พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาตลาด: ศาลฎีกาตัดสินให้ใช้ราคาซื้อขายจริงเป็นเกณฑ์
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 มิได้บังคับว่าหากในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานทะเบียนที่ดินแล้ว จะต้องถือเอาราคาที่ดินของกรมที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาเป็นเกณฑ์ การที่จำเลยที่ 2 ถือเอาราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์จึงไม่ถูกต้องเพราะมิใช่ราคาซื้อขายกันในท้องตลาด โจทก์จึงมีอำนาจขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดได้ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯ ใช้บังคับ ไม่มีการซื้อขายที่ดินบริเวณที่ถูกเวนคืนการที่โจทก์นำสืบว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่มีสภาพและทำเลที่ตั้งเช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์ ในราคาตารางวาละ 15,000 บาทจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลจะใช้ดุลพินิจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบเพื่อคำนวณหาราคาที่ดินของโจทก์ตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับได้ จะถือว่าโจทก์ไม่นำสืบจึงต้องถือตามที่จำเลยที่ 2กำหนดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากราคาตลาดและวันนำเข้าสินค้า
วันนำสินค้าเข้า หมายถึงวันที่ยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร มิใช่วันที่ผู้นำเข้ายื่นใบขนสินค้าเพื่อชำระภาษีอากร เมื่อสินค้าของโจทก์และของบริษัทท.นำเข้าวันเดียวกันโดยเรือลำเดียวกันแม้โจทก์จะยื่นใบขนสินค้าก่อนก็ไม่ถือว่าโจทก์และบริษัทท.ได้นำสินค้าเข้ามาต่างวันกันการเปรียบเทียบราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ากับราคาสินค้าที่บริษัทท.นำเข้าซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนโจทก์เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง จึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินระหว่างบริษัทในเครือด้วยราคาต่ำกว่าตลาด มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินราคาตามตลาด
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประเภทบริษัทการค้าระหว่างประเทศมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยปีแรกโจทก์จะต้องส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท ปีที่สองไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท ปีที่สามกับปีต่อ ๆ ไปต้องไม่น้อยกว่า500 ล้านบาท การที่โจทก์จำเป็นต้องโอนกิจการด้านการตลาดภายในประเทศพนักงานของโจทก์อีกกว่า 700 คน รวมทั้งสินทรัพย์และหนี้สินจำนวน300 ล้านบาทเศษ ไปให้บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ก็เพื่อไปทำกิจการด้านการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศให้ได้ตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และแม้โจทก์กับบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด จะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน แต่ก็มีส่วนได้เสียผูกพันกันอยู่ เนื่องจากเป็นบริษัทในเครือซีเมนต์ไทยเดียวกันโดยบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ในขณะนั้นเกือบร้อยละ 70 ของหุ้นจดทะเบียนทั้งสิ้น 120,000,000 บาทดังนั้นที่โจทก์โอนขายที่ดินให้แก่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัดในราคาตามบัญชีซึ่งต่ำกว่าราคาตลาด จึงเป็นการโอนโดยมีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินย่อมไม่มีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดหุ้นเนื่องจากราคาขายต่ำกว่าราคาตลาดอย่างมาก ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย
แม้ว่าการขายทอดตลาดหุ้นของบริษัท อ. มีผู้เข้าประมูลสู้ราคากันหลายรายรวมทั้งตัวแทนโจทก์ก็เข้าประมูล สู้ราคาด้วย ซึ่งแสดงว่าการดำเนินการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ส่อพฤติการณ์ ทุจริตก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 10 บาท หุ้นของจำเลย 1,000 หุ้น จึงแตกออกเป็น 10,000 หุ้น และมี ราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ ขายทอดตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 985,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคา ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้แก่ผู้คัดค้านในราคา 152,000 บาทอย่างมาก เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียอมรับว่าหากในขณะที่ประมูลซื้อขายกันตนทราบว่าหุ้นทั้งหมดมีราคาประมาณ 900,000 บาท ก็จะไม่อนุมัติให้ขาย กรณีจึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี ขายหุ้นพิพาทไปโดยหลงผิด ทำให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม คำพิพากษาเสียหาย ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ที่โจทก์จะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5656/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลูกหนี้และการลดหย่อนภาษี: ศาลฎีกาวินิจฉัยการให้ส่วนลดในการโอนลูกหนี้เป็นเหตุผลสมควร ไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาด
การที่โจทก์โอนลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินตามฟ้องสืบเนื่องมาจากโจทก์จัดรูปแบบการดำเนินกิจการใหม่เป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศจึงได้โอนกิจการขายสินค้าภายในประเทศทั้งหมดให้แก่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทโจทก์ การโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทของโจทก์จึงมิได้เกี่ยวข้องกับหนี้สูญ ไม่ใช่กรณีมีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แม้ว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามบัญชีลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินจะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่ยังไม่แน่นอนว่าผู้รับโอนจะได้รับครบถ้วนหรือไม่ เพราะเมื่อหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้บางรายอาจไม่อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ ในการทำสัญญาโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทนั้น ผู้รับโอนจะยังไม่ได้ประโยชน์ตามสัญญาจนกว่าหนี้จะถึงกำหนดชำระและผู้รับโอนได้รับชำระหนี้แล้ว การให้ส่วนลดแก่ผู้รับโอนในการโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทจึงมีเหตุผล และที่โจทก์ให้ส่วนลดในอัตราร้อยละ 15สำหรับการโอนลูกหนี้การค้านั้น โจทก์คิดคำนวณจากสถิติการเก็บหนี้จากลูกหนี้การค้าย้อนหลังเป็นเวลาหลายปีจึงเป็นอัตราที่สมควรส่วนที่โจทก์ให้ส่วนลดในอัตราร้อยละ 2.5 สำหรับทั้งการโอนลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินเพื่อชดเชยการที่หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระนั้น โจทก์กำหนดขึ้นโดยคิดคำนวณจากระยะเวลาโดยเฉลี่ยของหนี้ที่โอนทั้งหมดว่าจะถึงกำหนดชำระภายใน 2 เดือนนับแต่วันฟ้อง จึงกำหนดอัตราร้อยละ 2.5 ต่อระยะเวลา 2 เดือนซึ่งก็คืออัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั่นเอง ถือได้ว่าเป็นอัตราที่สมควรเช่นกัน จะถือว่าเป็นการโอนทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ต้องอ้างอิงราคาตลาดจริงและบทวิเคราะห์ใน พ.ร.บ.ศุลกากร ไม่ใช่แค่ระเบียบภายใน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ได้บัญญัติให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจออกข้อบังคับสำหรับกรมตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและบังคับการให้เป็นไปตามนั้น นั้น ตามบทบัญญัติมาตรานี้ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรออกข้อบังคับเพื่อควบคุมบรรดาพนักงานทั้งหลายในกรมศุลกากรในฐานะอธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้บังคับบัญชาเท่านั้น มิได้ให้อำนาจออกระเบียบปฏิบัติกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินราคาของโดยไม่คำนึงถึงบทกฎหมายมาตราอื่น ดังนั้น คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 จึงจะนำมาเป็นข้อกำหนดในการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์เพียงลำพังไม่ได้ จะต้องปฏิบัติตามบทวิเคราะห์ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นหลัก และที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2464มาตรา 13 ได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรมศุลกากรเป็นผู้ทำการตีราคาของเพื่อประเมินภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตีราคาก็จะต้องนำหลักเกณฑ์ตามบทวิเคราะห์ในมาตรา2 วรรคสิบสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปฏิบัติ จะตีราคาตามอำเภอใจไม่ได้ ส่วนคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ที่ 47/2531 คำสั่งกองประเมินอากร ที่ 12/2519 คำสั่งร่วมกองพิธีการและประเมินอากรและกองวิเคราะห์ราคา ที่ 1/2527 และที่ 2/2527 และรายงานการประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาเกี่ยวกับราคาก็เป็นระเบียบปฏิบัติภายในของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจะนำมาเป็นหลักเกณฑ์ว่าราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ตีหรือประเมินไปนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำราคาอะไหล่ยานยนต์ประเภทและชนิดเดียวกัน ณ เวลาและสถานที่ที่นำของเข้ามาจากที่เดียวกันมาเทียบเคียงแล้ว ก็ย่อมไม่อาจหักล้างได้ว่าราคาสินค้าตามที่โจทก์ที่ 1 สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ทั้งนี้ ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1ได้สำแดงราคาในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าดังกล่าวตรงกับราคาที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า และราคาดังกล่าวเป็นราคาเดียวกันกับราคาที่โจทก์ที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งตรงกับราคาสินค้าในสัญญาซื้อขายและตรงกับราคาสินค้าตามบัญชีราคาสินค้าที่บริษัทผู้ขายส่งมาให้ ทั้งไม่ปรากฏว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ได้มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด ราคาที่โจทก์ที่ 1 สำแดงจึงถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ล้มละลายคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากราคาต่ำกว่าราคาตลาด และการเพิกถอนการขายทอดตลาด
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2ตาม มาตรา 22 คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้ แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่าราคาขายทอดตลาดดังกล่าวต่ำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการประเมินราคาศุลกากรและพิกัดอัตราภาษีที่ถูกต้องตามราคาตลาดและข้อเท็จจริง
การขัดผิวหรือทำกระจกให้ใส อันจะพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่70.06 นั้น ไม่จำต้องกระทำด้วยกรรมวิธีทางเครื่องมือกลแต่เพียงอย่างเดียว การผลิตกระจกโดยใช้กรรมวิธีชั้นสูงที่ทำให้ผิวหน้ากระจกราบเรียบ เป็นเงาใสโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีกก็คือเป็นการทำให้กระจกได้รับการตกแต่งโดยขัดผิวหรือทำให้ใสแล้ว การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดี จะต้องใช้บทกฎหมายที่มีผลบังคับอยู่ขณะที่มีการนำเข้า ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายของสภาความร่วมมือทางศุลกากร เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ราคาสินค้าที่นำเข้า จะต้องประเมินจากราคาขายส่งเงินสด(ไม่รวมอากรขาเข้า) หรือจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่นำของเข้า ส่วนราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้นั้น เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษีมิได้เป็นข้อตายตัวว่าสินค้าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวเสมอไป และการที่โจทก์เคยยื่นบัญชีราคาสินค้าต่อจำเลยไว้ และไม่มีการแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงราคาจะถือเอาว่าราคาสินค้ามีราคาเดิมตลอดมาก็ไม่ได้เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การหักลดหย่อนราคาสินค้าคงเหลือที่เสื่อมสภาพ การพิสูจน์ราคาตลาดตามความเป็นจริง
เมื่อสินค้าคงเหลือเป็นสินค้าเสื่อมราคาและมีราคาตลาดเพียงร้อยละ 15 ของราคาทุน การตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามราคาตลาดซึ่งต่ำกว่าราคาทุนในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงเป็นไปตามเงื่อนไขของประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาสินค้าคงเหลือต่ำกว่าราคาทุนตามราคาตลาด กรณีสินค้าเสื่อมสภาพและมีราคาตลาดต่ำกว่าทุน
เมื่อสินค้าคงเหลือเป็นสินค้าเสื่อมราคาและมีราคาตลาดเพียงร้อยละ 15 ของราคาทุน การตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามราคาตลาด ซึ่งต่ำกว่าราคาทุนจึงเป็นไปตามเงื่อนไขของประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6)