คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ใช่ขอรับจากคำพิพากษา
บทบัญญัติมาตรา 93 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ หมายความว่า กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แทนลูกหนี้และศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนกระทั่งพิพากษาตามประเด็นแห่งคดีนั้น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่การที่ศาลจังหวัดเชียงรายซึ่งผู้ร้องทั้งสิบสองได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยออกจากสารบบความนั้น ย่อมไม่มีคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาระหว่างโจทก์ (ผู้ร้องในคดีนี้) กับจำเลยอีกต่อไปไม่มีการแพ้ชนะคดี และการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 25 หรือไม่นั้นย่อมเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอประการใดต่อศาล ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรดังที่ศาลจังหวัดเชียงรายได้ใช้ดุลพินิจสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยออกจากสารบบความ ซึ่งมิใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี ผู้ร้องทั้งสิบสองจึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 93 แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสิบสองต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาแทนจำเลยตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) และ 122

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาล้มละลาย: การรับฟังเอกสารสำเนาและภาระการนำสืบของลูกหนี้
แม้หนังสือมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจช่วง และสัญญาโอนสินทรัพย์ เป็นสำเนาเอกสาร แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งบันทึกเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีในช่วงเวลาที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน จำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารว่าไม่ถูกต้อง ศาลไม่ควรรับเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 คงมีแต่เพียงคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 2 ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนาเอกสารใช่หรือไม่เท่านั้น ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) ส่วนหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเป็นต้นฉบับเอกสาร การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นการโอนหนี้ด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 9 ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ หรือบอกกล่าวการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 โจทก์จึงเข้าสวมสิทธิของธนาคาร ท เป็นเจ้าหนี้จำเลยทั้งสองได้ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น การฟ้องคดีของโจทก์ฟ้องโดยอาศัยข้อสันนิษฐานอื่นไม่ใช่ข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) เรื่องการทวงถาม จึงไม่ต้องทวงถามก่อนฟ้อง โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการต้องทำภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการต้องยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 และก่อนการมีคำสั่งชี้ขาดเรื่องการขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้ที่จะต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น พ.ร.บ.ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179, 180 มาอนุโลมใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนค่าบริการจัดหางานต่างประเทศเมื่อคนหางานทำงานไม่ครบตามสัญญาและนายจ้างล้มละลาย
ในวันนัดพิจารณา ศาลได้สอบถามจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองก็ได้แถลงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ต่อศาล การแถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นคำให้การด้วยวาจา แม้ศาลจะมีคำสั่งว่าหากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การให้ยื่นคำให้การภายใน 15 วัน ก็ตาม ก็เพียงแต่ให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสยื่นคำให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมจากที่ได้ให้การด้วยวาจาเท่านั้น และแม้ศาลจะระบุในคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การก็หมายความว่า จำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การเป็นหนังสือตามคำสั่งของศาลเท่านั้น เมื่อศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบตามประเด็นในคำให้การแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การอีก
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้หมายเรียก ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนค่าใช้จ่ายของโจทก์ในการเดินทางไปทำงานที่ไต้หวันให้แก่ ธ. ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการเข้ามาในคดีนี้แล้ว ธ. ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ธ. จึงไม่อาจถูกจำเลยที่ 2 ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศแต่ไม่ครบกำหนด เพราะนายจ้างล้มละลายไม่มีงานให้โจทก์ทำ ดังนี้ เป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถทำงานได้จนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิใช่สาเหตุจากโจทก์ และแม้เหตุดังกล่าวจะมิใช่เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากโจทก์ไปแล้วเป็นอัตราส่วนกับระยะเวลาที่โจทก์ได้ทำงานตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องได้ แม้เป็นคนล้มละลาย หรือไม่ได้เป็นทายาทโดยตรง
การยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องที่ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจกระทำเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มิใช่เรื่องการจัดการทรัพย์สิน การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดอันเกี่ยวกับทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย จึงไม่เป็นการกระทำของคนล้มละลายที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22, 24 และ 25 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก แม้เป็นคนล้มละลาย ไม่ขัดต่อกฎหมายล้มละลาย
การยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องที่ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจกระทำเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มิใช่เรื่องการจัดการทรัพย์สิน การฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดอันเกี่ยวกับทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย จึงไม่เป็นการกระทำของคนล้มละลายที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22, 24 และ 25 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดเวลาในคดีล้มละลาย: การเพิ่มจำนวนหนี้ไม่ใช่การแก้ไขเล็กน้อย
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคสอง บัญญัติให้คำขอรับชำระหนี้ต้องทำตามแบบพิมพ์โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้และข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ เมื่อจำนวนเงินตามคำขอรับชำระหนี้ทั้งในด้านหน้าคำขอรับชำระหนี้ข้อ 4 และด้านหลังตามรายการในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินมีจำนวนตรงกัน แสดงถึงเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะขอรับชำระหนี้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในคำขอรับชำระหนี้นั้น โดยไม่มีข้อสงสัยว่าจำนวนเงินดังกล่าวเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อน ทั้งจำนวนเงินที่ผู้ร้องยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มจากเดิมจำนวน 3,854,472.56 บาท เป็น 8,419,095.03 บาท ก็แตกต่างกันมาก มิใช่การแก้ไขเพียงเล็กน้อย หากแต่เป็นการเพิ่มจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่ง ด้วย
การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดเวลาเพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทราบถึงจำนวนเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้กับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละรายที่ขอรับชำระหนี้โดยแน่ชัด เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายดำเนินการโดยรวดเร็วต่อไป ไม่ว่าในเรื่องการประนอมหนี้ที่ลูกหนี้จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สิน รวมทั้งการนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเหล่านี้จะดำเนินการต่อไปโดยรวดเร็วได้ ต่อเมื่อได้ทราบจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ทั้งสิ้น มิใช่ว่าเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ก็จะสามารถเพิ่มจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในภายหลังได้ก่อนที่ผู้คัดค้านจะเสนอความเห็นในเรื่องหนี้สินต่อศาล ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นย่อมจะมีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วดังเช่นที่กล่าวนั้น ทั้งจะทำให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่งแล้ว กรณีผู้ร้องประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหรือแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เช่นนี้ก็จะต้องกระทำภายในเวลาตามกฎหมายดังกล่าวด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ล่วงเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแก้ไขคำสั่งศาลในคดีล้มละลายตามมาตรา 108 พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 108 ได้ให้อำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่งของศาลที่อนุญาตคำขอชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้แม้คำสั่งศาลจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม ถ้าต่อมาปรากฏว่าศาลได้สั่งไปโดยหลงผิดตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ โดยความจริงลูกหนี้ไม่ได้เป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนตามที่อนุญาตไปแล้ว แต่ทั้งนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านบัญชีส่วนแบ่งของเจ้าหนี้รายหนึ่ง อ้างว่า คำขอรับชำระหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่กรรมการของจำเลยเคยให้การยอมรับว่าเป็นหนี้จริงโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มา เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าหนี้ที่จำเลยคัดค้านซึ่งศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วนั้นเป็นคำสั่งที่ศาลสั่งไปโดยหลงผิด จึงไม่ใช้อำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้แก้ไขคำสั่งตามมาตรา 108 ดังนี้ จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลได้ด้วยตนเอง ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยหลงผิดด้วยเช่นกัน เพราะหากให้จำเลยยื่นคำร้องขอเช่นว่านั้นได้ ก็เท่ากับว่าศาลต้องพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซ้ำในปัญหาเดียวกันอีก โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เห็นเป็นอย่างอื่นและมิใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องดังกล่าวขึ้นมาเอง และก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายตามมาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจาก พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชนชนฯ มาตรา 10 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดตามมาตรา 4 หรือ 5 ของกฎหมายดังกล่าวเป็นบุคคลล้มละลายได้ เป็นการให้อำนาจฟ้องได้ในขณะที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดเท่านั้น ไม่ต้องรอให้ฟ้องคดีอาญาเป็นจำเลยต่อศาลก่อนและไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษาถึงที่สุดก่อนว่าผู้กู้ยืมกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ได้ เพราะความผิดตามกฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ รัฐต้องการให้กฎหมายมีสภาพบังคับโดยเร็ว เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนที่ร้ายแรงมากขึ้นจากความเนิ่นช้าในการบังคับใช้กฎหมายรัฐจึงเลือกใช้ช่องทางให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าว เพราะกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นจะต้องดำเนินการเป็นการด่วนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 13 และในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าวบัญญัติต่อไปว่า ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่งให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด มิใช่ต้องได้ความจริงว่าลูกหนี้กระทำผิดตามคำพิพากษาถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบต่อมาตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จนศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบล้มละลายและเข้าสู่ขั้นตอนการจำหน่ายทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123 แล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มีเจตนารมณ์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายจนสิ้นสุด ไม่อาจขอทุเลาการบังคับอย่างคดีแพ่งธรรมดาและไม่อาจขอให้งดหรือระงับการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและอายัดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ในฐานะตัวแทนลูกหนี้ ไม่มีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม จึงขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ได้
เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่ถูก ช. ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ และบุคคลอื่นอีก 2 คน โดยให้ร่วมกันคืนหุ้นหรือชดใช้ราคาแทนและใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องเจ้าหนี้ในฐานะเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของลูกหนี้ว่าร่วมกับลูกหนี้และจำเลยอื่นนำหุ้นของโจทก์ไปขายและถอนเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ซึ่งถือเป็นตัวแทนของลูกหนี้ได้กระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกทำเหนือขอบอำนาจอย่างไรอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว ดังนั้น หากมีการนำหุ้นของโจทก์ไปขายหรือถอนเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ไปโดยพลการและลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้เป็นตัวการจะต้องรับผิดต่อโจทก์เจ้าหนี้ซึ่งเป็นพนักงานของลูกหนี้ โดยมีฐานะเป็นตัวแทนของลูกหนี้ก็หาต้องร่วมกับลูกหนี้รับผิดต่อโจทก์ไม่ เจ้าหนี้จึงไม่อยู่ในฐานะลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 101 และไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้
of 192