวิสาหกิจ
บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้แทนของจำเลยกับผู้แทนสหภาพโรงแรมเอราวัณที่ตกลงจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงาน เมื่อเลิกจ้าง ถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงสวัสดิการที่อาจคิดเป็นตัวเงินได้ตามความหมายของมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 15 กันยายน 2524 ซึ่งห้ามมิให้รัฐวิสาหกิจใดกระทำการดังกล่าวเป็นอันขาดเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ทั้งพนักงานของจำเลยก็เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติดังกล่าวด้วยเช่นกัน การที่ผู้แทนของจำเลยและผู้แทนของสหภาพแรงงานโรงแรมเอราวัณตกลงกันจ่ายเงินบำเหน็จอันเป็นการปรับปรุงสวัสดิการโดยฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี จึงไม่มีผลบังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736-2738/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะรัฐมนตรีห้ามปรับปรุงสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ การตกลงจ่ายบำเหน็จขัดต่อมติฯ ไม่มีผลบังคับ
บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้แทนของจำเลยกับผู้แทนสหภาพโรงแรมเอราวัณที่ตกลงจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานเมื่อเลิกจ้าง ถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงสวัสดิการที่อาจคิดเป็นตัวเงินได้ตามความหมายของมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 15 กันยายน2524 ซึ่งห้ามมิให้รัฐวิสาหกิจใดกระทำการดังกล่าวเป็นอันขาดเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ทั้งพนักงานของจำเลยก็เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติดังกล่าวด้วยเช่นกัน การที่ผู้แทนของจำเลยและผู้แทนของสหภาพแรงงานโรงแรมเอราวัณตกลงกันจ่ายเงินบำเหน็จอันเป็นการปรับปรุงสวัสดิการโดยฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี จึงไม่มีผลบังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องร้องค่าชดเชยก่อนเกิดข้อพิพาท: กรณีเกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 11 บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเช่น พนักงานยาสูบที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ 2530 พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ อันหมายถึงสิ้นเดือนกันยายน 2530 ซึ่งจำเลยจะต้องดำเนินการให้พนักงานยาสูบผู้นั้นออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2530 เป็นต้นไป และทำให้พนักงานยาสูบดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนับแต่วันเลิกจ้าง หากจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ก็ต้องถือว่าพนักงานยาสูบผู้นั้นถูกโต้แย้งสิทธินับแต่วันดังกล่าว แต่ขณะที่สหภาพแรงงานโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่มีพนักงานยาสูบซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์คนใดถูกโต้แย้งสิทธิในกรณีเช่นว่านี้ ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าตามคำขอของโจทก์ได้.
of 18