คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: สัญญาเช่าที่ไม่ผูกพันผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยที่1ออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ว. เจ้าของที่ดินเดิมและ ว. ยินยอมให้จำเลยที่1นำตึกแถวดังกล่าวไปให้จำเลยที่2เช่ามีกำหนด20ปีสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ว. กับจำเลยที่1ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิผูกพันเฉพาะคู่สัญญาส่วน ข้อตกลงที่ว่าเมื่อครบกำหนด20ปีแล้วให้ตึกแถวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว. แต่ข้อตกลงดังกล่าวมิได้นำไปจดทะเบียนสิทธิเป็นสิทธิเหนือพื้นดินจึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้นไม่มีผลผูกพันโจทก์ผู้ซื้อที่ดินซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่1แม้โจทก์ทราบสัญญานี้ก็ไม่ผูกพันโจทก์เพราะโจทก์มิได้ยินยอมตกลงกับจำเลยที่1ด้วย ส่วนจำเลยที่2นั้นแม้จะ จดทะเบียนการเช่าตึกแถวกับจำเลยที่1มีกำหนด20ปีก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่1ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้แล้วต้องถือว่าจำเลยที่2เป็น บริวารของจำเลยที่1จึงต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเมื่อเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองตึกแถวพิพาทไว้จากจำเลยชอบที่จะใช้สิทธิเพื่อให้ตนได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 วรรคแรก เท่านั้น แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ตึกแถวพิพาทซึ่งจำเลยปลูกอยู่ใช้สิทธิบังคับคดีขับไล่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวดังกล่าวออกไปย่อมไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหรือผู้ร้องเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวกับตึกแถวพิพาท ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดและระงับการรื้อถอนตึกแถวพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเมื่อเจ้าของที่ดินบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง – ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดี
โจทก์ใช้สิทธิบังคับคดีขับไล่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองตึกแถวดังกล่าวไว้จากจำเลยชอบเพียงที่จะใช้สิทธิเพื่อให้ตนได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289วรรคแรกเท่านั้นผู้ร้องจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีเกี่ยวกับตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9322/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง แม้ผู้บุกรุกอ้างอาศัยบุคคลอื่น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่ตามสำเนาโฉนดท้ายฟ้องจำเลยให้การเพียงว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ข.โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยอาศัยบ้านข.อยู่ไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธว่าที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องอย่างไร หรือ ข.เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้อย่างไร จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า โจทก์อ้างส่งโฉนดที่ดินพิพาทและสัญญาให้ที่ดินพิพาทต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่คัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยเพียงแต่ขอสืบพยานบุคคลตามคำให้การดังกล่าวเท่านั้น ดังนี้เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และเอกสารของโจทก์ดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์และสามีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยชัดแจ้งแล้วกรณีไม่มีความจำเป็นที่จะสืบพยานต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ จำเลยครอบครองบ้านพิพาทโดยอ้างว่าอาศัยบุคคลอื่นอยู่ข้ออ้างดังกล่าวย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ต่อไปโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่ให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8261/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
อาคารชั้นเดียวขนาด4.00x3.00เมตรที่ก่อสร้างต่อเติมขึ้นใหม่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76(1)ซึ่งเป็นกรณีไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนอาคารสูง4ชั้นที่จำเลยต่อเติมนั้นเมื่อรื้ออาคารชั้นเดียวแล้วก็จะทำให้มีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมเกินกว่า30ใน100ส่วนของพื้นที่และยังมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันไม่น้อยกว่า2.00เมตรซึ่งจะไม่ขัดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76(1)(4)ดังนั้นการที่จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารสูง4ชั้นจึงเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ซึ่งโจทก์มีอำนาจสั่งให้จำเลยยื่นคำขอใบรับอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา43 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารชั้นเดียวขนาด4.00x4.00เมตรปรากฏว่าอาคารดังกล่าวโจทก์มิได้ขอให้รื้อถอนและไม่มีอาคารดังกล่าวอยู่ในที่ดินของจำเลยที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงอาคารดังกล่าวมาเป็นการบรรยายโดยสับสนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวด้วยนั้นจึงไม่ชอบศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารและการรื้อถอนส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร โดยคำนึงถึงอาคารเดิมที่สร้างก่อนมีข้อบัญญัติ
จากแบบแปลนแผนผังที่นายตรวจอาคารงานโยธาทำขึ้นไม่ปรากฏว่ามีห้องน้ำห้องส้วมในตัวอาคาร แสดงว่าขณะที่จำเลยซื้อบ้านพิพาทมีห้องน้ำห้องส้วมรวมกันอยู่ติดกับรั้วกว้างประมาณ 1 วา ยาวประมาณ 1 วาเศษ ต่อมาจำเลยได้แบ่งซอยห้องน้ำห้องส้วม เดิมเป็นสองห้องใหม่โดยไม่ปรากฏว่ามีการเพิ่มหรือขยายพื้นที่ จึงไม่ทำให้พื้นที่ว่างเดิมลดน้อยลง อาคารของจำเลยได้ก่อสร้างมาก่อนพ.ศ.2522 ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479เป็นอาคารที่สร้างขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายมีพื้นที่ว่างไม่ถึงร้อยละ 30 แม้จะขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็หามีผลย้อนหลังใช้บังคับแก่อาคารของจำเลยได้ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรื้อถอนห้องน้ำห้องส้วมที่แบ่งซอย
ห้องส้วมอีก 4 ห้อง ขนาด 1.20 x 1.30 เมตร สูง 2 เมตรเป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้จะก่อสร้างอยู่ใต้ชายคาเดิมเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้ความว่ามีบางส่วนด้านที่ติดกับรั้วบ้านเลขที่8/10 ล้ำออกไปจากชายคาประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้เหลือที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมลดลงไปกว่าเดิม และน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 76 (1) และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนห้องส้วมจำนวน 4 ห้อง ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดิน, สิทธิการเช่าซื้อ, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องขอค่าเสียหายเดือนละ2,500บาทนับแต่วันฟ้องโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในค่าเสียหายในอนาคตนับแต่วันฟ้องอีกด้วยส่วนค่าเสียหายก่อนฟ้องนั้นโจทก์ไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระแต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบขอค่าเสียหายเดือนละ2,500บาทจนกว่าจำเลยทั้งสองจะออกไปจากที่พิพาทโดยโจทก์ไม่ได้เบิกความขอดอกเบี้ยในค่าเสียหายจึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะเอาดอกเบี้ยในค่าเสียหายเป็นเดือนๆอีกที่ศาลอุทธรณ์กำหนดดอกเบี้ยให้โจทก์ได้รับอีกนั้นจึงไม่ชอบ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเกิน200บาทแต่ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลอนาคต100บาทจึงให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจำนวน100บาทให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7629/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีหมดประโยชน์พิจารณาเมื่อจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์
ภายหลังโจทก์ยื่นฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้รื้อบ้านที่โจทก์ฟ้องออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้ว คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาพิพากษาฎีกาของโจทก์อีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7370/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างโดยเชื่อคำสั่งของเจ้าพนักงาน ย่อมได้รับการยกเว้นโทษฐานบุกรุก
โจทก์ครอบครองเพิงไม้ที่ปลูกอยู่ติดกับข้างอาคารพาณิชย์ที่จำเลยที่ 1 เช่าจากเทศบาลตำบลปากช่อง ซึ่งเทศบาลตำบลปากช่องแจ้งให้ภริยาโจทก์รื้อถอนเพิงไม้ดังกล่าว แต่ภริยาโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นเจ้าของเพิงไม้นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปากช่องจึงสั่งให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนเพิงไม้ จำเลยที่ 1 เชื่อว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นแม้การที่จำเลยที่ 1 กับพวกรื้อถอนเพิงไม้จะเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 362 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ย่อมได้รับยกเว้นโทษตาม ป.อ. มาตรา 70

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6588/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ทำให้ระยะเวลาเริ่มใหม่
จำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์เมื่อเดือนสิงหาคมหรือกันยายน 2532 แต่โจทก์ยื่นฟ้องเอาคืนการครอบครองเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองโจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง
ระหว่างที่จำเลยเข้าไปแย่งการครอบครอง แม้โจทก์จะรื้อถอนกระท่อมที่จำเลยปลูกแล้วก็ตาม แต่จำเลยก็ยังไม่ได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทกรณีจึงไม่ต้องเริ่มนับระยะเวลาการแย่งการครอบครองใหม่
of 40