พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีอากรที่ฟ้องล้มละลายแล้ว แม้ขาดอายุความ ก็มิอาจยกเป็นเหตุห้ามรับชำระหนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจยกอายุความมาเป็นเหตุยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ หากเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยลูกหนี้ให้เป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้อย่างเดียวกัน ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีถึงที่สุด เพราะหากหนี้ขาดอายุความ ศาลย่อมไม่ฟังว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้โดยสุจริตจากตัวแทนที่จำเลยมิได้แจ้งยกเลิกอำนาจ จำเลยต้องรับผิดชอบ
การที่โจทก์ขายปุ๋ยพิพาทให้ก็โดยเชื่อว่า ธ.มีอำนาจสั่งซื้อปุ๋ยแทนจำเลยได้ตามเอกสาร และที่เคยปฏิบัติต่อกันเรื่อยมาจากการสั่งซื้อปุ๋ย 2 คราวก่อน การเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้ช่วยผู้จัดการของจำเลยที่ให้เป็นตัวแทน จำเลยก็มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนี้ จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้กระทำการโดยสุจติรและต้องเสียหายจากการนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้หลังศาลกลับคำพิพากษาคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอไว้แล้วไม่ต้องยื่นใหม่
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องคดีที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้พิทักษ์ทรัพย์ตามศาลชั้นต้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการต่อไปจากเดิมได้ ไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใหม่ ซึ่งเพียงแต่เจ้าหนี้ที่ยังไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระไว้เดิมยื่นคำขอเข้ามาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่มหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ยังมิได้แจ้งการประเมิน
ลูกหนี้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกคำสั่งให้ลูกหนี้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา22แต่ยังไม่ทันได้แจ้งให้ลูกหนี้ทราบคำสั่ง ลูกหนี้ก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้เสียก่อน กรมสรรพากรผู้ร้องจึงมาขอรับชำระหนี้ดังนี้ เงินที่ลูกหนี้จะต้องเสียอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถือว่าเป็นเงินภาษีอากรและถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลก็มีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วย แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ก็ตามแต่มูลหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มได้เกิดขึ้นแล้วก่อนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการแจ้งคำสั่งประเมินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว กรมสรรพากรผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าหนี้ทราบถึงหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
ปัญหาที่ว่า หนี้ที่ขอรับชำระเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้น เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ดีถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(2) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิใช่เป็นประเด็นที่ได้เคยยกขึ้นว่ากันมาแต่แรก เจ้าหนี้ผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าหนี้ทราบถึงสถานะหนี้สินของลูกหนี้
ปัญหาที่ว่า หนี้ที่ขอรับชำระ เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้น เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ดีถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(2) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิใช่เป็นประเด็นที่ได้เคยยกขึ้นว่ากันมาแต่แรก เจ้าหนี้ผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้บุริมสิทธิและเจ้าหนี้สามัญ การเปลี่ยนแปลงฐานะเจ้าหนี้หลังการยื่นคำร้อง
เดิมโจทก์ขอให้บังคับคดีนำยึดและขายทอดตลาดที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสองจำนองกับโจทก์เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่าเงินขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงขอให้ยึดที่ดินโฉนดที่ 9096 และ 9097 ซึ่งจำเลยที่ 1 จำนองไว้กับโจทก์เช่นกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าตามสัญญาจำนองที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์รวมดอกเบี้ยด้วยเป็นเงิน 609,924.58 บาทศาลชั้นต้นอนุญาต และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวได้เงิน 1,290,000 บาท เมื่อหักหนี้บุริมสิทธิให้โจทก์ก่อนแล้ว ยังมีเงินเหลือที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินที่เหลือนี้ได้ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ส่วนที่เกินบุริมสิทธิของโจทก์คือขอเฉลี่ยเงินที่เหลือจากการชำระหนี้แก่โจทก์ โดยขอรับเฉลี่ยในฐานะเจ้าหนี้สามัญซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องได้เข้าเฉลี่ยหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ ดังนี้ ผู้ร้องจะมาอ้างขึ้นใหม่ว่าจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ หรือเจ้าหนี้จำนองอันดับ 2 ก่อนเจ้าหนี้สามัญในภายหลังอีกหาได้ไม่ ต้องฟังว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในฐานะบุริมสิทธิ จะเฉลี่ยหนี้โดยหักหนี้บุริมสิทธิของโจทก์เงินที่เหลือเอาชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้อง และเมื่อมีเงินเหลือจากการชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้องแล้ว จึงนำไปเฉลี่ยเป็นหนี้สามัญระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเช็คเข้าบัญชีก่อนกำหนด ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิไล่เบี้ยก่อนถึงกำหนด เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้
การที่เจ้าหนี้ผู้ทรงเช็ค(โจทก์) เป็นแต่เพียงนำเช็คที่จำเลยลูกหนี้เป็นผู้สั่งจ่ายไปเข้าบัญชีของตนที่ธนาคาร ก.ก่อนเช็คถึงกำหนด 1 วัน ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คมีสิทธิที่จะทำเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวเรียกเก็บเงินจากธนาคารเจ้าของเช็คเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระตามวิธีการของธนาคารนั้นเอง เมื่อธนาคาร ก. ด่วนเรียกเก็บเงินไปยังธนาคารเจ้าของเช็ค และธนาคารเจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่าเงินในบัญชีจำเลยลูกหนี้ไม่พอจ่ายในวันเดียวกันนั้นเองนั้น เป็นเรื่องการปฏิบัติงานในระหว่างธนาคารกับธนาคาร จะถือว่าผู้ทรงเช็คใช้สิทธิไล่เบี้ยลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายก่อนเช็คถึงกำหนดหาได้ไม่ เมื่อธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้น ทั้งเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คได้ทวงถามให้ลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายชำระเงินตามเช็คหลายครั้งแล้วลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายก็แจ้งว่าไม่มีเงินชำระ ดังนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามเช็ครายนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย, อายุความภาษีอากร, การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จำนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลกฎรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนกังาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยผลแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ.2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์เด็ดขาด ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลกฎรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนกังาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยผลแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ.2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์เด็ดขาด ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าปรับรายวันในคดีล้มละลาย: สิทธิการรับชำระหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เงินค่าปรับและค่างานที่สูงขึ้นที่ลูกหนี้ (จำเลย) ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างทางและค้างชำระอยู่ แม้จะปรากฏว่าเหตุผิดสัญญาที่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับการชำระเงินค่าปรับจากลูกหนี้มีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก่เจ้าหนี้เป็นรายวัน ไปทุกวันที่ยังผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้เงินค่าปรับดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเป็นรายวันไป ฉะนั้น มูลหนี้ค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระได้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เพราะเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย