คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ร้องสอด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อใช้สิทธิเพิ่มเติม และผลกระทบเมื่อจำเลยเดิมขาดนัด
ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม มาตรา 57(2) ใช้สิทธินอกจากที่จำเลยเดิมมีอยู่ในขณะร้องสอด จำเลยเดิมขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ผู้ร้องสอดจึงยื่นคำให้การและสืบพยานตามข้อต่อสู้ไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาว่าผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียหรือไม่ ไม่อนุญาตให้ร้องสอด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดี – การเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสิทธิ – มาตรา 57(1) vs 57(2) และข้อห้ามตามมาตรา 58
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง จึงขอเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสงวนสิทธิของผู้ร้องโดยจะยื่นคำให้การภายใน 8 วัน นับแต่ศาลสั่งอนุญาต ดังนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องตั้งข้อพิพาทเข้ามาเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ เพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 58 ที่จะใช้สิทธิในทางขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิม ดังนั้น แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิร้องสอดได้เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานศาลย่อมรับคำร้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดี: สิทธิในการต่อสู้คดีเพื่อรักษาสิทธิของตน และการรับคำร้องสอดเมื่อยังไม่มีการสืบพยาน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทเป็นของผู้ร้องจึงขอเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสงวนสิทธิของผู้ร้องโดยจะยื่นคำให้การภายใน 8 วัน นับแต่ศาลสั่งอนุญาต ดังนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องตั้งข้อพิพาทเข้ามาเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์เพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 58 ที่จะใช้สิทธิในทางขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิมดังนั้น แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การผู้ร้องก็ยังมีสิทธิร้องสอดได้เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานศาลย่อมรับคำร้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้รับพินัยกรรม ต้องมีส่วนได้เสียต่างจากจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ แล้วกลับนำไปโอนขายให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ ท.แต่ผู้เดียว เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลย ให้จำเลยในฐานะผู้รับมรดกปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ ท.ทำไว้กับโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่พิพาทและจดทะเบียนรับโอนมาโดยสุจริต ขอให้ยกฟ้อง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่าที่พิพาทนี้ ท.ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องสอด และสัญญาที่ ท.โอนขายให้จำเลยนั้น ทำโดยสมยอม ไม่มีเจตนาจะซื้อขายกันจริง เจตนาเพื่อหลีกเลี่ยงบังคับตามสัญญาที่ ท.ทำไว้กับโจทก์เท่านั้น จึงขอร้องสอดเข้ามาในคดีแทนจำเลยในฐานที่เป็นผู้รับมรดก ศาลชั้นต้นสอบถามแล้ว ผู้ร้องสอดแถลงว่า ผู้ร้องสอดได้ฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยกับ ท.ทำนองเดียวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลย ดังนี้ เท่ากับผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในที่พิพาทแต่อย่างใดเลย ผู้ร้องสอดเท่านั้นที่มีส่วนได้เสียโดยพินัยกรรม ส่วนได้เสียของผู้ร้องสอดและของจำเลยจึงมิได้ร่วมกันหรือแทนที่กัน ซึ่งจะเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ศาลจึงชอบที่จะสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาดำเนินคดีแทนที่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดที่ไม่อนุญาตเนื่องจากส่วนได้เสียไม่ร่วมหรือแทนที่กัน ผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสีย
โจทก์ฟ้องว่า ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ แล้วกลับนำไปโอนขายให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ ท. แต่ผู้เดียวเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่าง ท. กับจำเลยให้จำเลยในฐานะผู้รับมรดกปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ ท. ทำไว้กับโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่พิพาทและจดทะเบียนรับโอนมาโดยสุจริต ขอให้ยกฟ้องผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่าที่พิพาทนี้ท. ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องสอดและสัญญาที่ท. โอนขายให้จำเลยนั้นทำโดยสมยอม ไม่มีเจตนาจะซื้อขายกันจริงเจตนาเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับตามสัญญาที่ ท. ทำไว้กับโจทก์เท่านั้นจึงขอร้องสอดเข้ามาในคดีแทนที่จำเลยในฐานะที่เป็นผู้รับมรดกศาลชั้นต้นสอบถามแล้วผู้ร้องสอดแถลงว่าผู้ร้องสอดได้ฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยกับ ท. ทำนองเดียวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยดังนี้ เท่ากับผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในที่พิพาทแต่อย่างใดเลยผู้ร้องสอดเท่านั้นที่มีส่วนได้เสียโดยพินัยกรรมส่วนได้เสียของผู้ร้องสอดและของจำเลยจึงมิได้ร่วมกันหรือแทนที่กันซึ่งจะเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ศาลจึงชอบที่จะสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาดำเนินคดีแทนที่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และผลกระทบต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยร่วมที่ 7 ร้องสอดอ้างว่าที่พิพาทตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โจทก์ไม่ใช่เจ้าของ และจำเลยไม่มีอำนาจนำที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพลการ สัญญาไม่มีผลบังคับจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องได้มีอยู่ จึงร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ดังนี้ แม้คำร้องจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลสอบถามผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดก็แถลงยืนยันขอเป็นจำเลยร่วมก็ดีแต่เนื้อความแห่งคำร้อง การระบุมาตรา แสดงเหตุแห่งการขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามจึงเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1)
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7 แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57 (1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วย จึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดตามมาตรา 57(1) เพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และผลกระทบต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยร่วมที่ 7 ร้องสอดอ้างว่าที่พิพาทตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โจทก์ไม่ใช่เจ้าของ และจำเลยไม่มีอำนาจนำที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพลการ สัญญาไม่มีผลบังคับจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องได้มีอยู่จึงร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ดังนี้ แม้คำร้องจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลสอบถามผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดก็แถลงยืนยันขอเป็นจำเลยร่วมก็ดีแต่เนื้อความแห่งคำร้อง การระบุมาตรา แสดงเหตุแห่งการขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามจึงเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57(1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วยจึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด: สิทธิการร้องสอดคดีตั๋วเงิน
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ในคดีที่ห้างหุ้นส่วนถูกฟ้องให้ใช้หนี้ตามตั๋วเงิน จึงร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมไม่ได้ เมื่อศาลสั่งยกคำร้องสอด และเพิกถอนคำสั่งที่รับเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้ร้องบางคนไว้แล้ว ผู้ร้องอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมไม่ผูกพันผู้ซื้อจากจำเลย จึงไม่อนุญาตให้ร้องสอด
คำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมไม่ผูกพันผู้ที่อ้างว่าซื้อที่พิพาทจากจำเลย จึงไม่อนุญาตให้ร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเป็นจำเลยร่วมในคดีขาดนัดยื่นคำให้การ สิทธิผู้ร้องต้องไม่ขัดกับจำเลยเดิม
โจทก์ยื่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกจากตึกรายพิพาท จำเลยมิได้ยื่นคำให้การและศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้วภริยาจำเลยจะร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่ามีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) หาได้ไม่ เพราะการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความดังกล่าวนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 บัญญัติว่าผู้ร้องจะใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าร่วมหรือในทางที่ขัดกับสิทธิของจำเลยเดิมไม่ได้
of 15