คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลาออก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองงานลาออกไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า นายจ้างคืนเงินประกัน
ระเบียบข้อบังคับการทำงานระบุว่า ลูกจ้างผู้ประสงค์ลาออกต้องแจ้งแก่นายจ้างล่วงหน้า 30 วันนั้น ต้องเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างและได้ลาออกก่อนสิ้นอายุสัญญาว่าจ้างโจทก์ เป็นเพียงลูกจ้างทดลองงาน แม้เมื่อครบระยะทดลองงานแล้วนายจ้าง จะไม่จ้างก็ได้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างต่อกัน และยังไม่เริ่มนับอายุการทำงาน ลูกจ้างในลักษณะเช่นโจทก์นี้ไม่มีข้อกำหนดในสัญญาว่าจะต้องแจ้งการลาออกเป็นการล่วงหน้า การลาออกของโจทก์จึงมีผลตั้งแต่วันที่โจทก์แจ้งลาออกต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างการที่โจทก์ทำงานต่อมาเป็นเพียงช่วยเหลือจำเลยเป็นการชั่วคราว โดยไม่ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำโจทก์หยุดเสียก็ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับเงินบำเหน็จ เริ่มนับจากวันที่จำเลยอนุญาตให้ลาออก ไม่ใช่วันที่ยื่นใบลาออก
ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จต้องยื่นขอรับเงินภายใน 120 วัน นับแต่วันออกจากงาน จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินบำเหน็จจากจำเลยได้แล้ว คือวันที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากงานเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ยื่นใบลาออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับเงินบำเหน็จ เริ่มนับจากวันที่จำเลยอนุญาตให้ลาออก ไม่ใช่วันยื่นใบลาออก
ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ต้องยื่นขอรับเงินภายใน 120 วัน นับแต่วันออกจากงานจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิที่จะ เรียกร้องเงินบำเหน็จจากจำเลยได้แล้ว คือวันที่จำเลยอนุญาต ให้โจทก์ลาออกจากงานเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ ยื่นใบลาออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และการลาออกโดยสมัครใจที่ไม่เข้าข่ายการเลิกจ้าง
สัญญาจ้างเดิมไม่มีข้อตกลงที่นายจ้างจะปรับลูกจ้างผู้ลาออกระหว่างปีการศึกษาและไม่มีข้อกำหนดให้ลูกจ้างต้องมีผู้ค้ำประกัน การที่นายจ้างเพิ่มเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นใหม่และเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ฝ่ายเดียว อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานโดยแท้ จึงเป็น การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง นายจ้างทำบันทึกถึงลูกจ้างสอบถามว่าจะทำงานต่อไปหรือ จะลาออก พร้อมทั้งกำหนดเวลาให้ลูกจ้างตอบ หากไม่ตอบให้ถือว่า ลูกจ้างลาออกเช่นนี้ หากลูกจ้างไม่ตอบบันทึกนายจ้างจะถือเอาเองว่า ลูกจ้างลาออกหาได้ไม่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างทำเครื่องหมายลงในหัวข้อขอลาออกและมีหนังสือชี้แจงเหตุผล ว่าไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันได้ ถือได้ว่าลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจ ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีและการจ่ายค่าจ้างเมื่อลาออก ลูกจ้างมีสิทธิเลือกใช้สิทธิหยุดพักผ่อน ไม่สามารถเรียกร้องค่าจ้างแทนได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯข้อ 10 ที่กำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละหกวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ นั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อทำงานครบหนึ่งปีแล้ว มิได้เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเลือกเอาค่าจ้างแทนการหยุดพักผ่อนประจำปี การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิและลาออกจากงานไปก่อน จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 45 ที่กำหนดว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำ โดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง จะนำมาใช้บังคับกับกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีและการลาออกของลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนวันหยุด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 10 ที่กำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละหกวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ นั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อทำงานครบหนึ่งปีแล้วมิได้เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเลือกเอาค่าจ้างแทนการหยุดพักผ่อนประจำปี การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิและลาออกจากงานไปก่อนจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 45 ที่กำหนดว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำ โดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง จะนำมาใช้บังคับกับกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินสงเคราะห์และเงินสะสมหลังลาออก กรณีจำเลยอ้างหนี้จากการฟ้องเรียกค่าเสียหายและยึดหน่วงเงิน
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนและเงินสะสมให้โจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายและจำเลยได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์แล้วนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างพิจารณา จึงยังเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนและยังไม่ถึงกำหนดชำระ ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งยึดครองนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงเงินดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินดังกล่าวก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578-1580/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินสมทบทุนเมื่อทำงานเกิน 10 ปี แม้ลาออกก่อนเกษียณ หรือถูกเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำงานรับจ้างจำเลยมา 11 ปี 3 เดือนแล้วลาออก โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสมทบทุนตามข้อบังคับของจำเลยจำเลยต่อสู้คดีด้วยเหตุข้อเดียวว่า โจทก์ต้องทำงานรับจ้างจำเลย 12 ปีจึงจะมีสิทธิรับเงินสมทบทุน ดังนี้ เมื่อข้อบังคับของจำเลยมีความว่า"ในกรณีที่พนักงานผู้ที่ทำงานมากับบริษัทเกินกว่าสิบปีแล้วลาออกก่อนเกษียณอายุโดยเหตุจำเป็นและพนักงานผู้นั้นได้ทำความดีไว้แก่บริษัทเป็นอย่างมาก บริษัทอาจจะพิจารณาจ่ายเงินทุนครบเกษียณอายุให้ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ดุลพินิจของบริษัท" โจทก์ซึ่งทำงานมาเกินกว่า10 ปีก็ต้องได้รับเงินสมทบทุนจากจำเลย เพราะจำเลยไม่เคยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์มิได้ทำความดีอย่างมากไว้แก่ บริษัทอันจะเป็นเหตุให้จำเลยใช้ดุลพินิจไม่จ่ายเงินสมทบทุนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติให้ลาออกก่อนกำหนด ไม่ใช่การเลิกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างลาออกจากงานก่อนวันที่ลูกจ้างขอลาออกมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเพราะการให้ออกจากงานมิใช่เป็นความความริเริ่มของนายจ้างเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติลาออกก่อนกำหนด ไม่เป็นการเลิกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างลาออกจากงานก่อนวันที่ลูกจ้างขอลาออกมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเพราะการให้ออกจากงานมิใช่เป็นความความริเริ่มของนายจ้างเอง
of 14